เปิดกลยุทธ์การทำงาน Creative บน Facebook จะสร้างความแตกต่างได้อย่างไร ในยุค Mobile Frist

  • 3.2K
  •  
  •  
  •  
  •  

 

อย่างที่ทราบกันดีว่าความท้าทายใหม่ของการทำโฆษณาชาเลนจ์มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการเพิ่มขึ้นของแพล็ตฟอร์มต่างๆ อย่างไรก็ตาม แม้แพล็ตฟอร์มจะมีทั้งของเก่าและของใหม่เพิ่มมากแค่ไหน แต่อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับชมนั้น มากกว่า 90% ดูกันผ่าน “มือถือ” ดังนั้น ที่เคยพูดกันว่ากระแส Mobile Frist หรือเทรนด์ Mobile Frist จึงแทบจะเป็นเรื่องเก่าไปแล้ว เพราะ Mobile Frist คือสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน เป็นโลกที่ผู้คนจมจ่อมอยู่กับสิ่งนี้ และใช้เวลาอยู่บนหน้าจอนี้นานที่สุด ฉะนั้น นักการตลาด และนักโฆษณา จะคิดในแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไป

ดังนั้น Marketing Oops! Live จึงชวน คุณจิ๊บ – จิรัฐ อรินฤทธิ์ Creative Strategist Creative Shop Department, แห่ง META (Facebook เดิม) มาร่วมพูดคุยเปิดประเด็นว่า ถ้า Mobile Frist ไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็น The Must Doing แล้วจะสร้างงานครีเอทีฟอย่างไรให้น่าสนใจ โดยเราได้สรุปประเด็นต่างๆ เอาไว้ในบทความนี้แล้ว

 

Creative บนโซเชียลมีเดีย เป็นความท้าทายที่มากขึ้นของนักการตลาดและนักโฆษณา

“เป็นความท้าทายเดิมๆ แต่ถูกทวีคูณขึ้น” คุณจิ๊บ เปิดประเด็นด้วยการพูดถึงความท้าทายใหม่ของการทำโฆษณา พร้อมกับบอกว่า หลักๆ คือเป็นเรื่องพฤติกรรมของคน สมัยก่อนคนเสพย์คอนเทนต์บนสื่อเดียว แต่เมื่อมีมือถือสมาร์โฟนเข้ามา พฤติกรรมคนก็เปลี่ยนไป แต่มันคือเรื่องเดิมๆ แต่ทวีคูณเพิ่มขึ้น ทำให้เราต้องปรับตัวในการคิดคอนเทนต์สร้างโฆษณาใหม่

โดยเฉพะกลยุทธ์การทำ Creative บน Facebook ก็มีความท้าทายเพิ่มมากขึ้น โดยที่ Mobile First มันไม่ใช่เทรนด์อีกแล้ว เพราะทุกคนก็ทำทุกอย่างผ่านมือถือหรือแม้แต่แท็บเล็ตต่างๆ โดยการดูคอนเทนต์เกิดบนมือมากกว่า 90% แต่การนำเสนอคอนเทนต์ไม่ได้ความแตกต่างไปจากในอดีตเลย

เมื่อโลกเปลี่ยนไป “มือถือ” อะไรได้มากกว่านั้น โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย เราจะพบว่าการ Feeding หรือภาษาบ้านๆ เรียก“ไถฟีด” สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ‘สปีด’ ของการไถฟีดมันเร็วมาก ยิ่งเด็กยุคใหม่ยิ่งไถค่อนข้างเร็วทีเดียว ดังนั้น คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง หรือโฆษณาของเราอยู่ในฟีดนั้น หน้าที่ของนักโฆษณาและนักการตลาดก็คือต้องหยุดการไถฟีดของเขาให้ได้ หรือให้เขาหยุดดูคอนเทนต์หรือโฆษณาของเรา เพราะตอนนี้อวัยวะหรือร่างกายที่มีพลังสุดก็คือ ‘นิ้ว’

ดังนั้น อย่างที่เกริ่นไว้ว่า ชาเลนจ์คือยังเหมือนเดิม แต่มันทวีคูณความท้าทายเพิ่มขึ้น เพราะพาวเวอร์มันอยู่ในมือคน ดังนั้น โฆษณาจะต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อ grab attention คนให้ได้ ดึงความสนใจคนให้ได้

 

