จานร้อนทีวีดิจิตัล อุตฯ สิ่งพิมพ์ง่อนแง่น วิเคราะห์มุมมอง Mindshare – ตรวจแนวรบธุรกิจสื่อ

  • 217
  •  
  •  
  •  
  •  

mindshared_info

มายด์แชร์  เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร ที่เป็นส่วนหนึ่งของ WPP Networkและพันธมิตรอย่าง GroupM ได้จัด press briefing เพื่อสรุปภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณา2560 และแนวโน้มการตลาดในปี 2561โดยมองว่ายุคนี้เป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ในการดึงดูดความสนใจ และการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในยุคดิจิตอล ซึ่งจะทำให้นักการตลาดสามารถปรับตัวและปรับเปลี่ยนการสื่อสารและกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น และคาดว่าปีนี้จะเป็นปีที่เอเยนซี่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก

โดยคาดการณ์เม็ดเงินจะอยู่ที่ 119,165 ล้านบาท หรือเติบโต 7.6% ในทุกๆ สื่อ ท่ามกลางเทรนด์พึ่งพาข้อมูลอัจฉริยะที่เพิ่มขึ้นเม็ดเงินน่าจะกลับมาค่อนข้างเยอะ ทั้งการส่งออกเติบโตดี ดอกเบี้ยของตลาดไม่รุนแรง หุ้นขึ้นไปที่ 1800 จุด ในรอบ 43 ปีที่ได้เห็นตัวเลขนี้ เงินคงคลังแน่นเอี้ยดที่ 195,000 ล้านล้านบาทมากเป็นประวัติการณ์ ขณะที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมาที่สุด 35 ล้านคน

รวมทั้งปัจจัยอย่างการปรับปรุงระบบคมนาคม นโยบายไทยแลนด์ 4.0 วิถีชีวิตของผู้บริโภคเริ่มกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติมากขึ้น จับจ่ายมากขึ้น Advertiser น่าจะลงเม็ดเงินมากขึ้น ส่วนการตัดสินใจซื้อจะมีมิติมากขึ้น ไม่ได้แค่เห็นแอดแล้วจ่ายเหมือนเมื่อก่อน

และคงจะไม่ใช่แน่นอน ถ้าจะพูดว่ามีการให้ความสำคัญกับดิจิตอลมากเกินไป เพราะ Digital Platform ยังเป็นไฮไลท์กับวิธีการของมาร์เก็ตติ้งอยู่

“คอนเทนท์ดึงคนไม่พอ แต่ต้องไปอยู่ในช่องทางที่ดิจิตอลไปด้วย เช่น ยูทูป จาก Digital Platform เราสามารถทำคอนเทนท์ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคได้ ลูกค้า Search อะไร สามารถหาแอดมาวางใกล้กับอะไรที่เขากำลังสนใจ เหมือนซุปสำหรับทานในยามบ่าย หรือในขณะที่อากาศกำลังหนาว นี่คือส่วนที่ดีของดิจิตอล ที่สามารถสอบทานพฤติกรรมได้”

“ไฮไลท์คือ เรามองผู้บริโภคเป็นคน ไม่ใช่ดูที่ตัวเลขที่เป็นอายุของคน ซึ่งในยุคของ Cashless Societyผู้คนในวัย 60 ก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน ดูตัวอย่างในจีน เพราะฉนั้นโอกาสจึงเป็นของSamsung Pay หรือ Alipayถ้า  Lineจะเป็น King Instagram ก็เหมือน Queen ในโลกของ e-Commerce หรือe-Payment ที่ผู้คนใช้ในการซื้อ เสื้อผ้า ของใช้ กินอาหาร การทำ e-Commerce ในแพลตฟอร์มต่างๆ จึงมีผลกับอินฟลูเอนเซอร์ แต่จะเปลี่ยนมาเป็นการให้ความสนใจกับดาต้ามากขึ้น” ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ระบุ

mindshare01

ตามตารางนี้เราจะเห็นอัตราการเติบโตของทีวีดิจิตอลจาก 65,472.8ในบีที่แล้ว คาดการณ์ว่าในปีนี้จะเติบโตที่ดีแต่ในภาพรวมยังคงติดลบอยู่ ในขณะที่วิทยุ หนังสือพิมพ์และนิตยสารยังคงติดลบอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์กำลังเข้าสู่วิกฤติ Mobile ยังคงเป็นจอสำคัญ ขณะที่ลมหายใจของทีวีดิจิตอลของภาพรวมกำลังอ่อนแรง แต่ความเป็นจริงก็คือ รายการดี คนติดๆ ที่รายการ ไม่ได้ติดที่ช่อง ทำไมเรทติ้งยิ่งสูง ถ้าเป็นคอนเทนท์ละคร ละครที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยรุ่น เพื่อสังคม กระทั่งรายการข่าว คอนเทนท์จะเป็นตัววัด

การวัดเรตติ้งทีวีดิจิตอลที่ทำเป็นรายสัปดาห์ ถ้าใครยังจำได้คงสังเกตเห็นข่าว การบี้เบียดกันระหว่างโมโนกับ เวิร์คพอยท์ ในช่วงเดือนธันวาคมปีที่ผ่าน โดยโมโนอันดับ 3 สามารถเบียดเวิร์คพอยท์ ให้ตกเป็นอันดับ 4 ติดกัน 3 สัปดาห์ นั่นเป็นการส่งสัญญาณเตือนว่า การเฟ้นหาคอนเทนท์ของโมโนที่ทุ่มเทกับหนังยาวฟอร์มยักษ์ และซีรี่ส์ต่างประเทศ ก็สามารถทำอันดับของ เรตติ้งให้ขยับขึ้นมาได้

