เรื่องราวของการเมิร์จระหว่างโลกเสมือนกับโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ถูกพูดถึงกันมานานมากๆ แล้ว ซึ่งตอนนั้นอาจจะยังไม่ได้มีชื่อเรียกขานว่า Metaverse แต่ทั้งโลกก็เริ่มให้ความสนใจและจับตามองเทรนด์นี้อย่างต่อเนื่อง กระทั่งโซเชียลมีเดียรายใหญ่อย่าง Facebook ให้ความสำคัญอย่างมากถึงขนาดที่เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น META หรือแม้แต่ล่าสุด ราชบัณฑิตยสภา บัญญัติศัพท์ Metaverse (เขียนทับศัพท์ว่า “เมตาเวิร์ส”) เป็นภาษาไทยว่า “จักรวาลนฤมิต” ยิ่งทำให้กระแสตื่นตัวในบ้านเราเพิ่มทวีมากยิ่งขึ้น ล่าสุด adapter digital group เอเจนซี่ดิจิตอลมีเดียแถวหน้า ผนึกกำลังกับ 2 พันธมิตรในวงการ ได้แก่ IGLOO ผู้นำในตลาด Animation ที่มีผลงานระดับโลกมากมาย และ any.i ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์งาน Virtual Experience ด้วยจุดแข็งในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อนำเสนอการจัดงานแบบ Virtual ในรูปแบบต่างๆ ร่วมกันเปิดตัว “METALAB Creative Solution” ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของการรวมตัวที่จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการโฆษณาและครีเอทีฟเมืองไทย ด้วยบริการสุดล้ำในการสร้างสรรค์แคมเปญสื่อสารในโลกเสมือน Virtual World แบบ 360 องศา ที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่ฉีกไปจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง
อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อะแด็ปเตอร์ ดิจิตอล จำกัด ให้ความเห็นถึงกระแสตื่นตัว Metaverse ว่า การเกิดขึ้นของโลกเสมือนหรือ Metaverse มีแรงขับมาจากเทคโนโลยีหลายๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็น Virtual Technology ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก Simulating Reality ที่เสมือนจริงมากขึ้น ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นของ Machine Intelligence การเข้าสู่ยุคของ Web 3.0 อย่างเต็มตัว, และการประยุกต์ใช้ Blockchain ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งทำให้หลายๆ Digital Platform และ Digital Asset ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งในต่างประเทศและเมืองไทย เช่น Platform The Sandbox ซึ่งใช้ SAND เป็น Cryptocurrency ในการซื้อขาย หรือ Platform Roblox ที่เปิดโอกาสให้มีการสร้าง Digital asset ต่างๆ เป็นต้น