Master the Media ในยุคที่ “มือถือ” ครองโลก

ในมุมของคนสร้างคอนเทนต์ นักโฆษณา นักการตลาด แบรนด์ ต้องบอกว่ามันน่ากลัวมาก เพราะว่าเราลงทุน ลงแรง ทั้งคิด สมอง และเงิน ในการผลิตคอนเทนต์หนึ่งออกมา แต่มันกลับถูกไถผ่านไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ต้องเกิดการปรับความคิดใหม่ในการทำงาน โดยทำงานบนแนวคิดที่เรียกว่า Master the Media เราต้องทำงานบนความเข้าใจมีเดีย

คุณจิ๊บ ยกตัวอย่างว่า งานไม่ได้ทำบนแนวคิด Master the Media ปรากฏว่าถูกไถฟีด ในเวลา 10 วินาที คนไม่รู้เลยว่าโฆษณาอะไร หรือเป็นแบรนด์อะไร ซึ่งจุดนี้อันตรายมากทีเดียว กับการที่คนนอกจากจะไม่รู้ว่าโฆษณาอะไรแล้วก็อาจจะ ทำให้ถึงกับเข้าใจผิดเลยก็ได้ว่าเป็นโฆษณาของคู่แข่ง กลายเป็นว่าไปทุ่มเทงบฯ คิดหัวสมอง ให้กับแบรนด์อื่น นั่นเป็นเพราะว่านำชิ้นงานออนไลน์ทั่วไป หรือ TVC มาใส่ในแพล็ตฟอร์มสำหรับการดูบนมือถือ หรือใส่บน Facebook ซึ่งไม่ตอบโจทย์อย่างมาก เพราะไม่ได้ถูกทำมาเพื่อ Mobile First มันคือหายนะ เป็นกับดักที่อันตรายที่สุด”

ดังนั้น หน้าที่ของคนคิดงาน หรือคนผลิตงานโฆษณา จะต้องคิดถึงเรื่อง Mobile First กับคอนเทนต์ของเราแล้ว เมื่อเราเข้าใจว่าพฤติกรรมของคนอยู่บนมือถือ ชิ้นงานโฆษณาที่เราทำก็ควรจะต้องเล่าเรื่องแบบใหม่ด้วย โดยทำบนแนวคิด Vertical Story หรือ Mobile First Storytelling

 

พลังของ Mobile Story Telling บนแนวคิด Master the Media

คุณจิ๊บ ยังเล่าให้ฟังถึงการสร้างคอนเทนต์ในอดีตว่า ส่วนใหญ่คนมันจะทำออกมาในรูปแบบ Traditional Linear Storytelling คือจะค่อยๆ เล่าเรื่องราวไป ค่อยๆ บิวด์ แล้วไครแม็กซ์หรือ main message ก็จะไปอยู่ช่วงกลางหรือช่วงท้ายเลย รวมไปถึงชื่อแบรนด์ก็จะไปอยู่ช่วงท้ายๆ เพราะเราเชื่อว่าคนจะอยู่ดูจนจบ (คนเอนหลังดูเราจนจบ) แต่เมื่อโลกสมาร์ทโฟนเข้ามาในชีวิตผู้คน ทุกอย่างเปลี่ยนไป (อย่างที่กล่าวไปตอนต้น) รวมไปถึงการทำโฆษณาก็จะต้องเปลี่ยนด้วย โดยปรับให้เป็นเส้นสีขาว ซึ่งคือการที่เราทำกลับกัน นำเอา main message หรือชื่อแบรนด์ มาไว้ข้างหน้า เพราะว่าพฤติกรรมคนเปลี่ยน นิ้วคือพลังสูงสุด โอกาสที่จะถูกฟีดไถออกไปแล้วไม่ได้ดูหรือไม่ได้รับความสนใจมีสูงมาก และไม่ใช่เพียงแค่นำวิดีโอที่มีอยู่มาปรับไซส์ให้มันเป็น Vertical แต่วิธีการเล่าเรื่องก็จะต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย จะต้องเอาไคล์แม็กซ์มาไว้ข้างหน้า หรือแม้แต่สีประจำแบรนด์มาไว้ตอนต้น เพื่อให้คนอยากหยุดดูและคนจำแบรนด์ของเราได้

