“สวัสดี YouTube ประเทศไทย” ยูทูปเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมาโดยการเปิดตัวครั้งนี้ได้มีการเปิดโดเมนเนมใหม่สำหรับ YouTube Thailand ให้คนได้เป็นพิเศษด้วยนั่นคือ YouTube.co.th ด้วยเหตุผลหลักที่ว่าต้องการให้คนไทยสามารถดูเนื้อหาที่กรองไว้สำหรับคนไทยโดยเฉพาะได้นั่นเอง และก็ยังใช้โดเมนหลัก YouTube.com ได้เช่นกัน ทั้งนี้ทางยูทูปจะทำการแสดงเนื้อหาส่งให้ผู้ใช้คนไทยได้ครบถ้วนทั้งคอนเท้นต์ของคนไทยและต่างประเทศก็สามารถรับชมได้จากทั้ง 2 โดเมนเนม โดยคนไทยจะสามารถรับชมวีดีโอจากผลงานการสร้างสรรค์ของคนไทยมากขึ้น สามารถดูรายการวีดีโอยอดนิยมที่คนไทยชมมากที่สุดได้ และเข้าถึงเนื้อหาท้องถิ่นได้มากขึ้น
YouTube Partnership Program การเปิดรับพันธมิตรในการสร้างวิดีโอคุณภาพให้แก่ชาวไทย
นอกจากจะเป็นการเปิดตัว YouTube Thailand แล้วในโอกาสนี้ทางยูทูปเองได้เชิญ Content Providers รายใหญ่ๆของเมืองไทยเข้าร่วมงานนี้ด้วยเช่น GMM Grammy,RS, ช่อง 3, ช่อง 7, และกลุ่มศิลปินต่างๆอาทิเช่น Spokedark , VRZO , เสือร้องไห้ เหล่านี้ ในฐานะของผู้ผลิตคอนเท้นต์คุณภาพดีและเผยแพร่ผ่าน YouTube Channel มาร่วมงานนี้ ด้วยโดยทางยูทูปจะเรียก Content Provider/Creator เหล่านี้ว่าContent Partner ที่ได้เข้าร่วมโครงการYouTube Partnership Program หรือเรียกว่าโปรแกรมพันธมิตรกับยูทูปซึ่งจะสามารถเข้าถึง Advanced programs ต่างๆได้เช่น YouTube Space, Development programs, Strategic และ Technical support ต่างๆของทางยูทูปได้ ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ Partner จะได้รับนั้นมีมากกว่า Creator หรือ Verified channels ทั่วไป
(ภาพบรรยากาศงานเปิดตัว YouTube.co.th)
กลุ่มเนื้อหาที่สามารถสร้างรายได้และจะถูกคุ้มครองสิทธิ์ได้แก่
- • เพลง (รวมถึงเพลงที่นำมาทำใหม่ เนื้อเพลง และเพลงพื้นหลัง)
- • กราฟฟิกและภาพ (รวมภาพถ่ายและอาร์ตเวิร์ก)
- • ภาพจากภาพยนตร์หรือโทรทัศน์
- • ภาพจากวิดีโอเกมหรือซอฟต์แวร์
- • การแสดงสด (รวมถึงคอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา และการแสดงต่างๆ)
ตัวอย่างของเนื้อหาที่อาจมีสิทธิ์ในการสร้างรายได้
- • คุณถ่ายภาพยนตร์เกี่ยวกับแมวของคุณ และไม่มีการใส่เพลงประกอบ
- • วิดีโอของคุณมีเพลงที่ได้มาจากการจ่ายค่าบริการเพียงครั้งเดียวแต่ใช้ได้หลายครั้ง และคุณสามารถพิสูจน์สิทธิ์ในการใช้เชิงพาณิชย์ได้โดยใช้ลิงก์ที่ไปยังข้อกำหนดของเพลงดังกล่าวนั้นโดยตรง
- • เพื่อนของคุณสร้างเนื้อหาสำหรับวิดีโอของคุณและระบุเป็นลายลักษณ์อักษรว่าคุณสามารถใช้และสร้างรายได้จากวิดีโอดังกล่าวได้
- • คุณได้สร้างเพลงต้นฉบับด้วยตนเองและไม่ได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงใดๆ ไว้
สิทธิ์ประโยชน์สำหรับพันธมิตร
วิดีโอที่มีสิทธิ์ทำเงินจากโฆษณาและ/หรือค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องได้ในฐานะที่เป็นพันธมิตรของ YouTube ประเทศไทยได้แก่
- • เพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้
YouTube เป็นชุมชนวิดีโอออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตวิดีโอต่างๆสามารถสร้างรายได้จากเนื้อหาต้นฉบับและมีคุณภาพ เข้ากันได้กับผู้ลงโฆษณา โดยเปิดรับโฆษณา และติดตามการชำระเงินจากยูทูป ในฐานะผู้ผลิต (Creator) ที่ดีที่สามารถทำเงินจากโฆษณาหรือค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องได้ในฐานะที่เป็นพันธมิตร YouTube ได้ - • ยืดหยุ่นด้วยข้อตกลงที่ไม่ใช่แบบเฉพาะตัว
