จับตาเศรษฐกิจ ผลักดัน Transform องค์กรให้ครบด้าน เพิ่มศักยภาพการแข่งขันเหนือคู่แข่ง กับหลักสูตร TEN X

  • 31
  •  
  •  
  •  
  •  

สถานการณ์เศรษฐกิจ

ในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าไม่มีธุรกิจไหนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ การทำสงครามการค้า ความผันผวนของค่าเงิน และภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของโลกในปัจจุบันยังคงเปราะบางมาก

หลายประเทศปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์มุ่งหน้าสู่จุดหมายใหม่ สู่ธุรกิจใหม่แห่งโลกอนาคต ตัวอย่างเช่นประเทศจีน ที่ก้าวเข้ามาในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) บุกสู่ตลาดโลกอย่างแข็งขัน จนปัจจุบันจีนกลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ และเป็นผู้ผลิตรถยนต์ EV ป้อนตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

สำหรับประเทศไทย คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกิตติมศักดิ์หลักสูตร TEN X ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มองว่า ในปี 2566 จะเป็นอีกปีที่ประเทศไทยต้องเผชิญความท้าทายสูง ทั้งปัญหาความขัดแย้งด้าน Geopolitics การขาดแคลนพลังงาน ความไม่ต่อเนื่องของระบบ Supply Chain ที่ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น นำมาสู่ปัญหาเงินเฟ้อ และการวางนโยบายทางการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายที่สูงขึ้นจากแรงกดดันของหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้บริหารองค์กรควรต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและรอบคอบ

 

คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกิตติมศักดิ์หลักสูตร TEN X ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

 

แต่อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนยังมองว่า แม้ภาคการส่งออกปีนี้ จะมีโอกาสหดตัว สอดคล้องกับการส่งออกของคู่แข่งของไทยในภูมิภาค แต่เศรษฐกิจไทยยังสามารถเติบโตได้สวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มถดถอยลงได้  โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและจะเข้ามาช่วยเสริมตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปัจจัยหลักมาจากความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ไทยมีการผ่อนคลายมาตรการและเปิดประเทศอย่างรวดเร็ว จึงคาดว่าภาการท่องเที่ยวจะยังคงเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด และเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้ด้วย 

 

การปรับตัวของภาครัฐและภาคเอกชน

ต้องยอมรับว่าเรื่องของ Disruption เป็นสิ่งที่ทุกประเทศ ทุกธุรกิจต้องเผชิญ เราเห็นตรงกันแล้วว่าเทคโนโลยีจะไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอดในการแข่งขันยุคปัจจุบัน ดังนั้น สิ่งสำคัญคือภาครัฐและเอกชนต้องมีการปรับตัว และนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อสร้างโอกาสและขีดความสามารถในการแข่งขันในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

หากแบ่งอุตสาหกรรมออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ First Industries 45 กลุ่ม หรืออุตสาหกรรมดั้งเดิมที่กำลังโดน disruption ภาครัฐและเอกชนจะต้องคิดว่าทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมดั้งเดิมเหล่านี้เข้มแข็งขึ้น มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น การนำเรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นเรื่องที่ควรต้องทำ เพราะธุรกิจที่แข็งแกร่งเท่านั้นที่จะอยู่รอด

ส่วนที่สอง Next Gen Industries หรือธุรกิจใหม่ ๆ ที่เป็นโอกาสในการยกระดับอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญและไทยได้หยิบยกให้เป็นวาระแห่งชาติ นั่นคือเรื่องของ BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของไทยที่ถือว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และสิ่งนี้จะทำให้เราเกิดความได้เปรียบกับประเทศอื่น ๆ

 

 