ดังนั้น ถ้าคนทำคอนเทนต์ยังคิดแบบเดิมๆ ก็คงไม่ได้ หรือแม้แต่พฤติกรรมการดูวิดีโอ ก็มีความรู้สึกว่า คนดูทนดูวิดีโอนานๆ ไม่ได้ ประเด็นอยู่ตรงนี้ ชิ้นงานหรือคอนเทนต์ที่ 15 วินาทีเท่ากัน ทำให้คนรู้สึกว่า คอนเทนต์แรกมันนานเหลือเกิน แต่เทียบกับอีกชิ้นงานที่นำเสนอไคลแม็กซ์เลยในช่วงแรกๆ เรากลับรู้สึกว่า มันโอเค. เพราะนี่คือพลังของ Story Telling ที่เป็น Mobile Story Telling ใครที่สามารถ Master the Media ได้ก่อนก็จะวินในโลกของโมบาย

 

70 : 20 : 10 พฤติกรรมของผู้บริโภคยุค Mobile

เมื่อพอเข้าใจแล้วว่าการทำชิ้นงานโฆษณา จะต้องทำบนหลักคิด Master the Media โดยเล่าเรื่องในแบบที่เฟรนด์ลี่ต่อมือถือ (Mobile Story Telling) ก็มาดูว่าแล้ว พฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน ซึ่งเสพย์คอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย Facebook บนมือถือเป็นอย่างไร แบ่งหลักๆ เป็น 3 แบบด้วยกัน ได้แก่

  • 70 : On the goเป็นพฤติกรรมที่คนเคลื่อนไหวตลอดเวลา ออกไปข้างนอกหรืออยู่ในบ้านก็ได้ แต่เราจะควักมือถือออกมาดู ไถฟีด หรือตอบแชท ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่คนทำบ่อยที่สุดถึง 70%
  • 20 : Lean forward เป็นพฤติกรรมที่เรามีเวลามากขึ้น และเราเริ่มเอนตัวเข้าหาโทรศัพท์ของเรามากขึ้น ทำให้เราสามารถทำอะไรกับมือถือเราได้มากขึ้น หรือแม้แต่การดูโฆษณาได้นานมากขึ้น
  • 10 : Lean back – คือการเอนหลัง เหมือนเอนหลังนอนดูทีวี เป็นพฤติกรรมที่เรามีเวลากับมือถือมากที่สุดแล้ว มีเวลากับคอนเทนต์ ใช้เวลาในการเสพย์คอนเทนต์ที่นานที่สุด

เมื่อรวมตัวเลขทั้งสามตัว มันก็คือจำนวนเต็ม 100 ของช่วงเวลาของคน

 

แล้วการทำคอนเทนต์บน Facebook เกี่ยวข้องกับสิ่งนี้อย่างไร?

คุณจิ๊บอธิบายว่า เมื่อเรารู้พฤติกรรมคนเสพย์คอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย Facebook เป็นแบบนี้ เราก็ควรต้องสร้างคอนเทนต์ขึ้นมารองรับพฤติกรรมทั้ง 3 แบบ

ประเด็นที่น่าสนใจและชวนคิดคือ ไม่ได้หมายความว่า 70 อยู่เช้า 20 อยู่ช่วงบ่าย แล้วให้ 10 อยู่ตอนเย็นหรือหัวค่ำหรือหลังเลิกงาน ซึ่งอาจจะมีบางคนเข้าใจผิด เพราะจริงๆ แล้ว เราเห็นพฤติกรรม 70  20  10 แบบนี้ตลอดทั้งวัน และสามารถสลับกันไปมาได้ด้วย เพราะไลฟ์สไตล์ของคนไม่เหมือนกัน

ดังนั้น คอนเทนต์ไอเดียที่เรามี ควรทำคอนเทนต์ออกมาให้รองรับพฤติกรรมทั้ง 3 แบบนี้เลย ผลิตชิ้นงานรองรับพฤติกรรมทั้ง 3 แบบ ซึ่งจะนำมาสู่เฟรมเวิร์คของการ Execute ไอเดีย นอกจานี้ อย่าให้ตัวเลขไปหลอกเราว่าได้ว่า 10 คือคนใช้เวลาน้อย ดังนั้น มันจึงไม่สำคัญ หรือ 10 มีความสำคัญน้อยกว่า 70 มันไม่ใช่!