YouTube ไม่ได้จำกัดว่าพันธมิตรจะต้องอัปโหลดและเผยแพร่เนื้อหาเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่สามารถสร้างรายได้จากเนื้อหาเพื่อเผยแพร่สู่ผู้ชมบน YouTube ได้ทั่วโลก - • ติดตามและจัดการผลงานของคุณ
YouTube Analytics จะให้ผู้ผลิตวิดีโอสามารถติดตามประสิทธิภาพของวิดีโอที่อัพโหลดขึ้นไปได้ว่ามีสถิติเป็นอย่างไร และยังสามารถติดตามรายได้ที่ได้รับจาก YouTube ได้อีกด้วย
YouTube Advertising เปิดตัวระบบโฆษณาเต็มรูปแบบสำหรับเมืองไทย
เมื่อในวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมาทางยูทูป (ในนามของกูเกิลประเทศไทย) ก็ได้จัดงานอีกงานหนึ่งขึ้นมาโดยเชิญบรรดานักการตลาดออนไลน์ทั้งแบรนด์และเอเจนซี่ต่างๆเข้าร่วมรับฟังระบบโฆษณาบนยูทูปอย่างเป็นทางการ โดยในงานนี้เป็นการแนะนำรูปแบบการทำโฆษณาผ่านยูทูปทุกรูปแบบที่มีให้เช่นเดียวกับอีก 61 ประเทศที่ทางยูทูปได้เปิดตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว
โฆษณาบน YouTube แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักได้แก่:
-
โฆษณาบนหน้าแรก (Home page)
1.1 Masthead ทางยูทูปเรียกชิ้นโฆษณาที่อยู่บนสุดนี้ว่า Masthead ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบได้แก่
i. Masthead home:
เป็นหน่วยโฆษณาด้านบนหน้าแรกของเราคือหน่วยเดสก์ท็อปบนหน้าขนาด 970×250 พิกเซล ซึ่งจะแสดงเต็มความกว้างบนหน้าแรกของ YouTube ใต้แถบค้นหา (มีแบบที่สามารถกดขยายได้ด้วย)
ii. Masthead lite:
เป็นหน่วยโฆษณาวิดีโอขนาด 760×150 พิกเซล โดยความกว้างจะน้อยกว่าแบบ Masthead home โดยจะเว้นพื้นที่เมนูซ้ายเอาไว้อยู่ และจะประกอบด้วยหน่วยโฆษณาย่อย 2 ส่วนคือ
- วิดีโอขนาด 265×150 พิกเซล (กำหนดให้เล่นเล่นอัตโนมัติ หรือ คลิกเพื่อเล่นวิดีโอ ก็ได้)
- เนื้อหาของแบนเนอร์ขนาด 495×150 พิกเซล
1.2 TrueView in-Search:
รูปแบบการโฆษณาแบบ Keyword search คล้ายกับ Google Search แต่ละอิงจากฐานคำค้นของ YouTube โดยแสดงอยู่รายการแรกๆของผลค้นหาบน YouTube
-
โฆษณาบนหน้าดูวิดีโอ (Watch page)
- Display ad (Standard Banner): แสดงโฆษณาทางช่องขวามือของหน้าดูวิดีโอต่างๆ
- Overlay in-video ad
- TrueView แบ่งออกเป็น 2 แบบได้แก่
- Display ad (Standard Banner): แสดงโฆษณาทางช่องขวามือของหน้าดูวิดีโอต่างๆ
- 3.1 TrueView in-Display
- 3.2 TrueView in-Stream ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 3 ประเภทได้แก่
- In-Stream Select: วิดีโอโฆษณาความยาว 30 วินาที ที่จะเล่นก่อนวิดีโอของ YouTube partner videos และผู้ชมจะสามารถกดข้ามได้หลังจากโฆษณานี้แสดงไปแล้ว 5 วินาที คิดเงินแบบ CPM และจะนับจากวิดีโอนี้ถูกโหลดขึ้นมาเลย
- In-Stream Short
- In-Stream Long
-
โฆษณาบนหน้า Brand Channel (Channel page)
สำหรับแบรนด์ที่เปิดหรือทำการ Verified channels แล้วก็จะมีหน่วยโฆษณาพิเศษที่เรียกว่า YouTube Gadget ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถปรับแต่งหน้านี้เป็นอะไรก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นสามารถใส่ Microsite ที่ทำขึ้นมาแล้วติดตั้งลงบนเมนูที่เพิ่มขึ้นมาใหม่บน Channel page ของตัวเองได้ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถสร้างสรรค์หน้า YouTube Gadget นี้ของตัวเองได้อย่างอิสระ