รวมถึง Lifestyle ของผู้บริโภคยุคนี้ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมเข้าสู่อีกโลกหนึ่งด้วยเทคโนโลยี AR ซึ่งเป็น Hybrid Reality ผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือในช่วงที่ผ่านมา เช่น การเลือกซื้อหรือทดลองสินค้าเสมือนจริง (Virtual Shopping/ Try On), การสร้างและรับชม Content ต่างๆ ผ่าน Feature ของ Facebook/ Instagram Spark AR, TikTok AR Filer, Google Lens เป็นต้น ทำให้เส้นแบ่งระหว่างโลกแห่งความจริงทางกายภาพกับโลกเสมือนค่อยๆ จางลง จนแทบจะเป็นผสานกลายเป็นโลกเดียวกัน จึงสามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้อย่างมากมายไร้ขีดจำกัด นั่นจึงเป็นที่มาของการเปิดตัวบริการ METALAB Creative Solution จากความร่วมมือของ IGLOO และ any.i ในครั้งนี้
6 Key Point ผลักดัน Metaverse เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสื่อ
ทั้งนี้ เทรนด์ในโลก Metaverse ที่จะสร้างโอกาสให้กับโลกธุรกิจโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสื่อของประเทศให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดไว้อย่างน่าสนใจถึง 6 ประเด็น ว่า
- Metaverse จะกลายเป็น New Economy (Digital Economy) ที่สร้างโอกาสใหม่ให้กับธุรกิจต่างๆ ไม่ใช่แค่เครื่องมือทางการตลาด โดย Virtual Content / Asset จะกลายเป็นการสร้างมูลค่าที่ได้พรมแดนของ Creator และ Brand ต่างๆ ซึ่ง NFTs / Creator Economy จะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล และมีโอกาสเติบโตแบบ Exponential
- Virtual จะกลายเป็น Mainstreaming ในอนาคตอันใกล้ (3-5 ปี)
- Mixed Reality / Hybrid Experience จะเป็นตัวกลางสำคัญที่เชื่อมโลกปัจจุบันเข้ามาสู่โลก Metaverse
- Metaverse จะเป็นโลกที่ตอกย้ำ Decentralized platform / Community Currency ที่ทุกๆ คนสามารถเสพ สร้าง และเป็นเจ้าของได้ ต่างจากยุค Social Media ซึ่ง Platform ที่ประสบความสำเร็จจะมีอีโคซิสเท็มที่สมบูรณ์ของตัวเอง รวมถึงลิงก์สู่ Metaverse อื่นๆ เชื่อมต่อถึงกันได้แบบไร้ขีดจำกัด
- Avatar Character ซึ่งเป็นตัวตนที่ 2 ของเราในโลกเสมือนจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้าง Identity และมีการปฏิสัมพันธ์กันของผู้คนในโลก Virtual ทั้งสำหรับ Creator คนทั่วไป หรือแม้กระทั่ง Brand ซึ่งสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการสร้าง Identity นอกเหนือจาก Character คือ Virtual Fashion หรือ Avatar Fashion
- การสร้างประสบการณ์บนโลก Metaverse มีโอกาสในการสร้าง ‘เซอร์ไพรส์’ ให้กับผู้บริโภคได้มากกว่าโลกจริง เพราะทุกอย่างสามารถทำได้ตามที่เราจินตนาการ (Limitless Creativity/ Everything is possible in Metaverse)
3 บริการหลักจาก METALAB สร้างประสบการณ์ใหม่ให้แบรนด์และธุรกิจ
สำหรับ “METALAB Creative Solution” เป็นบริการใหม่ที่ตอบโจทย์การสื่อสารของ Brand รูปแบบใหม่บนโลกเสมือน พร้อมพา Brand กลุ่มแรกเข้าสู่โลกของ Metaverse ในมิติต่างๆ ด้วยเครื่องมือที่ผสมผสานทั้งเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ เปิดตัวด้วย 3 เซอร์วิสหลัก ดังนี้
