โหมโรง Adfest 2016 ก่อนเริ่มงานจริง กับเสวนา ข้อมูลท่วมหัว จะเอาตัวรอดได้อย่างไร

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

adfest2016 ก่อนงานมหกรรมโฆษณา Adfest 2016 ครั้งที่ 19 จะเริ่มต้นขึ้น มาโหมโรงกันก่อนเป็นการอุ่นเครื่องด้วยการเสวนา How can we manage our intelligence ereatively? หรือ ข้อมูลท่วมหัว จะเอาตัวรอดอย่างไร โดย 3 สุดยอดครีเอทีฟและกูรูด้านการตลาด สหรัฐ สวัสดิ์อธิคม แห่ง CJ WORX เมธี จารุมณีโรจน์ จาก เซ็ปเป้ และ โศรดา ศรประสิทธิ์  จาก Brilliant & Million ที่มาหารือกันเรื่องข้อมูลกับการทำงานที่ท้าทายนักการตลาดในยุคปัจจุบัน

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การสื่อสารแบบ Multi-Platform เพื่อให้การส่งข้อมูลไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดและสมบูรณ์ และต่อไปนี้คือ ไอเดียคร่าวๆ ที่ Marketingoops นำมาให้ผู้อ่าน เป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนงาน Adfest 2016 จะเริ่มขึ้น IMG_0454

เปิด 3 มุมมอง ข้อมูลมหาศาลกับการทำตลาด

สหรัฐ บอกว่า สื่อดิจิทัลและข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้การใช้ชีวิตและการทำงานยากขึ้น ต้องใช้พลังในการสร้างสรรค์งานมากขึ้น ในอดีตโฆษณา 15-30 วินาทีคือจบ แต่ปัจจุบันโฆษณา 20 นาทีถ้าดีจริงก็มีคนดูมหาศาล และไม่มีอะไรมาปิดกั้น ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาจากส่วนใดของโลกใบนี้ ทุกคนก็สามารถเข้าถึงได้ และต้องไม่ลืมว่ายุคดิจิทัล ทุกคนสามารถสร้าง Content ได้ และอาจจะมีผลทางตลาดอย่างมีนัยสำคัญ

ด้าน เมธี บอกว่า การทำงาน Media Plan ต้องมีความยืดหยุ่น ผู้บริโภคสามารถรับเปิดรับสื่อได้ตลอดเวลา และเลือก Content ที่ดีจริงเท่านั้น แค่ Consumer Insight ไม่เพียงพออีกต่อไป แต่ต้องลงลึกในทุกรายละเอียด ต้องเข้าใจในตัวตนของผู้บริโภค จริงอยู่ว่า Content ที่ดี 20 นาทีผู้บริโภคก็ยอมดู แต่ถ้า Content ไม่โดน 3 วินาทีก็เปลี่ยนหนีทันที เรียกได้ว่าเป็น Zero Moment of truth ถ้าผู้บริโภคเห็นข้อมูลจาก Brand แล้วสามารถจุดประกายความสนใจได้ นั่นคือโอกาสสร้างยอดขาย

ขณะที่ โศรดา บอกว่า ดิจิทัลทำให้ทั้งสนุกและเหนื่อยไปพร้อมกัน นอกจาก Content ที่ดีแล้ว ต้องเข้าใจช่องทางที่จะปล่อยออกไป ถ้ามีการใช้งานอย่างถูกต้องจะเกิดพลังในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ IMG_0464

การจัดการกับข้อมูล Negative ที่มีต่อ Brand

โศรดา บอกว่า ยุคนี้คือ User Generate Content ทุกคนสามารถใช้ Google ในการหาข้อมูล และใช้ Social ในการส่งต่อ ดังนั้นข้อมูลทุกอย่างสามารถกระจายออกไปได้อย่างรวดเร็ว และถ้าโดนใจจะกลายเป็น Viral ภายในเวลาข้ามคืน

สหรัฐ บอกว่าต้องทำความเข้าใจว่าปัจจุบันทุกคนสามารถทำโฆษณาได้ แต่เดิมโฆษณาคือ Brand Talk แต่จากนี้ Influencer Talk คือ การพูดโดยผู้รู้ Celebrity Talk คือการพูดโดยคนที่มีชื่อเสียง และสุดท้ายคือ Consumer Talk คือผู้บริโภคทุกคนสามารถสื่อสารมาถึงแบรนด์ได้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็น Positive หรือ Negative แบรนด์ต้องจริงใจและยอมรับ เพื่อนำไปพัฒนาหรือปรับปรุง

เมธี บอกว่า การแก้ปัญหาต้องเริ่มต้นที่ความจริงใจ เปิดรับ และนำไปปรับปรุง ไม่มีทางที่จะมีแต่ข้อมูล Positive เมื่อเกิดด้าน Negative ขึ้น สิ่งแรกคือห้ามลบหรือปิดบัง ไม่เช่นนั้นกระแสจะแรงขึ้นทันที จากนั้นต้องสร้างพลังทางบวก Positive มาเพื่อให้เกิด Balance IMG_0472

วิเคราะห์ข้อมูล เปลี่ยน Big Data ให้เป็น Big Information

สหรัฐ บอกว่า ข้อมูล Big Data เป็นประโยชน์ในการทำงานอย่างยิ่ง ในข้อมูลจะมีเทรนด์หรือแนวโน้มซ่อนอยู่ และสามารถนำมาทำเป็นโฆษณาได้ เช่นกรณี คลิปวิดีโอ “เหนี่ยวไก่” ที่สร้างเป็นคำถามให้คนออนไลน์ว่า “คืออะไร?” การเกิดคำถามจะนำไปสู่ความสงสัย และการค้นหาคำตอบ และถ้าเกิดกระบวนการนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ นั่นคือ Talk of The Town

ส่วน เมธี บอกว่า ข้อมูลยิ่งมากขึ้น การตลาดต้องทำงานกับผู้บริโภคแบบใกล้ชิดมากตามไปด้วย เรียกว่าระดับ Micro Moment คือ อยู่กับผู้บริโภคในทุกรายละเอียด การรู้ข้อมูล วิเคราะห์ เพื่อให้ได้สิ่งที่ลึกยิ่งกว่า Insight จะทำให้ Brand สามารถสร้าง Engagement และอยู่ในใจผู้บริโภคตลอดเวลา

Adapt or Die โอกาสอยู่รอดในยุคข้อมูลดิจิทัล

โศรดา บอกว่า ทั้ง Brand และ Agency ต้องปรับตัว เพราะดิจิทัลทำให้ทุกอย่างเป็นเรื่องง่าย เปิดโอกาสให้สามารถแก้ไขปรับปรุงได้เสมอ แต่นั่นก็เกิดขึ้นกับทุกคนเช่นเดียวกันหมด

เมธี บอกว่า สิ่งทีสำคัญสำหรับ Brand และ Agency ในยุคนี้และยังขาดอยู่มากคือ ทักษะ Story Telling ที่มีความจำเป็นสูงในการทำตลาดและสร้างแบรนด์ แต่ประเทศไทยยังมีความเข้าใจเรื่องนี้น้อยมาก

สหรัฐ สรุปว่า ดิจิทัลทำให้เรื่องทุกอย่างง่าย สร้างพฤติกรรใหม่ สร้างสิ่งใหม่ แต่ Agency ที่ไม่ปรับตัว จะเป็นกลุ่มแรกที่ไม่รอด IMG_0489

Copyright © MarketingOops.com


  •  
  •  
  •  
  •  
  •