มุมมองการสร้างแอพพลิเคชั่น เพื่อต่อยอดทางการตลาด

  • 31
  •  
  •  
  •  
  •  

ในยุคที่สมาร์ทโฟนเฟื่องฟู หันไปทางไหน ใครๆก็แนะนำว่า ทำแอพสิ คนโหลดเยอะ คนรู้จักแบรนด์ แต่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวทางการสร้างแอพ การสร้างแอพ มีมูลค่ามากกว่ายอดดาวน์โหลด หลายๆแอพ ที่ได้รับความนิยมถึงขั้นสูงสุด ไม่นานก็ล้มหายตายจากไป

หากมองในมุมมองทางการตลาด นักพัฒนาแอพ คงไม่ได้มองแค่ว่า แบรนด์ประสบความสำเร็จ ด้วยยอดดาวน์โหลดอันดับ 1 แต่มองการผูกพันกับแบรนด์ การสร้างความสัมพันธ์กับแบรนด์ ในระยะยาว มากกว่าแค่การโหลดแอพ ที่อาจจะติดอันดับการดาวน์โหลดอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น

หากมองในตลาดปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า การทำแอพของแบรนด์ต่างๆ ไม่ได้เป็นเพียงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือการฝัง “แบรนด์” ไว้บนสมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต เพื่อพกแบรนด์ติดตัวผู้ใช้ แต่เป็นการเพิ่มมูลค่าทางการตลาด เพื่อสร้างความผูกพันกับแบรนด์ มากกว่าแค่การแสดงโฆษณาหรือโลโก้แบรนด์ให้ผู้ใช้เห็น แต่การสร้างความผูกพันกับแบรนด์ แล้วสนใจหันมาใช้สินค้า สนับสนุนแบรนด์ อันนี้สำคัญกว่า

สาเหตุของการจัดทำแอพนั้น บริษัทพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ ออกแบบแอพ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ให้รู้สึกผูกพันกับแบรนด์ โดยที่แบรน์เอง ก็ไม่ได้ยัดเยียดขายสินค้า ไม่ได้ยัดเยียดในการอัดข้อมูลสินค้าลงในแอพ แต่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และแบรนด์ ให้เราเดินไปด้วยกันในทุกที่ ทุกเวลา

B-quik_01

แน่นอนว่า ความนิยมของผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากขนาดนี้ ใครๆก็อยากทำแอพ แต่จะทำแอพอย่างไร ให้ต่อยอดทางการตลาดและแบรนด์ได้ เชื่อว่าผู้ใช้เคยดาวน์โหลดแอพมากมาย บางแอพก็ยัดข้อมูลจากเว็บ ลงแอพ บางแอพก็เอาข้อมูลสินค้า ยัดเยียดผู้ใช้ให้โหลดลงมือถือ แต่เรามีตัวอย่างที่น่าสนใจ ของการทำแอพเพื่อสร้างความผูกพันกับแบรนด์ โดยตัวอย่างที่น่าสนใจคือ B-Parking แอพที่ช่วยในการบอกตำแหน่งที่จอดรถ ซึ่งเชื่อว่าหลายๆคนมักจะลืมว่าจอดรถไว้ตรงไหน แอพนี้ผู้จัดทำคือ Code Gears Co.,Ltd ภายใต้แนวคิด นำโดยเชษฐ์ เชษฐชัยยันต์ ที่ทำให้แบรนด์ B-Quik เกาะติดทุกหน้าจอ ด้วยแอพที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้รถทุกคน แอพนี้ไม่ได้ขายยาง แอพนี้ไม่ได้ขายแพ็คเกจดูแลรถ แต่แอพนี้ ช่วยให้ผู้ใช้ ได้ประโยชน์ โดยแอพนำเสนอสิ่งดีๆ ผ่านแบรนด์ เมื่อมีแอพที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้ทุกคน (แม้ว่าไม่ได้เป็นลูกค้า) เชื่อว่า ผู้ใช้จะต้องใช้งานแอพนี้ซ้ำทุกครั้งที่จอดรถ เพราะแอพนี้ ถูกสร้างขึ้นจากการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งานจริง ส่วนแบรนด์ก็จะได้ประโยชน์ในแง่ของการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้รถ เพื่อทำ CRM ต่อไป เพราะปกติแล้ว ผู้ใช้รถ มักจะขับรถเพียงอย่างเดียว ทางแบรนด์จึงทำตัวเหมือนเป็นเพื่อน ที่คอยห่วงใยสุขภาพรถให้ผู้ใช้ 