1.META IDENTITY
บริการที่จะพัฒนาตัวตนใหม่ในโลกเสมือน ให้มีทั้งหน้าตา Character และvStory รวมถึง Engage กับกลุ่มเป้าหมายได้เหมือนจริง เพื่อนำพาแบรนด์สู่โลกเสมือนแบบไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็น Virtual Presenter, Virtual Avatar, Virtual Influencer หรือแม้แต่ Virtual Creator โดยสามารถแยกย่อยลงได้อีก 3 บริการ
- Virtual Brand Presenter คือปั้นคาแรคเตอร์ สำหรับแต่ละแบรนด์ออกมา ซึ่งอันนี้แตกต่างจากที่ Virtual Influencer ที่แบรนด์จ้างมา เพราะจะเป็นคาแรคเตอร์ที่สร้างให้กับแบรนด์นั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น “ผู้พันแซนเดอร์” ของ KFC เพื่อให้แบรนด์นั้นมีตัวตน มีคาแรคเตอร์ มีแบรนด์ดิ้งอยู่ในโลก Virtual ไม่ว่าจะเอาไปใช้ในแพล็ตฟอร์มไหนก็แล้วแต่
- Virtual Avatar and Story เป็นการสร้าง Avatar ของคนนั้นๆ ขึ้นมา โดยไม่จำเป็นต้องมีหน้าเหมือนคนๆ นั้นจริงๆ อย่างเดียว เช่น การสร้าง Avatar CEO ของบริษัทขึ้นมาในงานแถลงข่าวแบบ Virtual ได้ ซึ่ง CEO คนไหนอยากมีตัวตนใน Virtual Identity ก็สามารถทำได้ หรือแม้แต่คาแรคเตอร์อื่นๆ ที่แบรนด์สนใจหรือเห็นว่าเหมาะสม
- Virtual Influencer หรือ Fashion Model ซึ่งปัจจุบันเห็นกันค่อนข้างมากแล้ว เป็นหนึ่งในเซอร์วิสที่เรามีเช่นกันที่ทำได้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทางคิดว่าน่าจะมาแรงมากกว่านั้น ก็คือ Virtual Content Creator ซึ่งเริ่มให้เห็นเทรนด์นี้มากขึ้นแล้วในต่างประเทศ มีทั้งศิลปินและนักแคสเตอร์เกมต่างประเทศทำกันมากแล้ว โดยไม่จำกัดด้วยซ้ำว่าจะต้องทำออกมาให้หน้าตาเหมือนกับตัวจริง แถมบางคาแรคเตอร์ดังกล่าวตัวจริงเสียอีก
2.META CONTENT
บริการที่เปลี่ยนรูปชิ้นงานจากโลกจริงให้มาสู่ Asset/ Content บนโลกเสมือน เพื่อสร้างมูลค่าใหม่ๆให้กับสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แฟชั่น งานศิลปะ หรือ Packaging สินค้าต่างๆ เป็นการสร้าง Virtual Asset ขึ้นมาสำหรับแบรนด์ เช่นพวก NFT จะเพื่อขายหรือไม่ขายก็ได้ จะแจก air drops ฟรีก็ได้หมด ทำได้แล้วแต่โจทย์ของแบรนด์เลย แต่อีกสิ่งที่เรามองว่ามันน่าจะมาและสร้างวาลูได้ก็คือ Virtual Fashion ซึ่งเชื่อว่าหลังจากที่เปิดตัวเซอร์วิสนี้ไป สิ่งนี้น่าจะมีผลมากๆ ต่ออุตสาหกรรมแฟชั่นในเมืองไทย เพราะว่าแบรนด์แฟชั่นในต่างประเทศแทบทุกแบรนด์ทำกันหมดแล้ว เช่น Balenciaga Gucci ฯลฯ เข้าไปในโลกนี้กันหมดแล้ว อันนี้จะเป็นสิ่งหนึ่งที่เชื่อว่าคนจะต้องสนใจสำหรับ META Content ที่คนยังไม่ค่อยพูดถึงในเมืองไทย
3.META EXPERIENCE