(ตัวอย่างการทำโฆษณาบนหน้า Brand Channel ของทาง Pepsi ที่ใช้รูปแบบของ YouTube Gadget)
Prime Packs อำนวยความสะดวกในลงโฆษณาบน YouTube ด้วยบริการจากทีมงานของยูทูปเอง
นอกจากที่นักการตลาดและเอเจนซี่จะสามารถซื้อโฆษณาได้ด้วยตัวเองแล้ว (ผ่านเครื่องมือ AdWords ของกูเกิล) ทางยูทูปยังมีทีมงานคอยช่วยเหลือในการทำโฆษณาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยโดยเรียกว่า Prime Packs คือรูปแบบการลงโฆษณาที่ต้องการเจาะกลุ่มเป้าหมายโดยตรงพร้อมกับการการันตียอดผู้ชมตาม Package ที่ทางยูทูปจัดสรรไว้ให้ด้วย ซึ่งถือเป็นชุดโฆษณาที่อยู่ในกลุ่ม Premium ที่ทางยูทูปจะทำงานร่วมกับ Partners ต่างๆที่เข้าร่วม YouTube Partnership Program ในประเทศไทย อย่างเช่น GMM Grammy,RS, ช่อง 3, ช่อง 7, และกลุ่มศิลปินต่างๆอาทิเช่น Spokedark , VRZO เหล่านี้เป็นต้นในการกำหนดกลุ่มผู้ชม (Target audience) แล้วจัดออกมาเป็น Package ที่ประกอบไปด้วย Inventory ต่างๆมาให้เรียบร้อยเพื่อให้ได้ยอดวิวของวิดีโอโฆษณาที่ลูกค้าหรือแบรนด์ต้องการ (ปกติจะต้องไปกำหนดหรือเลือก Inventory ด้วยตัวเองผ่าน AdWords) ซึ่งในรูปแบบนี้จะเหมาะสำหรับลูกค้าที่มีคลิปวิดีโอโฆษณาที่ต้องการยอดผู้ชมที่ตั้งเป้าไว้ชัดเจน เพราะมีการการันตีผู้ชม (จริง)โดยการจัดแพคเกจที่เหมาะสมจากทีมงานยูทูปด้วยเทคโนโลยีเบื้องหลังของ YouTube เอง
หมายเหตุ: รูปแบบการลงโฆษณาแบบ Prime Packs นี้ทางทีมงานยูทูปจะทำการติดต่อกับทางเอเจนซี่หรือผู้ลงโฆษณาเพื่อคุยในรายละเอียด และสรุปความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในแง่ของการการันตียอดผู้ชม ซึ่งหมายความว่าถ้าโฆษณาตัวไหนที่อาจจะไม่มียอดผู้ชมถึงตามที่ลูกค้าต้องการทาง YouTube ก็แจ้งให้ทราบว่าไม่สามารถทำได้และจะแนะนำรูปแบบการลงโฆษณารูปแบบอื่นที่เหมาะสมกว่าแทน
การคิดเงินแบบ CPM, CPC และ CPV ของ YouTube
การคิดค่าใช้จ่ายในการลงโฆษณาของ YouTube นั้นจะคล้ายกับของ Google AdWords ที่จำแนกได้เป็น 3 แบบคือ
1. CPM: คือมีการคิดเงินจากยอดวิวที่เกิดขึ้นจริง 1,000 ครั้ง โดยราคาของประเทศไทยคิดเงิน CPM ทั้ง In-Stream, In-Video และ Prime Packs ในราคา CPM Standard = $8.21
2. CPC: คือการคิดเงินจากยอดคลิกที่เกิดขึ้นบน Display ad อ้างอิงข้อมูลและประมูลราคา (Bidding) จาก AdWords Conversion Tracking
3. CPV: คือการคิดเงินของการลงโฆษณาแบบ TrueView (In-Stream, Search, Display) และอ้างอิงข้อมูลและประมูลราคา (Bidding) จาก AdWords Conversion Tracking เช่นกัน
นอกจากทางยูทูปจะแนะนำรูปแบบการโฆษณาต่างๆที่มีให้เลือกลงแล้ว ยังเปิดตัว Video Platform สำหรับนักสร้างสรรค์หรือ Creative สามารถเรียนรู้การสร้างวิดีโอรวมผ่านเครื่องมือ RichMedia Development & Dynamic solution optimizing the creative workflow ของทาง YouTube ที่มีให้อีกด้วย เพื่อให้สามารถผลิตวิดีโอโฆษณาและออกแบบ Brand Channel ออกมาให้มี Engagement ที่ดี รวมไปคำแนะนำในเรื่องการวงกลยุทธ Video Strategy framework ให้กับฝั่ง Creative นำกลับไปออกแบบการทำ Video Marketing ให้เหมาะสมกับคนไทยอีกด้วย