คนเล่น Facebook ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหน้า News Feed และ User Interface จะมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนอยู่เป็นระยะ และก็มาถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 21 เม.ย ที่ผ่านมา Facebook ได้ประกาศถึงการปรับเปลี่ยน News Feed ของผู้ใช้งาน ว่าจะกำหนดคอนเทนท์ในฟีดตามความสนใจของผู้ใช้ โดยคอนเทนท์ที่อยู่ด้านบนๆที่คุณจะได้เห็นก่อน จะเป็นคอนเทนท์ที่คุณชอบและให้ความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ใช้ และลดการซ้ำซ้อนของเนื้อหาในนิวส์ฟีด
Facebook ตรวจสอบอย่างไรว่าผู้ใช้คนไหน ชอบอ่านอะไร ชอบดูอะไร ??
ในทุกวันเฟซบุ๊คจะสอบถามไปยังผู้ใช้งานกว่าพันคน ว่าคุณชอบให้มีคอนเทนท์อะไรโชว์ในหน้า News Feed ของคุณบ้าง ควบคู่ไปกับการใช้ ‘algorithms’ ในการแมทช์คอนเทนท์กับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อย่าง ไลค์, คลิ๊ก, คอมเม้นท์ และ การแชร์ จะช่วยให้ อัลกอลิทึม ทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นั่นหมายถึง Facebook จะแมทช์หน้านิวส์ฟีดได้ตรงใจคุณกว่าเดิม นอกจากนี้ Facebook ยังจะลดการโชว์คอนเทนท์ซ้ำๆที่มาจากแหล่งเดียวกัน ลดแถวยาวๆของการแชร์บทความเดียวกันจากเพื่อนหลายคน และเสิร์ฟเนื้อหาใหม่ๆตามความสนใจและความชอบของผู้ใช้เข้าไปแทนที่ ให้หน้าฟีดมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
หลักการที่ Faebook ใช้เลือกเนื้อหามาโชว์บนหน้าฟีดคุณ
อีกความพิเศษของการปรับเปลี่ยนครั้งนี้คือ ‘มีการนำเอาระยะเวลาในการอ่านของผู้ใช้งาน’ (Spend Time Viewing) มาร่วมประมวลการแมทช์คอนเทนท์ด้วย โดยจะประมวลระยะเวลาที่คนใช้บนหน้าคอนเทนท์ในบราวเซอร์ Facebook หรืออ่านผ่าน Instant Article โดยเริ่มคำณวนหลังจากมันโหลดหน้านั้นเสร็จ ว่าคนใช้เวลาดูแต่ละคอนเทนท์นานเท่าไหร่
อัลกอรึทึมใหม่นี้จะเริ่มถูกนำมาใช้งานจริงในสัปดาห์หน้า โดย Facebook คาดหวังว่าผู้ใช้งานจะได้เสพในสิ่งที่พวกเขาสนใจและชื่นชอบ นำไปสู่การสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน แต่เราเองก็มีแนวคิดบางอย่างแย้งขึ้นมาว่า การที่หน้าฟีดมีแต่เรื่องที่อยู่ในความสนใจของเรา มันจะเป็นการตีกรอบการรับรู้ให้แคบลงหรือไม่? เพราะมันคล้ายกับว่าเรากำลังก้มมองแต่เรื่องที่สนใจ จนอาจไม่ทันได้เงยดูเรื่องอื่นๆที่เกิดขึ้นรอบตัว แต่นี่ก็เป็นเพียงความเห็นจากเรา ซึ่งท้ายที่สุดแล้วเรายังเชื่อมั่นว่า Facebook จะยังไม่หยุดพัฒนา และมองหาหนทางใหม่ๆเพื่อยกระดับการใช้งานให้ดีขึ้นยู่เสมอ