ทางเลือก ทางรอด สื่อในยุคดิจิตอล เราได้ยินได้ฟังกันมามาก สถานการณ์ตลาดหดตัวปรากฏตามหน้าสื่อ ทั้งหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษทั้งสองหัว หลายค่ายไปตัวไป หลายค่ายปรับมุมมองต่อตลาดและพฤติกรรมผู้ซื้อ ทั้งข่าวสด มติชน ประชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจหรือโพสต์ทูเดย์

ขณะที่สื่อภาษาไทยยักษ์ใหญ่อย่างไทยรัฐ ก็มีปรากฏการณ์ “ยอม” ให้มีโฆษณาบนหน้า 1 หรือการ  Wrap ปกหน้าด้วยโฆษณาจากค่ายคิง เพาเวอร์ ในฉบับวันที่ 18 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นการแหวกวัฒนธรรมไทยรัฐที่นานๆ จะได้เห็นสักครั้ง ซึ่งสะท้อนภาพรวมของอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี

mindshare02

ตัวเลขเม็ดเงินโฆษณา (ตามตาราง) สื่อทีวียังมาอันดับ 1 ที่ตัวเลข 71,000 ล้านบาท อันดับ 2 สื่อดิจิตอล 12,465 ล้านบาท ตามมาด้วยอันดับ 3 คือ หนังสือพิมพ์ตามมาห่างมากที่ 7,800 ล้านบาท

ไทยรัฐ-คิง เพาเวอร์ พันธมิตรร่วมรบ

สถานการณ์ไทยรัฐยังคงเหนื่อย แน่นอนว่าในโลกของ IOT เป็นสิ่งที่ยากปฏิเสธกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ยังคงมีช่องทางในการอยู่รอด ไทยรัฐยังคงมีลูกค้าค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า กระจายลงอยู่ทุกสัปดาห์

ถึงอย่างนั้นความสัมพันธ์ในการร่วมเป็นพันธมิตรระหว่างคิง เพาเวอร์ กับไทยรัฐ มาสักระยะเวลาหนึ่งแล้ว จากกรณีการเข้าถือหุ้นใน ไทยรัฐ ทีวี จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ คงไม่มีใครคาดคิดว่าฝ่ายหลังจะกลับมาเป็นผู้พึ่งพาฝ่ายแรกแตกต่างจากในอดีต ตัวแปรคือกระแส IOT ที่ Advertiser เทโฆษณาเข้าสู่โลกโซเชียล

แม้กระทั่งชีวิตประจำวันของทีวีดิจิตอลยังเหนื่อย ความโดดเด่นของเวิร์คพอยท์ทีวี ช่อง One GMM RS PPTV Mono  อมรินทร์ทีวี และไทยรัฐทีวี สะท้อนว่าคอนเทนท์ของคุณคือจุดขาย เม็ดเงินโฆษณาจึงไหลเข้าสู่ทีวีดิจิตอลมากขึ้น ทีวี analog อย่างช่อง 7 ก็หันเข้าสู่ออนไลน์ เจ้าพ่อทีวีเมืองไทยโดยตระกูลมาลีนนท์ที่สะสมผู้ประกาศชั้นแนวหน้าตามข่าวยังว่าจะถอดใจ อย่างไรก็ตามผู้สันทัดในวงการมีการประเมินจากวงในว่า ถ้าทีวีเมืองไทยยืนหยัดได้ 5 ปียังไม่ล้ม Advertiser ก็จะกลับมามากกว่านี้

รายได้ระดับหมื่นล้านจากโฆษณาที่ไทยรัฐเคยทำได้ ลดลงเหลือ 1,000 ล้านในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องถูกดึงไปซัพพอร์ททีวีด้วยซ้ำ การเดินเกมเรื่องโฆษณาจึงออกมาในลักษณะpackage พ่วงทั้ง Wrap หน้าหนังสือพิมพ์และปรากฏอยู่ในไทยรัฐทีวี ความร่วมมือระหว่าง 2 พันธมิตรจึงบังเกิด วิน วิน ทั้งสองฝ่าย

ปรากฏการณ์ขยายงานของSpring News สร้างความตื่นตาตื่นใจในธุรกิจทีวีดิจิตอล ไม่ว่าจะเข้ารุกสู่หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจที่เกิดวิวาทะกันมาก่อนหน้านี้ ทั้งกรณีของเนชั่นและช่อง now26 ว่ากันว่าเป็นค่ายทีวีที่มีทุนหนาแน่นที่สุด จากการบริหารของนักธุรกิจหญิงซอยผมสั้นอันเป็นเอกลักษณ์ ที่โลดแล่นอยู่ในสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ มานานกว่า 20 ปี ที่แฟนทีวีประจำช่อง 5 และ 7 น่าจะไม่ลืม การเดิมเกมธุรกิจทีวีดิจิตอลของค่ายนี้จึงนับว่าต้องจับตามอง

ความเป็นไปของค่ายเนชั่น, ช่อง now 26, สโมสรเชียงราย ยูไนเต็ด, การบุกตรวจสถานบันเทิง และมีเสี่ยช. มาร่วมเหตุการณ์ อาจส่งผลต่อการลงทุนในตลาดทีวีดิจิตอล และรุกคืบของ Spring News อย่างน่าจับตามอง

Copyright © MarketingOops.com


  • 217
  •  
  •  
  •  
  •