บริการที่จะผสมผสานการทำงานของเครื่องมือต่างๆ แบบ Mixed Reality/ Omniverse/ Fully Metaverse ให้สอดคล้องกับ Digital Living/ Lifestyle ใหม่ๆ ของลูกค้า เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆในทุกมิติให้กับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Meta Mall, Virtual Chat & Commerce, Play To Earn, GameFi, Virtual Event & Entertainmentบริการนี้คือการรวมไฮบริดทั้งหมดอยู่ใน META EXPERIENCE
ตอนนี้มีแบรนด์ให้โอกาสในการร่วมงานแล้ว อยู่ในกลุ่มธุรกิจ Quick Service Restaurant (QSR ธุรกิจอาหารบริการด่วน), ธุรกิจเครื่องดื่ม, ธุรกิจอสังหาฯ และธุรกิจเทเลคอมฯ ฯลฯ โดยจะเริ่มเห็นงานต่างๆ จาก METALAB ลอนช์ในมกราคมปีหน้าแน่นอน
นอกจากนี้ ยังมี KOL ชื่อดังรายหนึ่งกำลังเตรียมที่จะทำ Avatar ของตัวเอง เป็นรูปแบบ Mimic Virtual ซึ่งคาดว่าน่าจะลอนช์เปิดตัวได้ใน 2-3 เดือนนี้
เมตริกในการวัดผลที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดจับต้องได้เป็นรูปธรรม
ผู้บริหาร อะแด็ปเตอร์ ยังกล่าวถึงการวัดผลในงานทั้ง 3 รูปแบบว่า จะมีมิตในการวัดผลที่แตกต่างกันออกไป เช่น META IDENTITY เป็นเหมือนการสร้าง Branding แต่ส่วน META CONTENT ก็สามารถวัดผล Conversions ได้ เพราะมันสามารถไปสร้างเป็นเอสเสทแล้วหาวิธีวัดผลออกมา เช่น คนซื้อจริงเท่าไหร่ คนกดแอร์ดรอปเท่าไหร่ เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีโอกาสด้วยว่า META CONTENT อาจจะต้องไปเวิร์กกับ Cryptocurrency ต่างๆ ด้วย ซึ่งตรงนี้อาจจะต้องพิจารณาตามข้อกำหนดของกฎหมายด้วยว่าสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน ในขณะที่ META EXPERIENCE สามารถวัดในเชิง Passive ได้ ไม่ว่าจะเป็น การเอ็นเกจของคน การใช้เวลาของคนในนั้น ซึ่งตรงนี้มองว่าวิธีการวัดผลน่าจะเป็นอีเวนต์ต่างๆ ดังนั้น ทั้ง 3 เซอร์วิสจึงมีการวัดผลที่ไม่เหมือนกันเลย ยกตัวอย่างแค่ AR Text ที่ไว้สแกนดู object สิ่งของที่เราจะซื้อก็พบว่า Conversions ดีมาก บางคนอาจจะมองว่ามันเป็นแค่ลูกเล่น แต่จริงๆ แล้วเป็น AR Commerce ที่ Conversions ดีมาก
“การหาเมตริกในการวัดผลเราต้องไปค้นหาที่มันจับต้องได้และเห็นผลชัดเจนที่สุด ซึ่งก็แล้วแต่วิธีการหรือรูปแบบที่ทำออกมาด้วย แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องหาวิธีการวัดที่เป็นรูปธรรมที่สุด”
ในขณะที่สัดส่วนความต้องการจากทั้ง 3 เซอร์วิสนี้ เชื่อว่าเป็นที่สนใจของแบรนด์และธุรกิจในปริมาณที่เท่าๆ กัน โดยการที่จะเลือกว่าใช้บริการไหนนั้น นอกจากกจะอยู่ที่ความต้องการที่จะทำแล้วก็อาจต้องพิจารณาจากสเตจของแต่ละแบรนด์ด้วยเพราะแต่ละแบรนด์มีจุดตั้งต้นที่ไม่เท่ากัน เช่น บางแบรนด์ที่มี Identity อยู่แล้วก็สามารถกระโดดข้ามไปทำ Content หรือ Experience ได้เลย ขณะที่บางแบรนด์อาจจะยังไม่มี Identity ก็อาจจะเริ่มบิวด์ตรงนี้ก่อน คือโจทย์ของแต่ละแบรนด์อาจจะไม่เท่ากัน ซึ่งอันนี้อาจจะต้องติดตามดูต่อไปว่าแบรนด์หรือการตอบรับของคอนซูเมอร์เป็นอย่างไร