 

‘Pitch  Play  Plunge’ Framework ของการทำชิ้นงานบน Mobile First

เมื่อเราเข้าใจพฤติกรรมคนทั้ง 3 แบบแล้ว ทีนี้มาดู Framework ในการทำงานเพื่อให้สอดรับกับ 70 20 10 กัน โดยเรียกว่า Pitch  Play  Plunge วิธีการเทียบง่ายๆ ระหว่าง Framework กับพฤติกรรมผู้บริโภค ก็คือเอา Pitch  Play  Plunge  มาทาบทับกับ 70  20  10  เลย

  • Pitch คือพฤติกรรมที่เป็นแบบ 70 การทำชิ้นงานแบบ Pitch คือการเล่าเรื่องให้จบเร็วๆ ไม่ควรเกิน 15 วินาที จบได้ ใน 7 วินาที โดยเอา Main Message มาไว้ข้างหน้าเลย โดยชิ้นงานแบบ Pitch คือการรองรับพฤติกรรมแบบ On the go
  • Play คือพฤติกรรมที่เป็นแบบ 20 คือการที่ทำงานออกมาแล้วให้คนมา Interaction กับงานเราได้ เพราะพฤติกรรมนี้คือลักษณะของการที่เอนมาข้างหน้า เข้ามาหาคอนเทนต์ เขามีเวลาและอยาก Interaction กับคอนเทนต์ของเรามากขึ้น
  • Plunge คือพฤติกรรมที่เป็นแบบ 10 หรือก็คือการ “ด่ำดิ่ง” ไปกับคอนเทนต์เลย ซึ่งการดู Live เป็นหนึ่งในนั้น

ดังนั้น ถ้าคนจะทำชิ้นงานบน Facebook ก็อยากให้นึกถึง Pitch  Play  Plunge อันนี้เอาไว้ มันจะครอบคลุมพฤติกรรมทั้ง 3 แบบหมด Pitch  Play  Plunge  คือการทำคอนเทนต์บนไอเดีย  พูดง่ายๆ คือเราเมื่อเรามีไอเดีย ให้คิดถึงพฤติกรรม 3 แบบนี้ แต่ไม่ได้บอกว่าต้องทำให้ครบทั้ง 3P (แต่ถ้าทำได้ก็ดี) ประเด็นสำคัญคือให้ กระบวนการคิดงานของเราจะอยู่บนพื้นฐานพฤติกรรมการใช้ของคน โดยเฉพาะพฤติกรรมการเสพย์คอนเทนต์บนมือถือ ใช้ประโยชน์จากเฟรมเวิร์กนี้มาช่วยเรื่องพฤติกรรมบนแพล็ตฟอร์มให้มากขึ้น

 

Wacoal: Invisible Beauty

แบรนด์วาโก้ เริ่มต้นแคมเปญนี้จาก pain point ที่ว่าคนส่วนใหญ่จะมองหรือนึกถึงเฉพาะแต่ผลิตภัณฑ์บราเซีย ซึ่งทางแบรนด์ก็อยากจะปรับตรงนี้ให้คนไม่ลืมว่ายังไม่ได้มีแค่บราเซีย แต่ยังมีแพนตี้อีกด้วย และอีกโจทย์ที่แบรนด์อยากจะทำคืออยากจะเชื่อมโยงหาลูกค้ากลุ่ม Millennials และกลุ่มลูกค้า Younger ด้วย โดยคนกลุ่มนี้มีไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายและมี activity ที่หลากหลาย ซึ่งเทคโนโลยีของการสร้างโปรดักส์แพนตี้นั้นก็สามารถรองรับกิจกรรมที่หลากหลายของคนรุ่นใหม่ได้ จากอินไซต์นี้จึงเป็นที่มาของ Invisible Beauty เมื่อเทคโนโลยีต่างๆ มันช่วยให้การสวมใส่แพนตี้สบายตัวคล่องตัวความรู้สึกดีที่อยู่ภายในก็จะเสริมความมั่นใจสู่ภายนอกได้ ดังนั้น วาโก้ จึงทำโฆษณาออกมาเพื่อสื่อให้เห็นถึงไลฟ์สไตล์ต่างๆ ของผู้หญิง