BCG Economy จะเข้ามามีบทบาทอย่างไรต่อประเทศไทย

การประชุม APEC CEO Summit 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการนำเสนอแนวทาง BCG Model เป็นวาระสำคัญที่ 21 เขตเศรษฐกิจ APEC ให้การยอมรับและถือเป็นแนวทางในขับเคลื่อนเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในระยะต่อไป ทั้งนี้ หอการค้าไทย ก็ได้มีเป้าหมายสำคัญจะนำ BCG Model มาใช้ในการขับเคลื่อนประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนคนไทย ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น เช่นเดียวกับตัวอย่างการประสบความสำเร็จของประเทศจีน ที่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้ และ เทคโนโลยี ให้กับประชาชนและภาคธุรกิจอย่างจริงจัง สร้างรูปแบบ Smart Farmer ในภาคการเกษตร และการสร้าง Platform การค้ารองรับการค้าขายทั้งภายในและต่างประเทศ นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้เด่นชัดจากความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

นอกจากนี้ หากเราต้องการทำการค้าขายกับนานาประเทศในปัจจุบัน ต้องไม่ลืมประเด็นเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมความยั่งยืนภายใต้แนวทาง SDGs ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมาก และสอดคล้องกับแนวทาง BCG ของไทยด้วย ดังนั้น BCG จึงไม่ใช่แค่เรื่องการเกษตรทั่วไป แต่ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ ต้องมองว่า Bio คือวัตถุดิบในแต่ละอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรค เครื่องสำอาง อาหารเสริม สิ่งทอ โดยเฉพาะ ไบโอพลาสติก ที่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะเป็นผู้นำการผลิตเม็ดพลาสติกอันดับหนึ่งของโลก รวมถึงเรื่อง Bio Chemical, Biofertilizer, Plant based สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบ สามารถยกระดับรายได้ของประเทศ และกลายเป็น Big Change ของประเทศไทยได้อย่างแน่นอน

 

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับ Competitiveness

เนื่องจากขีดความสามารถในการแข่งขัน จะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงศักยภาพของประเทศ ทั้งการจัดการทรัพยากร ความสามารถในองค์รวม ทั้งพื้นฐาน ภาครัฐ ภาคเอกชน นวัตกรรมและความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ  คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานกรรมการหลักสูตร TEN X รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP เห็นว่า หากเราต้องการที่จะแซงหน้าคู่แข่ง การทำให้ตัวเองเก่งขึ้นไม่พอ แต่ต้องเร็วขึ้นด้วย เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

 

คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานกรรมการหลักสูตร TEN X รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

 

ความสำเร็จของธุรกิจในโลกปัจจุบันไม่ได้การันตีว่าเราจะได้เปรียบเช่นนี้ตลอดไป แม้วันนี้เราจะสร้างนวัตกรรมใหม่ที่สุดขึ้นมา หรือเป็นผู้ครอง Market Share อยู่ แต่สิ่งไหนที่ทำแล้วดี คนก็จะทำตาม และกลายเป็น Red Ocean เพราะยุคนี้ทุกคนต่างไม่หยุดนิ่ง อีกทั้งนอกจากคู่แข่งที่พัฒนาตัวเองตลอดเวลาแล้ว ลูกค้าเองก็มีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเช่นกัน สิ่งที่เคยตอบโจทย์อาจจะไม่ตอบโจทย์อีกต่อไปหากเราไม่มีการเปลี่ยนแปลงและติดกรอบความสำเร็จแบบเดิม ๆ เราจะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับโลกอนาคต เพื่อปรับตัวต่อสถานการณ์ใหม่ ๆ ในทุกสภาวะเศรษฐกิจโลก สามารถสร้างคุณค่าเหนือกว่าคู่แข่งได้ในระยะยาว

 

Digital VS Culture

เป็นสิ่งที่แน่นอนว่า Digital คือสมรรถนะหลักในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และภาครัฐเองก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ในมุมมองของ ดร.ชัยพัชร์ เลิศรักษ์ทวีกุล ผู้อำนวยการหลักสูตร TEN X และ CEO DeOne Academy มองว่าทั้งสองเป็นสิ่งที่ต้องทำและไม่สามารถทำเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อีกทั้งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างพื้นฐาน Culture หรือ Core Value ขององค์กร ให้แข็งแกร่งเสียก่อน เพราะจะเป็นพื้นฐานที่จะทำให้ Transformation ทุกเรื่องเกิดขึ้นได้จริง

 