ยกระดับอุตสาหกรรม Animation และ Virtual Experience ให้เติบโตและเป็นที่สนใจของตลาดมากขึ้น
ณัฐ ยศวัฒนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิ๊กลู สตูดิโอ จำกัด กล่าวถึงกระแสการตื่นตัวของ Metaverse ทั้งในไทยและต่างประเทศว่า หลังจากที่มันค่อนข้างเงียบหรือส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังงานงานต่างๆ มากกว่า ปรากฏว่า ในช่วง 3-4 ปีหลังมานี้ มีคนเข้ามาหา IGLOO ค่อนข้างเยอะ อาจจะเพราะเมื่อก่อนกแบรนด์มักจะมองแค่ว่าวิธีการเหล่านี้ มันคือการออกแบบ experience เพียงอย่างเดียว และบางแบรนด์ก็มองว่ามันคือค่าใช้จ่าย หรือเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการ PR ซึ่งจะต้องมองว่าคุ้มค่าหรือไม่ แต่วันนี้เขาได้เห็นศักยภาพตรงนี้แล้ว เพราะมันได้ทั้งในแง่ของ Branding แล้วยังสร้างรายได้คืนกลับมาได้ด้วย ที่สำคัญมันคือ ประตูที่เปิดไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ ช่วยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มีอยู่เดิมได้ หรือแม้แต่ดึงให้คอนซูเมอร์เข้ามามีส่วนกับแบรนด์ได้ในแบบ User Generate Content แล้วคอนเทนต์พวกนั้นก็เป็นรายได้ที่ทำให้คนกลับมาหากแบรนด์ได้อีก
“เราเองก็รู้สึกว่ามันเริ่มมีลูกค้าในไทยหลายคนแล้ว ที่เขาเห็นสิ่งนี้และอยากที่จะกระโจนมาตรงนี้ก่อน เพราะเขาเริ่มรู้แล้วว่า มันไม่ได้จำกัดว่าแบรนด์เขาจะต้องทำเฉพาะในประเทศแต่มันสามารถขยายโอกาสเข้าถึงผู้บริโภคทั่วโลกได้เลย และไม่จำกัดแค่เฉพาะต้องขายแต่สินค้าที่เขาเคยมีเท่านั้น แต่มันช่วยทำให้ธุรกิจของเขาไร้ไม่มีขอบเขต ทั้งหมดนี้มันทำให้เรารู้สึกว่าตอนนี้โอกาสมันวิ่งมาหาเรามหาศาลมาก ที่สำคัญ มันไม่ใช่เรื่องวูบวาบของการทำแบรนด์ แต่มันจะช่วยสร้างความยั่งยืนให้แบรนด์ด้วย เพราะมันผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล การวางกลยุทธ์ การออกแบบคอนเทนต์และสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้ เลยมองว่าเป็นโอกาสที่ดีของอุตสาหกรรมของเรา”
ด้าน ศศิศ สุวรรณปากแพรก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอนี่ไอ จำกัด กล่าวว่า เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศ ที่จะมีบริการซึ่งเข้าใจรูปแบบและองค์ประกอบของโลกเสมือนหรือ Metaverse ได้อย่างครอบคลุมทุกกระบวนการตั้งแต่การนำเสนอไอเดียความคิดสร้างสรรค์ตามโจทย์ของลูกค้า มาถึงขั้นตอนของงาน Production ไปจนถึงการสร้าง Engagement กับผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้รับสารจาก Solution ใหม่แบบ Metaverse ซึ่งแน่นอนว่า any.i จะใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญในการทำงานด้าน Virtual Event และเทคโนโลยีขั้นสูงมาช่วยพลิกโฉมแคมเปญการสื่อสารเพื่อให้วงการสื่อและครีเอทีฟของไทยถูกยกระดับขึ้นเทียบขั้นประเทศชั้นนำ และอีกประการก็คือ เราอยากฉายภาพของ Metaverse ให้อุตสาหกรรมเห็นด้วยว่ามันมีโอกาสอีกมากมาย มากกว่าแค่ Metaverse ที่เรารู้จักหรือที่เราคุ้นเคย