ทางด้านการออกแบบนั้น แอพ B-Parking เน้นการใช้สีเหลือง อันเป็นโทนสีของ B-Quik ศูนย์บริการรถยนต์ที่ทุกคนรู้จักกันดี แอพนี้มีความน่าสนใจ และนำเสนอผูกแบรนด์กับผู้ใช้ได้แบบ friendly มากๆ เพราะการทำให้รถยนต์นั้นมีชีวิต

B-quik_02

การสร้างแบรนด์ผ่านแอพนั้น นักพัฒนา พยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในการทำการตลาดผ่านแอพ โดยไม่ใช่การนำข้อมูลบนเว็บไซต์ มาก้อปปี้ลงบนแอพ แต่เป็นแนวคิดในการประชาสัมพันธ์แบรนด์ เพราะการทำแอพขึ้นมาสักตัว ผู้ใช้ควรจะประโยชน์จากแอพนั้นๆ และเรียกแอพขึ้นมาใช้ซ้ำ อย่างเช่นแอพ B-Parking ที่นำเสนอประโยชน์ให้คนใช้รถทุกคน

ส่วนตัวอย่างการทำแอพเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่าน CRM นั้น แอพ Auntie Anne’s มีการจัดทำเพื่อจัดเก็บข้อมูลลูกค้า ทำ e-coupon ทำโปรโมชั่น ค้นหาตำแหน่งที่ตั้งร้านค้า ถือได้ว่าเป็นแอพที่นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แอพ ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต

การทำแอพนั้น ไม่ใช่การทำเพื่อเป็นกระแส ว่าแบรนด์ฉันได้อยู่บนหน้าจอลูกค้าแล้ว เพราะหลายแอพที่ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ใช้ดาวน์โหลดไปแล้วใช้งานครั้งเดียว ไม่เรียกแอพขึ้นมาใช้ซ้ำ แต่ในขณะที่ Code Gears Co.,Ltd นำเสนอช่องทางแอพ ในการต่อยอดธุรกิจ มากกว่าการนำข้อมูลสินค้ามาลงในแอพไว้เท่านั้น

ดังนั้น การสร้างแอพ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับผู้ใช้ เป็นประเด็นที่ใหญ่กว่า อย่าสร้างแอพเพียงแต่เอายอดดาวน์โหลด แล้วผู้ใช้ไม่ใช้ซ้ำ ไม่บอกต่อ อยากจะให้วัดจากจำนวนผู้ใช้ที่ active จริงๆ และขอให้ผู้ใช้ ใช้แอพซ้ำ เพื่อสร้างความผูกพันกับแบรนด์ในระยะยาว

ความสำเร็จของการทำแอพ ไม่ใช่การสร้างแอพแล้วมีจำนวนดาวน์โหลดเยอะ อย่างที่รู้กันว่า กระแส มาเร็ว และไปเร็ว แต่จะทำยังไง ให้ผู้ใช้ เลือกใช้งานจน “ติด” ใช้ซ้ำ จนกลายเป็นแอพโปรดประจำตัว

ตัวอย่างของผู้พัฒนาแอพ ที่เข้าใจการตลาด การสร้างความผูกพันระหว่างลูกค้าและแบรนด์ คือบริษัท Code Gears Co.,Ltd. สามารถติดต่อผ่านคุณเชษฐ์ เชษฐชัยยันต์ chet.c@codegears.co.th และติดต่อได้ที่ codegears.co.th


  • 31
  •  
  •  
  •  
  •