ดร.ชัยพัชร์ เลิศรักษ์ทวีกุล ผู้อำนวยการหลักสูตร TEN X และ CEO DeOne Academy

 

หลายองค์กรเร่งเดินหน้าทำ Transformation มากขึ้นในช่วงวิกฤติ COVID แต่มุ่งเน้นไปที่เรื่องของเทคโนโลยีหรือเครื่องมือ ในขณะที่คนในองค์กรยังไม่พร้อมรับ ทำให้การทำ Transformation ไม่คล่องตัวหรือไม่สามารถผลักดันให้ใช้ได้จริงในองค์กร ถึงแม้ว่าการสร้าง Culture เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน แต่หากทำได้จะทำให้การทำ Transformation ด้านอื่น ๆ เป็นไปอย่างมั่นคงและใช้ได้จริงในระยะยาวแน่นอน

 

ผู้นำต้องผลักดัน Transformation

ผู้บริหารเป็นส่วนสำคัญในการที่จะผลักดัน Transformation ให้เกิดขึ้นในองค์กร ผู้บริหารยุคใหม่ที่จะสามารถนำพาองค์กรผ่านยุค Disruption และทำให้องค์กรเติบโตได้ ต้องเป็นผู้ที่สามารถกำหนดวิสัยทัศน์ วางกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร เพื่อเปลี่ยนทิศทางขององค์กรไปสู่อนาคตที่ดีกว่าได้

เชื่อว่าผู้บริหารส่วนใหญ่เข้าใจอยู่แล้วว่าการทำ Transformation เป็นเรื่องสำคัญ แต่เส้นทางที่จะทำให้ผู้บริหารเหล่านี้ผลักดันให้เกิด Transformation ในองค์กรได้ในการทำงานในโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จะต้องมีพื้นฐานความรู้ใหม่ ๆ ที่จะช่วยในการต่อยอดไอเดียและขยายกรอบความคิดให้มากกว่าการทำธุรกิจในสูตรสำเร็จแบบเดิม การเข้าหลักสูตรที่มี Workshop อย่างหลักสูตร TEN X ก็อาจจะเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ผู้บริหารตระหนักรู้ได้

 

TEN X (Transformational Executive Network for Exponential Growth) หลักสูตรเครือข่ายผู้บริหารด้านการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด

TEN X คือหลักสูตรที่เชิญผู้บริหารแถวหน้าของประเทศไทยทั้งภาครัฐและเอกชนมาแชร์ประสบการณ์ในการทำ Transformation โดยผู้เข้าอบรมจะเป็นเหล่าผู้บริหารยุคใหม่ (Change Leader) หรือผู้ที่มีบทบาทในการทำ Transformation ที่มารวมกันเพื่อให้เกิด Community ที่จะมาแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น

เน้นการลงมือทำจาก Project Assignment ทำให้เกิดการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในแต่ละองค์กร ประกอบด้วย 4 Module หลัก ได้แก่ Mega Trends & Global Forces, Business & Digital Transformation, People & Culture Transformation และ Leadership & BCG Economy Model Transformation

ในรุ่นที่ 1 ประสบความสำเร็จไปอย่างสวยงาม เกิดการบอกต่อปากต่อปาก ได้รับการตอบรับที่ดีจากทั้งองค์กรขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมถึงธุรกิจในต่างจังหวัดและองค์กรภาครัฐ โดยในรุ่นที่ 2 ก็ได้เปิดรับสมัครอย่างเป็นทางการแล้ว ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 มีนาคม 2566

การทำ Transformation คือกระบวนการที่ไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดที่โลกยังไม่หยุดหมุนองค์กรก็ต้องปรับตัวไปเรื่อย ๆ ซึ่งแต่ละองค์กรก็มีอุปสรรคและความท้าทายที่แตกต่างกัน และไม่มีสูตรสำเร็จในการแก้โจทย์ การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้บริหารที่เก่ง นำมุมมองเหล่านั้นและนำมาประยุกต์ใช้ ปรับตัวอย่างไม่หยุดนิ่ง จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การทำ Transformation ประสบความสำเร็จได้ในที่สุด

 

 

 


  • 31
  •  
  •  
  •  
  •