“มันคือ era ของนักพัฒนา ทั้งครีเอทีฟและนักพัฒนาเทคโลยี ในการที่จะใส่ความคิดสร้างสรรค์แบบอันลิมิตลงไป เมื่อก่อนในธุรกิจของการสร้าง VR หรือ AR เคยฮือฮาพักหนึ่งแล้วก็เงียบไป จนต้องหันไปทำอย่างอื่นเพื่อหารายได้ แต่ผมว่ายุคนี้จะทำให้ธุรกิจการสร้าง VR หรือ AR กลับมาอีกครั้ง พวกเราหลายคนได้หยิบมาปัดฝุ่นมาทำอะไรใหม่ๆ ได้อีก สิ่งสำคัญคือการหาพันธมิตรที่ดีที่จะช่วยไดร์ฟวงการให้มันเดินไปข้างหน้าได้ เป็นการรวมกันของพันธมิตรที่แข็งแรงโดยการเอาจุดแข็งของทุกคนมารวมกัน เพื่อที่จะเป็น cycling ใหม่ของอุตสาหกรรม”
‘Smart Phone-Infrastructure-META’ 3 ปัจจัยผลักดันให้เกิดกระแสตื่นตัว
เมื่อถามว่าทำไมถึงเกิดกระแสตื่ตัวในช่วงนี้ ทั้งๆ ที่เรื่องของ AR VR Virtual World มีมาพักใหญ่แล้ว ผู้บริหาร บริษัท เอนี่ไอ มองว่า เรื่องของ Metaverse หรือเกม หรือ Omniverse มีมานานแล้ว และเกมก็มีเยอะแยะคนก็เล่นกันเต็มไปหมด แต่พอ Facebook โผล่ออกมาถึงขั้นเปลี่ยนชื่อบริษัท ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็พัฒนาแว่นมาหลายรุ่นแล้ว ตั้งแต่ที่ซื้อบริษัท Oculus มา ซึ่งก็มีการออกมาพูดถึง VR AR กันตลอดแล้วก็เงียบไป กระทั่งมาวันนี้ ที่เปลี่ยนชื่อบริษัท จ้างพนักงานเพิ่มแล้วก็จะลงทุนเพิ่ม คิดว่าตรงนี้แหละที่เป็นตัวจุดประเด็นขึ้นมา ประกอบกับ มันมีความพร้อมในเรื่องของ Infrastructure ต่างๆ แม้แต่การเติบโตของ Cryptocurrency เกมเองก็มเกิดใหม่ทุกวัน พวก GameFi ก็คือเยอะมาก เหรียญก็เล่นกันทุกวัน คือตอนนี้มันเข้ามาได้ทุกทางเลย เหลือแค่เรื่อง Experience ที่ยังมีอุปสรรคบางอย่างกั้นอยู่ ดังนั้น หลายๆ คนเก็เข้ามาจับมาจองคนแรก แต่ส่วนไหนจะเกิดจะดับก็ต้องมาดูกันอีกที เพราะจะมีการเกิดแล้วดับอยู่ตลอดเวลา
อรรถวุฒิ เสริมว่า จุดเปลี่ยนสำคัญคือ “มือถือ สมาร์ทโฟน” เป็น Gateway หลัก และคือดีไวซ์ที่เปิด Ongoing เพื่อ Metaverse อยู่แล้ว เพราะว่ามือถือมันทำให้เราเอสเสทเข้าสู่โลก Metaverse หรือแม้แต่โลก Hybrid พวก Omniverse ต่างๆ ได้ง่ายที่สุด โดยที่เราไม่ต้องใส่อะไรเลย ส่วนตัวเชื่อว่า “มือถือ” คือ Mass gateway เพราะต้องไม่ลืมว่าเราไม่สามารถใส่แว่น VR ได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่มือถือยังไงก็อยู่กับเรา 24 ชั่วโมง แม้ว่าในต่างประเทศจะมีการพัฒนาที่จะสามารถทำให้ใส่ VR ได้นานมากขึ้น เช่น ปรับให้มันมีขนาดที่เล็กลง หรือทำให้ราคามันถูกลง หรือแม้แต่ทำแว่นแบบ Hybrid คือเห็นของจริงด้วยแล้วก็สามารถสวิทช์เป็น VR อย่างเดียวก็ได้ตรงนี้ก็เริ่มมีการทดลองกันอยู่ ดังนั้น การที่เทคโนโลยีพัฒนาให้เร็วขึ้น น่าจะเป็นตัวที่ทำให้การ adoption มันรวดเร็วขึ้น
