หลายคนอาจเคยสงสัยว่า สารพัดโพสต์บน “News Feed” ที่เราเห็นบนหน้าแรกที่เข้าใช้เฟซบุ๊คนั้น เรียงลำดับจากอะไร และเลือกจากอะไรมา เพราะว่าไม่ใช่ทุกโพสต์จากทุกเพื่อนทุกเพจจะได้มาอยู่บนนั้น
คำตอบคือระบบของเฟซบุ๊คนั้น มีสูตรคำนวณที่เรียกว่า “EdgeRank” ซึ่งเป็นการนำหลายๆปัจจัยมาคำนวณร่วมกัน โดยเกี่ยวพันกับบุคคลหรือเพจนั้นๆ เช่นว่าเราเคยไปคอมเมนต์ เคยไปไลค์ ไว้มากแค่ไหน อย่างไรบ้าง ? , … และอีกหลายปัจจัย
Mike Maghsoudi แห่งบริษัท PostRocket และ Jon Loomer ผู้เชี่ยวชาญด้านเฟซบุ๊ค ได้ศึกษาและอธิบายสูตรดังกล่าวออกมาเป็น infographic ที่สวยงามเข้าใจง่าย …
ปัจจัยที่ว่านี้มีทั้ง ความสัมพันธ์ของเรากับคนนั้นหรือเพจนั้น ว่าสื่อสารกันบ่อยไหม และเป็นไปในทางบวกแค่ไหน (Affinity) , น้ำหนักความน่าสนใจโดยรวมของสิ่งที่คนนั้นหรือเพจนั้นโพสต์ (Weight), และอายุของโพสต์ว่าโพสต์มานานหรือยัง (Time Decay)
ทั้งหมดนั้นก็เพราะระบบของเฟซบุ๊ค พยายามจะเลือกสิ่งที่คิดว่าเราจะสนใจที่สุด เราสนใจคนไหน โพสต์แบบไหน ระบบจะเก็บไว้ตลอด แล้วไปใช้เลือกสิ่งที่จะให้เราเห็นใน News Feed ส่วนอื่นๆที่เหลือทั้งหมดนั้นก็เห็นใน Ticker (ทางขวาบนจอคอมพิวเตอร์ ที่เลื่อนลงไปเรื่อยๆ)
ในขณะที่บางคนเชื่อว่าการโพสต์รูปจะไปสู่หน้าจอของคนได้มากที่สุด ลางคนก็เชื่อว่าโพสต์สเตตัสข้อความล้วนๆเวิร์คกว่า แต่สองคนนี้สรุปว่าไม่มีสูตรสำเร็จแบบนั้น เพราะทุกอย่างตัดสินกันที่ “คน” ว่าจะตอบสนองอย่างไร
เช่น ในหน้า news feed ที่เราจะเห็นนั้น ก็จะมาจาก …
1. คนที่เราปฏิสัมพันธ์ด้วยบ่อยๆ เช่น ไปไลค์ ไปเม๊นต์บ่อยๆ
2. เป็นโพสต์แบบที่เราเคยปฏิสัมพันธ์ด้วยบ่อยๆ เช่น ไปไลค์ ไปเม๊นต์บ่อยๆ เช่นเราเคยไปไลค์หรือไปเม๊นต์ข้อความมากกว่ารูป ก็จะเกิดเป็น “ผลกรรม” ให้เราเห็นข้อความมากกว่าเห็นรูปนั่นเอง
3. ถ้าโพสต์นั้นของเพื่อนเราหรือเพจที่เราเป็นแฟนอยู่ มีคนไปไลค์ไปเม๊นต์เยอะ ก็มีแนวโน้มว่าเราจะเห็นโพสต์นั้นใน news feed ด้วย เพราะเฟซบุ๊คมองว่านั่นเป็นแระแสที่กำลังมาและเราไม่ควรตกข่าว
4. แต่ถ้าโพสต์นั้นมีคำด่าหรือ negative feedback มาก ระบบจะตัดคะแนนความน่าสนใจลง ซึ่งจุดนี้ยังน่าสงสัยอยู่ว่าระบบจะตีความภาษาไทยได้ด้วยหรือไม่ ?
ลองดูตัวอย่างเปรียบเทียบ สมมติถ้า Batman เล่นเฟซบุ๊ค …
การที่ผู้คนใช้เวลากับหน้า news feed มากถึงราว 50% แทนที่จะเป็นในหน้าวอลล์ของใครคนใดคนหนึ่งหรือเพจใดเพจหนึ่ง ทำให้อาจสรุปได้ว่าระบบ EdgeRank นั้น เวิร์ค ในทางปฏิบัติด้วย
source : allfacebook.com