ไม่ต้องสงสัยแล้ว Facebook ชี้แจงเพิ่มเติม นโยบาย Branded Content อะไรทำได้ไม่ได้ มุ่งหวังลดคลิกเบท

  • 1.3K
  •  
  •  
  •  
  •  

หลังจากที่เรานำเสนอบทความเกี่ยวกับ นโยบายใหม่สำหรับเนื้อหาที่มีแบรนด์ (Branded Content Policies) ของ Facebook

เอาให้สาแก่ใจ Facebook ประกาศ 7 ข้อห้ามใหม่ สำหรับ Branded Content

จาก 7 กฎเหล็กเฟซบุ๊กเรื่อง Branded Content ยังสามารถรับเงินได้อยู่หรือไม่ เรามีคำตอบ

ปรากฏว่ายังมีผู้สงสัยว่า สรุปแล้วนโยบาย Branded Content Policy อยู่ว่า นักการตลาด นักโฆษณา ผู้ดูแลเพจ และบรรดาอินฟลูเอนเซอร์ ทั้งหลาย จะสามารถทำอะไรได้บ้าง และอะไรคือสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งต้องยอมรับว่า นโยบายดังกล่าวมีผลกระทบสูงมากเพราะด้วยผู้ใช้ Facebook ของไทยมีจำนวนสูงมาก แล้วยังมีอิทธิพลต่อแบรนด์ ผู้ลงโฆษณา นักการตลาดอีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ Facebook เป็นช่องทางในการทำการตลาดบนแพล็ทฟอร์มนี้

ดังนั้น ทีมประชาสัมพันธ์ของ Facebookไม่ได้นิ่งนอนใจ และพร้อมที่จะให้คำอธิบายที่ชัดเจน โดยส่งรายละเอียดชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว (Branded Content Policy) มาให้เรา ดังนี้

branded content fb11

Branded Content Policy Update

มกราคม 2018

เราได้ทำการอัพเดทนโยบาย เนื้อหาที่มีแบรนด์และนโยบายเพจของเราซึ่งจะมีผลต่อครีเอเตอร์ ผู้เผยแพร่ และบุคคลสาธารณะ ซึ่งโพสต์เนื้อหาเพื่อเรียกคุณค่าและเหล่าผู้สนับสนุน (แบรนด์ ผู้ลงโฆษณา หรือนักการตลาด๗ที่พวกเขาเป็นพาร์ทเนอร์ด้วย มีอะไรใหม่

นโยบายเนื้อหาที่มีแบรนด์

“อย่ายอมรับสิ่งที่มีค่าใด ๆ เพื่อโพสต์เนื้อหาที่คุณไม่ได้สร้างหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้าง หรือไม่ได้มีคุณอยู่ด้วย”

นโยบายเพจ

“อย่ายอมรับการจ้างใดๆ ที่กำหนดเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมให้กับเว็บที่มีปริมาณโฆษณามากกว่าเนื้อหา หรือโฆษณาที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ในแง่ลบเช่นโฆษณาที่มีเนื้อหาทางเพศ น่าตกใจ หรือสนับสนุนการหลอกลวงใดๆ”

เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ นี่คือคำตอบสำหรับคำถามที่คุณอาจจะมี

คุณทำการอัพเดทเหล่านี้เพื่ออะไร

เนื้อหาที่มีแบรนด์เป็นแหล่งสร้างรายได้ที่เราต้องการสนับสนุนให้กับพาร์ทเนอร์ของเรา เราต้องการให้พาร์ทเนอร์นั้นประสบความสำเร็จบน Facebook และพวกเราทุ่มเทให้กับการทำให้มันเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับพาร์ทเนอร์และชุมชนของพวกเขา การเปลี่ยนแปลงนโยบายเหล่านี้มีเพื่อสนับสนุนพาร์ทเนอร์ที่กำลังสร้างชุมชนที่มีส่วนร่วมขึ้นจากเนื้อหาดั้งเดิมของพวกเขา เพราะเราเชื่อว่าเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอินฟลูเอ็นเซอร์โดยตรงนั้น สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างลึกซึ้ง

ในทางเดียวกันนั้น เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ Facebook ซึ่งติดตามและมีส่วนร่วมกับเนื้อหาแบบออร์แกนิกตามเพจให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการไม่สนับสนุนให้เจ้าของเพจรับการสปอนเซอร์ (หรือการแลกเปลี่ยนใดๆ ที่มีค่าเช่น ผลิตภัณฑ์ฟรี หรือข้อตกลงการแชร์เพื่อยอดแชร์) เพื่อโปรโมทแอพหรือเว็บใดเว็บหนึ่ง (ดูด้านบน) นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะสร้างประสบการณ์ที่มีคุณภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกับการอัพเดทรอบก่อนๆ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อ ลดการคลิกลิงก์คุณภาพต่ำ และ ลดจำนวนพาดหัวคลิกเบท