โฆษณาตัวนี้นำเสนอภาพให้เห็นว่าซีนด้านบนคือไลฟ์สไตล์หรือแอคติวิตี้ต่างๆ ของผู้หญิง ส่วนซีนด้านล่างเหมือนกับถ่ายทอดให้เห็นภาพภายในการขยับของแพนตี้โดยจะเคลื่อนไหวไปตามด้านบน นี่คือตัวอย่างของงานประเภท Pitch ที่เล่าเรื่องรวดเร็ว ดูไม่จบก็เก็ทแล้วว่าอันนี้สื่ออะไร นอกจากนี้ แต่ละคนก็จะเห็นโฆษณาไม่เหมือนกันโดยจะ Targeting ไปตามความสนใจของผู้ชมได้ด้วย หรือยิงทุกอย่างไปหมดพร้อมกัน แต่การรันทั้งหมดในกลุ่มเป้าหมายกว้างๆ มันคือการใช้ประโยชน์จาก Machine Learning ของ Facebook เพราะระบบ delivery ของ Facebook จะทำการเรียนรู้ไปเอง เรียกว่าเป็นการ Targeting แบบกว้างๆ โดยให้อิสระระบบ Machine Learning ของ Facebook

นอกจากนี้ ในแคมเปญเดียวกันก็ยังมี การทำออกมาเพื่อตอบสนองพฤติกรรมในแบบ Play ด้วย คือสำหรับคนที่มีเวลาเล่นมากขึ้น โดยเราเรียกรูปแบบนี้ว่า IG Story Carousal คือเป็นการดูต่อไปเรื่อยๆ มีความ Interactive แคมเปญนี้ก็จะมีครบเลยทั้ง Pitch  Play  Plunge โดยไม่ได้ยึดติดกับตัวมีเดีย แต่ยึดตามพฤติกรรมการเล่นมือถือดูมือคือของคน

 

Olay: The Other Side of Gorgeous 30

 

แบรนด์ Olay ที่มีเพอร์เพิร์สว่า Fearless of any age คือจะอายุเท่าไหร่ก็ไม่กลัว โดยอยากจะที่จะรีเฟรชเพอร์เพิร์สนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เป็นอินไซต์ของผู้หญิงทั่วโลกที่มีความกังวลเมื่ออายุเข้าเลข 3 กลายเป็นความกดดันให้กับผู้หญิง แต่ Olay บอกว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ไม่ต้องกลัว ซึ่งอินไซต์นี้ตรงกับเพลงเก่าในอดีตคือ 30 ยังแจ๋ว” ซึ่งเป็นเพลงคลาสสิกที่ร้องโดยนักร้องชาย แต่เมื่อมาถึงปัจจุบันก็อยากจะถ่ายทอดเพลงนี้อีกครั้งแต่ให้เป็นนักร้องผู้หญิง โดยเลือก “แก้ม-วิชญาณี เปียกลิ่น หรือ แก้ม เดอะ สตาร์” ร้องแทนเพื่อเอ็มพาวเวอร์ผู้หญิงด้วยกัน

เมื่อมีเพลงนี้ใน 2 เวอร์ชั่น จึงจับไอเดียนี้มาใส่ในฟีเจอร์วิดีโอ 360 องศา คือให้คนมี Interactive กับมันได้ ซึ่งสามารถมองได้ทั้งแบบ Play และ Plunge โดยคอร์ไอเดียของแคมเปญนี้คือนำเพลง 2 เวอร์ชั่นมาประชันกันในวิดีโอตัวเดียวกัน เปรียบเทียบกันระหว่างสองเวอร์ชั่นเลย

แคมเปญชิ้นนี้ก็เป็นตัวอย่งของการ execute ไอเดียออกมา แล้วก็ใช้ Pitch  Play  Plunge ในการช่วยไกด์ในการทำคอนเทนต์ออกมาเพื่อไปตอบโจทย์พฤติกรรมที่แตกต่างกันของผู้ชมก็จะได้เฟรมเวิร์กที่คอมพลีท

 

Nescafe Latte: Unexpectedly, not just a coffee

เป็นแคมเปญ Music Marketing เพลง “ดี๊ดี (UNEXPECTED)” ร้องโดย เจเจ-กฤษณภูมิ และ ไอซ์-พาริส เพื่อโปรโมท Nescafe Latte ใน 2 รสชาติ ได้แก่ มิลค์ทีเอสเปรสโซ  และ คาราเมลบิสกิต ซึ่งทั้งสองรสนี้ก็จะมีความคาดไม่ถึงของรสชาติที่ซ่อนอยู่