ต่อข้อถามที่ว่าแล้วจะมีดีไวซ์อื่นๆ ที่จะนำมาใช้ได้อีกหรือไม่ นอกจากมือถือ แว่นตา คอนแทคเลนส์ ผู้บริหาร อิ๊กลู สตูดิโอ กล่าวว่าจากที่เคยฟัง “มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก” เคยให้สัมภาษณ์ซึ่งระบุว่าหลักๆ น่าจะมี 3 ดีไวซ์ ก็คืออุปกรณ์ VR AR แล้วก็พวก Smart Device ซึ่งตอนนี้ที่เข้าถึงง่ายสุดน่าจะเป็น Smart Device เพราะว่าถ้าเราใส่แว่นที่เป็น VR แท้ๆ ไม่น่าจะใส่ได้นานๆ ซึ่งอาจจะหยิบมือถือหรือแท็บเล็ทแล้วเห็นโลกจริงและโลกเสมือนซ้อนกัน หรือเข้าไปในโลกนี้โดยอาศัยดีไวซ์ในการเข้าก็ได้
แบรนด์ไทยเริ่มได้เลย จะเลือกเป็นแบบ Mixed Reality หรือ Metaverse World 100%
อรรถวุฒิ กล่าวว่า สิ่งที่เราได้สร้างสรรค์ให้ธุรกิจและแบรนด์ทั้ง 3 พาร์ทนั้น ไม่ได้จำกัดว่าทั้งหมดนี้จะต้องมีอยู่แค่บนโลกเสมือน หรือ Metaverse World เท่านั้น อันที่จริงมันอยู่ได้หมดร่วมกับโลกจริงได้ หรือที่เราเรียกว่ามันคือ Omniverse ที่เป็นการ Hybrid
“เพราะเรายังเชื่อเรื่อง Hybrid Experience ดังนั้น โอกาสที่มันจะอยู่ทั้งโลกจริงและในโลกเสมือนจึงเป็นไปได้หมดเลย หรือมันจะไปอยู่บน SANDBOX หรือ ROBLOX มีโอกาสได้หมดเลย ทุกอย่างไม่ได้จำกัดแค่ว่าต้องอยู่บน โลก Metaverse อย่าง NIKE Land ซึ่งจัดว่าเป็น โลก Metaverse 100% เลย”
อย่างไรก็ตาม ถ้าด้วยธรรมชาติของยูเซอร์คนไทยและเทคโนโลยีของไทยที่มีอยู่ในตอนนี้ เราสามารถสร้างสรรค์ได้ทั้งรูปแบบที่เป็น Hybrid หรือแบบ Metaverse World 100% ทำได้หมดเลย ยกตัวอย่างเคสหนึ่งซึ่งกำลังทำให้ลูกค้า ซึ่งกำลังศึกษา ROBLOX อยู่และพบว่าคนไทยใช้งานสูงถึง 2.4 ล้าน ดังนั้น จึงอาจจะเหมาะสมกับแบรนดไทย ซึ่งสามารถทำได้เลย เพราะแสดงว่ามันมีดีมานด์อยู่แล้วเราไม่ได้ต้องไปบิวด์ สิ่งที่เราต้องบิวด์คือเอสเสทหรือคอนเซ็ปต์ แล้วก็ดีไซน์ประสบการณ์และเอ็นเกจเมนต์ ถ้าเป็นแบบนี้คือทำได้เลย แต่ถ้าเป็น Fortnite ซึ่งที่อเมริกาดังมาก แต่คนไทยเล่นกันเพียงหลักแสนกว่าเท่านั้น รวมถึงสิ่งที่ตอนนี้ใครๆ ก็ไปสร้างเหมือนเป็น Centralized ไปแลนด์บางอย่างหรือ Play to earn อันนี้ก็จะเป็นอีกคอนเซ็ปต์หนึ่งที่สามารถทำได้เลย เพราะว่า Play to earn หรือ GameFi ซึ่งมันอินมากๆ กับเด็กยุคใหม่ เพราะเด็กยุคใหม่เล่นอะไรหรือทำอะไรจะต้องได้อะไรกลับมาด้วย นี่คือสิ่งที่ทำได้เลย แต่อีกส่วนที่เราพยายามฉายภาพให้ดูก็คือ Mixed Reality หรือ Omniverse มันเป็นสิ่งที่เราคุ้นชินอยู่ และคนไทยก็ adopt อยู่แล้ว ดังนั้น โอกาสในการที่แบรนด์จะออนบอร์ดเข้าไป มันจะง่ายกว่า และจะได้ประสบการณ์ที่มัน immersive กว่าเดิม
Metaverse กับการสร้างความยั่งยืนให้แบรนด์