จะรู้ได้อย่างไรว่าฉันมีส่วนร่วมมากพอในการสร้างเนื้อหา

โดยคร่าว ๆ นั้น มีวิธีการสองวิธีที่คุณจะมีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหา

  1. โปรดักชั่น: ครีเอเตอร์นั้นจะถือว่ามีส่วนร่วมมากพอ หากเป็นผู้ที่สร้างชิ้นงานโฆษณาของโพสต์นั้น (รูป วีดีโอ ฯลฯ) หรือหากพวกเขาปรากฎตัวในชิ้นงานนั้น (เช่น ถือผลิตภัณฑ์)
  2. บทบรรณาธิการ ครีเอเตอร์ได้รับสปอนเซอร์ให้โพสต์ ตัวอย่างเช่น ตัวอย่างภาพยนตร์ที่พวกเขาไม่ได้ช่วยสร้าง แต่โพสต์นั้นมีจุดประสงค์เป็นรีวิวภาพยนต์ รีวิวต้องมีความละเอียดเฉพาะตัวต่อครีเอเตอร์ เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและสะท้อนถึงรสนิยมส่วนบุคคลในฐานะผู้กำหนดรสนิยม กรณีที่สองนี้ควรจะเป็นกรณีที่ไม่พบได้บ่อย โพสต์นี้อาจถูกตั้งว่ามีการละเมิดนโยบายแต่ถ้าหากครีเอเตอร์อุทธรณ์การตัดสินและเนื้อหานั้นมีความเป็นบทบรรณาธิการ เนื้อหานั้นจะได้รับการยอมรับ หากคุณยังไม่แน่ใจว่าเนื้อหาแบบใดที่ได้รับการอนุญาตตามนโยบายของเราให้คุณติดต่อ ผู้แทน Facebook เพื่อความชัดเจน

สิ่งใดที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาตตามนโยบายนี้

  1. การแชร์เพื่อยอดแชร์

ตัวอย่างเช่น : ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะใช้เนื้อหาของกันและกันโดยไม่มีการสปอนเซอร์ใดๆ

เป็นการละเมิดนโยบายโฆษณาหรือไม่ : ไม่

ต้องมีแท็กหรือไม่ : ไม่

เหตุผล : เพื่อยอดแชร์นั้นไม่ได้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนที่มีมูลค่าจึงไม่ถือเป็นเนื้อหาที่มีแบรนด์

  1. โปรโมทผลิตภัณฑ์ของคุณเอง

ตัวอย่างเช่น : ครีเอเตอร์โพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องสำอางหรือกระเป๋าที่ทำเอง

เป็นการละเมิดนโยบายโฆษณาหรือไม่ : ไม่

ต้องมีแท็กหรือไม่ : ไม่

เหตุผล : เพราะไม่มีพาร์ทเนอร์เกี่ยวข้องในกรณีนี้ จึงไม่ถือเป็นเนื้อหาที่มีแบรนด์

  1. ได้รับสปอนเซอร์ให้โพสต์เนื้อหาที่คุณได้รับการฟีเจอร์แต่ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้นเอง

ตัวอย่างเช่น :ครีเอเตอร์ปรากฎตัวในรูปพร้อมผลิตภัณฑ์ และผู้อื่นถ่ายรูปและครีเอเตอร์ได้รับสปอนเซอร์ให้โปรโมทผลิตภัณฑ์นั้น

เป็นการละเมิดนโยบายโฆษณาหรือไม่ : ไม่

ต้องมีแท็กหรือไม่ : ใช่

เหตุผล : เป็นไปตามนโยบายโดยตรง เพราะอินฟลูเอ็นเซอร์นั้นปรากฎตัวอยู่ในเนื้อหา และไม่เกี่ยงว่าพวกเขาเป็นผู้ถ่ายวีดีโอ/รูปหรือไม่

  1. ได้รับการสปอนเซอร์ให้โพสต์เนื้อหาที่คุณไม่มีส่วนร่วมในการสร้าง

ตัวอย่างเช่น :ครีเอเตอร์โพสต์วีดีโอตัวอย่างของหนังvแต่ไม่มีบทบาทในการสร้างวีดีโอตัวอย่างหรือหนัง

เป็นการละเมิดนโยบายโฆษณาหรือไม่ : แล้วแต่

ต้องมีแท็กหรือไม่ : ใช่

สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Branded Content Policy Update

Credit ภาพ http://www.tbmedia.net/facebooks-branded-content-update-more-engagement/


  • 1.3K
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!