สำหรับการทำงานของแคมเปญนี้ เริ่มต้นจากปล่อยเพลงออกมาก่อน แล้วมาบวกกับการที่วัยรุ่นไทยชอบเต้น เต้นแล้วไปอัปลง Instagram แล้วก็เลยทำ Dance Challenge ออกมาซึ่งก็มียูเซอร์ทำกันออกมาเยอะมา ก่อนที่จะมาบอกว่านี่คือแคมเปญของ Nescafe Latte ซึ่งต่อจากนั้นก็จะมีกิมมิกพิเศษ ออกมาคือจะมี AR Filter ออกมาด้วย รวมไปถึงทำ Gif. Sticker

ทั้งหมดนี้คือการที่เรามีไอเดีย แล้วเราก็ทำให้ผู้ชมได้มีทางเลือกต่างๆ ในการเข้ามามีส่วนร่วมกับแคมเปญของเรา ตั้งแต่คนที่ชอบแสดงออกมากๆ ก็มาเต้น หรือคนที่ชอบถ่ายรูป หรือโชว์ภาพน่ารักๆ ก็จะมาเล่น AR Filter หรือสุดท้ายก็แค่ลาก Gif. Stikcer มาตกแต่งภาพเท่านั้นก็ได้ ให้ทางเลือกกับคนว่าอยากจะมา participate แบบไหน ขึ้นอยู่กับสไตล์ของแต่ละคน เป็นอีกรูปแบบงานประเภท Pitch ที่ดึงให้คนดูได้จนจบ

 

Pomelo: Birthday Sale-abration

เป็นแคมเปญเซลล์ฉลองวันเกิดของแบรนด์ ซึ่งปกติก็จะเป็นช่วงที่แบรนด์ลดราคาให้กับลูกค้า ความน่าสนใจของแคมเปญวันเกิดในปี 2020 คือใช้รูปแบบของ Poll Ads มาใช้ โดยให้ลูกค้าเข้ามาเลือกว่าอยากให้ไอเท็มไหนลดสูงสุดถึง 70% ลูกค้าสามารถโหวตเลือกได้ในวัน pre-sale ซึ่งจัดว่าเป็น รูปแบบของ Play ที่มากกว่าแค่ให้คนเข้ามา interactive แต่อันนี้มันส่งผลถึงโปรโมชั่นที่จะได้รับจริงๆ ด้วย เป็นการโชว์ศักยภาพว่า Poll Ads เป็นอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด

การใช้ Poll Ads บน Facebook หรือบน Instagram Story ใครก็ได้สามารถโหวตแสดงความเห็นได้ ซึ่งส่วนตัวมองว่าแคมเปญรูปแบบนี้เป็นเหมือนการทำ Focus group รูปแบบหนึ่งเลยก็ว่าได้แบบเรียงไทม์คนจริงๆ เลย ถามลูกค้าโดยตรงไปเลย

 

กลยุทธ์ทั้งหมดนี้ มองว่านี่เป็นเหมือนกับหลักคิดสำคัญของไอเดียการทำโฆษณาเพื่อรองรับพฤติกรรม Mobile First ของคนยุคนี้ โดยให้คิดอยู่เสมอว่าผู้คนมีพฤติกรรมหลักคือ 3P ดังนั้น เราก็ต้องทำให้ชิ้นงานตอบสนองกับพฤติกรรมนั้นๆ แล้งหลังจากนั้นค่อยมาหาว่ารูปแบบไหนที่น่าจะเข้ากับไอเดียของเรา เป็นเหมือนกับ ไกด์ไลน์ หรือ Hand book ที่จะติดตัวต่อไป ว่าเวลาคิดคอนเทนต์หรือโฆษณาบน Facebook ถ้ามีไกด์ไลน์ตรงนี้ ว่าเวลาที่จะคิดคอนเทนต์ คิดโฆษณาหรือเฟรมเวิร์ค บน Facebook หรือ Instagram ก็จะทำให้งานครีเอทีฟของเราออกมาปังได้ง่ายๆ เลย

สำหรับคนที่สนใจว่าแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook  Instagram หรือ Messenger ฯลฯ  จะสามารถสร้างสรรค์งานโฆษณาให้ออกมาครีเอทีฟเพิ่มมากขึ้นได้อย่าง สามารถติดตามได้ที่ Meta for Business 


  • 3.2K
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!