เมื่อถามว่า Metaverse จะสามารถสร้างความยั่งยืนให้แบรนด์ได้หรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่กระแสมาแล้วก็ไป และแบรนด์ควรให้ความสำคัญแค่ไหน อรรถวุฒิ มองว่า การที่แบรนด์จะก้าวมาตรงนี้ อย่ามองแค่ว่าเราทำคนแรกแล้วจบ แต่อยากให้มองว่าเราสามารถ fixed in กับคอนซูเมอร์เราแล้วหรือยัง มันสามารถเปลี่ยนชีวิตประจำวันโดยสามารถเข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัลหรือ Virtual แล้วหรือยัง นี่คือสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า และสิ่งสำคัญเลยคือ สิ่งที่เราทำนั้นมันสร้าง New meaning สร้าง New Value แล้วมันเอ็นเกจกับคนที่มองหาสิ่งที่มันเปลี่ยนไปได้แล้วหรือยัง ตรงนี้นี่แหละ คือความหมายที่แท้จริงของแบรนด์ ซึ่งมันจะ healthy จริงๆ กับแบรนด์ เราถึงเรียกสิ่งนี้ว่า Metaverse Ecosystem เป็นสิ่งที่สำคัญกับแบรนด์จริงๆ แล้วมันก็ยังสามารถต่อยอดไปได้อีกเรื่อยๆ มันสร้างวาลูให้แบรนด์ได้จริง ตรงกับโจทย์ของแบรดน์ และยังนำผลลัพธ์กลับมาให้แบรนด์ได้อีกด้วย คิดว่าเราไม่ควรลิมิตตัวเองดีกว่า โอกาสมันเยอะมาก แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาอาสตรงนั้น มาปั้นให้เหมาะกับแบรนด์เรา และอย่างที่บอกเลยคือ วิธีวัดผลที่เหมาะที่สุดคืออะไร
ด้าน ณัฐ อิ๊กลู กล่าวเสริมว่า สิ่งที่เราทำให้กับแบรนด์มันคือการสร้างความยั่งยืนให้กับแบรนด์ และมันคือการ deliver ในส่วนของ Storytelling ซึ่งในจุดนี้มันคือส่วนในการสร้างโลกเสมือนในอนาคตที่มันจะ Convince คนได้มากขึ้น
ศศิศ เอนี่ไอ กล่าวสนับสนุนว่า จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ทั้งการใช้ VR หรือ AR มานาน ถ้าเป็นเมื่อก่อนมันก็มีลักษณะคล้ายๆ กับแบบนั้นอยู่บ้างคือมาแล้วก็ไป แต่ในปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีวิ่งเร็วมาก ในส่วนของการสร้างความยั่งยืนให้แบรนด์ การที่เราลงไปเป็นเจ้าแรกแล้วได้กระแสพักหนึ่งมันก็อาจจะดี แต่หลังจากนั้นสิ่งที่มันจะเกิดขึ้นกระแสที่มันจะเปลี่ยนไป แล้วตัวธุรกิจจะตามกระแสเหล่านั้นได้อย่างไร ในรูปแบบไหนบ้าง คือจากที่เราเริ่มสตาร์ทคนแรกก่อนก็เป็นเรื่องที่ดี แต่เราก็ต้องมาคิดต่อว่าแล้วจะทำอย่างไรให้อยู่ต่อไปได้อีก เมื่อวันหนึ่งมันกลายเป็น main stream แล้ว เราก็จะรออยู่ตรงจุดนั้นได้อย่างสมบูรณ์
“ทั้งนี้ การที่ Brand สามารถอแดปตัวเองเข้าสู่อีโคซิสิสเท็มใหม่นี้ได้อย่างสมบูรณ์ สิ่งนี้จะทำให้ Brand กำชัยชนะ หรือใครสามารถสร้าง relationship ที่ดีกับผู้บริโภคได้ก่อน สามารถตอบในสิ่งใหม่ที่เขาต้องการได้ก่อน จะทำให้เขา Win ในตลาดได้อย่างแน่นอน” อรรถวุฒิ กล่าวในตอนท้าย
น่าจับตาต่อไปว่า METALAB โดยการจับมือกันของ 3 พาร์ทเนอร์นี้ที่เกิดจากการรวมตัวกันบนความแข็งแกร่งของของตัวเอง จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดกับการสร้างสรรค์คอนเทนต์และการสื่อสารของไทยได้อย่างไร และจะกลายเป็นเวฟใหม่ที่จะมากระแทกดิสรัพท์สื่อเดิมหรือไม่ แต่เชื่อว่านับจากวันนี้ทุกอย่างจะไม่เหมือนเดิมอย่างแน่นอน.