เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2555 ผู้บริหารเอไอเอส ปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานบริการเสริม ได้กล่าวถึงความคืบหน้าในการทดสอบเทคโนโลยี 4G ว่า
“จากการที่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้อนุมัติให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) , บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) , บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ทำการติดตั้งอุปกรณ์ดำเนินการทดสอบ เทคโนโลยี LTE-Long Term Evolution หรือ ที่รู้จักกันในชื่อของ 4G ใน 2 เทคโนโลยี และ 2 พื้นที่ ประกอบด้วย
- โครงการทดสอบและทดลองระบบบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง Broadband Wireless Access-BWA ในย่านความถี่ 2300 MHz (20 MHz)ด้วยเทคโนโลยี Long Term Evolution ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ Time Division Duplex หรือ TDD ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งในเขตพื้นที่ชั้นใน บริเวณถนนพระรามหนึ่ง ตั้งแต่ มาบุญครองถึงเซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงชั้นนอกจากศูนย์ราชการ กระทรวงไอซีที และ สำนักงานทีโอที แจ้งวัฒนะ โดยมีจำนวนสถานีฐาน 20 แห่ง เปิดให้ทดสอบถึงช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2555
- โครงการทดสอบและทดลองระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 ในย่านความถี่ 1800 MHz (10 MHz D/L + 10 MHz U/L) ด้วยเทคโนโลยี Long Term Evolution ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ Frequency Division Duplex หรือ FDD ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม ในเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โดยเบื้องต้นมีจำนวนสถานีฐาน 8 แห่ง เปิดให้ทดสอบถึงช่วงประมาณต้นเดือนมีนาคม 2555
โดยเป็นการทดสอบรูปแบบของการทดสอบเชิงเทคนิคชั่วคราว หรือ Technical Trial ซึ่งมิได้แสวงหากำไรเชิงพาณิชย์ หรือ Non Commercial นั้น ผลจากการทดสอบในช่วงที่ผ่านมาถือว่าเป็นที่น่าพอใจและได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเตรียมการเปิดประมูลของ กสทช. เป็นอย่างยิ่ง อาทิ
- ความเร็วและความเสถียร
TDD Download 50-80 Mbps Upload 5-15 Mbps
FDD Download 50-60 Mbps Upload 20-30 Mbps - รัศมีในการส่งสัญญาณ (Coverage Area) อยู่ที่รัศมี 1 กิโลเมตร
- ลักษณะการใช้งานในขณะเคลื่อนที่ Handover ภายใต้ Coverage ที่มีความต่อเนื่อง (เฉพาะการทดสอบที่ จ.มหาสารคาม) พบว่าสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
- ความสัมพันธ์ของย่านความถี่และช่วงกว้างความถี่ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานเทคโนโลยี LTE นั้นพบว่า โดยทั้งสองย่านสามารถทำงานได้ดี แต่จำเป็นต้องใช้ความกว้างของแถบความถี่มากกว่า 20 MHz หากต้องการความเร็วเกิน 100 Mbps
- ความเร็วของการเข้าถึง Content ด้าน Multi Media แบบ HD สูงกว่า 3G ถึง 5-10 เท่า (20 ms latency)
- รูปแบบของ Applicationที่เหมาะสมและตรงใจผู้บริโภค ในประเภท video interactive, 4G to wifi และ multimedia content
- โดยเอไอเอสได้เริ่มเปิดจุดทดสอบเทคโนโลยี LTE ในกรุงเทพฯ เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสประสบการณ์นี้ด้วยตนเอง และได้ผสมผสานเอาเทคโนโลยี Real Time Video Interactive เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เห็นภาพของประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต หากโครงสร้างพื้นฐานมีความแข็งแรง
สำหรับจุดทดสอบเทคโนโลยี 4G เบื้องต้นมี 2 จุด คือ
- บริเวณชั้น 2 สยามเซ็นเตอร์ ช่วงทางเชื่อมกับศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยเปิดจุดทดสอบภายใต้แนวคิด “Beauty Consult on 4G” ให้ประชาชนได้โต้ตอบกับกูรูช่างออกแบบทรงผมจากร้าน TO B 1 ซึ่งตั้งอยู่ ณ สยามแสควร์ ซอย 2 ที่จะมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับทรงผมที่เหมาะสมผ่าน Video Interactive บนเครือข่าย 4G
- บริเวณชั้น 1 วัน-ทู-คอล! ช็อป @Digital Gateway ที่เปิดให้ประชาชนทดสอบและสัมผัสกับความเร็วของเทคโนโลยี 4G เมื่อท่องโลกอินเตอร์เน็ต
นายปรัธนา กล่าวในตอนท้ายว่า “เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ทดสอบในทั้ง 2 พื้นที่ จะทำให้การเตรียมพิจารณาเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆของประเทศไทยเป็นไปอย่างละเอียด รอบคอบ เสริมมุมมองได้อย่างครบถ้วนมากยิ่งขึ้นจากการผนึกกำลังกันของเอกชนและภาครัฐ” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ส่วนงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส วราลี จิรชัยศรี โทร. 0 2299 5063 waraleej@ais.co.th