SMEs ปรับตัวอย่างไร ถ้าไทยต้องมี ‘ภาษีคาร์บอน’ มองผ่านเลนส์ “ดร.เอกนิติ” อธิบดีกรมสรรพสามิต

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ปฏิเสธไม่ได้อีกต่อไปแล้วว่า นโยบาย Sustainability หรือ ESG เป็นเรื่องไกลตัวหรือไม่ได้สร้างผลตอบแทนทางธุรกิจเลย จริงหรือไม่? วันนี้ฟังกับจากตัวจริงของคนที่คอยเก็บรายได้จากเรากันดีกว่า ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ซึ่งท่านชี้ให้เราเห็นเลยว่า แท้จริงแล้ว การวางแผนเรื่อง Sustainability หรือ ESG สำคัญและดีต่อธุรกิจของคุณอย่างไร

 

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวบนเวที “SMEs Carbon Tax Roadmap เฟรมเวิร์กปรับตัวภาษีคาร์บอนฉบับ SMEs ในงาน The Secret Sauce Summit 2024: Winning the New Wave เกมธุรกิจชนะโลกใหม่ ซึ่งเราขอสรุปใจความสำคัญไว้ดังนี้

ภาพรวมภาษีคาร์บอนในต่างประเทศ

ดร.เอกนิติ เริ่มต้นฉายภาพให้เห็นว่าโลกให้ความสำคัญเรื่อง ESG ในมุมของการเก็บภาษีกันอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย ก็มีการเก็บภาษีภาคธุรกิจกันแล้ว รัฐบาลหลายประเทศกำหนดให้เป็นภาคบังคับ เนื่องจากปัญหาโลกร้อน ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน

นอกจากนี้ ที่ต่างประเทศยังมีเรื่องของการเสียค่าปรับกรณีที่ปล่อยเกินกำหนด ซึ่งกรณีที่เกินกว่ากำหนด เช่น เกินมา 200,000 คาร์บอน ก็ต้องไปซื้อcertificate จากโรงงานที่ถูกปล่อยตรงได้ถูกต้องมา เช่นซื้อมา 800,000 คาร์บอน ตรงนี้เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” ดังนั้น ใครทำดีก็ยังเป็นโอกาสในการขายเครดิตคาร์บอนได้อีก รวมถึงมีตลาดเทรดคาร์บอนเครดิตด้วย นี่คือสิ่งที่ต่างประเทศดำเนินการกันอยู่

“ตอนนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศเขาจะกำหนดให้บริษัทที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ของเขาต้องส่งรายงานคาร์บอนมาให้บริษัทด้วย เพราะต้องรายงานเรื่องการปล่อยคาร์บอนให้กับรัฐบาล ดังนั้น ธุรกิจที่อยากทำงานกับบริษัทต่างชาติก็ต้องทำตรงนี้เช่นกัน ถือเป็นโอกาสที่ด ที่ถ้าใครอยากจะทำธุรกิจในต่างประเทศบริษัทไหนเริ่มก่อนก็มีสิทธิดีลงานระดับอินเตอร์ได้เลย”

ภาษีคาร์บอนกับประเทศไืทย

สำหรับประเทศไทย ตอนนี้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจำอยู่ที่ 372 ล้านตันคาร์บอน และทำการส่งรายงานให้ UNFCC (United Nations Framework Convention on Climate Change) โดย หรือประมาณ 69.9%  หรือ 70% มาจากภาคพลังงาน และภาคการขนส่ง โดยไทยประกาศว่าใน 6 ปีข้างหน้า (ปี 2030) เราจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 30-40% ซึ่งจะต้องมีการลดภาษีให้กับผู้ที่ทำการลดคาร์บอนได้ แต่ถ้าใครปล่อยคาร์บอนก็อาจจะถูกเก็บภาษีแพง

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยเรายังไม่มีในส่วนที่เป็นภาคบังคับ ทั้งการกำหนดการปล่อยคาร์บอนหรือการเก็บภาษีคาร์บอน แต่เรามีสิ่งที่เรียกว่า “ภาคสมัครใจ” คือใครอยากทําลดโลกร้อนก็ประกาศออกมาว่าจะเข้าสู่ Net zero ในปีอะไร เช่นปี 2023 ตรงจุดนี้ก็เห็นหลายบริษัทประกาศกันออกมามากแล้ว รวมถึงบริษัทที่จะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ด้วย

ถึงแม้ว่าไทยยังไม่มีภาคบังคับออกมา หรือยังไม่ได้มีการเก็บภาษีคาร์บอน แต่ว่าไม่ช้ามันอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าภาคธุรกิจหรือ SME ได้เตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อน หรือทำก่อนที่จะมีการประกาศมา ถึงเวลานั้นจะทำให้เราเป็นผู้นำได้ หรืออาจจะไปไกลถึงขั้นขายคาร์บอนเครดิตได้ด้วย

 

การปรับตัวของ SME ไทย

ดร.เอกนิติ ย้ำกันอีกครั้งว่า ภาษีคาร์บอน กลไกราคาคาร์บอน และภาคบังคับการลดคาร์บอน ยังไงก็ต้องเกิดแน่นอน เพราะเป็นกติกาโลก และไม่ใช่แค่มาแน่แต่มาเร็วด้วย ดังนั้น SME จะปรับตัวได้อย่างไร

สิ่งแรกที่สำคัญเลยคือการ เซ็ตกลยุทธ์หรือเป้าหมายการทำธุรกิจใหม่ ให้มีความชัดเจนเรื่องของ ESG และการลดคาร์บอนให้ได้ โดยให้มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนา

รวมไปถึงการปรับที่สำคัญที่สุดและจำเป็นอย่างยิ่งเลยก็คือ ปรับ Mindset โดยต้องคิดใหม่เลยว่า “การคํานึงถึงโลกร้อน ถึงสีเขียว มันคนละเรื่องกับเศรษฐกิจ คนละเรื่องกับการเงิน  ต้องห้ามคิดเลยว่าทุกวันเนี้ยยังขายของไม่ได้เลย อย่ามาให้ฉันต้องมาทํากรีนเลย แค่คิดแบบนี้ก็ผิดแล้ว แต่ต้องคิดว่ามันเป็นสิ่งเดียวกัน แล้วมันจะเปิดโอกาสบางอย่างให้กับเรา”

สร้างโอกาสให้ธุรกิจ SME ได้อย่างไร

#โอกาสทางการเงิน

ถ้าวางยุทธศาสตร์การทำธุรกิจโดยคำนึงด้านสิ่งแวดล้อมไว้ จะช่วยในการ 1) ลดต้นทุน และ 2) สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น

  • ช่วยลดต้นทุน โดยเปลี่ยนพลังงานจากช้ำมันมาใช้พลังงานทดแทน
  • ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อให้ง่ายขึ้นรวมถึงดอกเบี้ยจะถูกลงด้วย อาทิ สินเชื่อสีเขียว กรีนบอนด์ ธนบัตรสีเขียว หุ้นเขียว ฯลฯ

#โอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า

สร้างโอกาสการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค่ประเภทที่แคร์เรื่องสิ่งแวดล้อม

 

“สุดท้าย SME เริ่มเลยนะครับ เริ่มตั้งแต่วันนี้ ถ้ายังไม่เริ่ม อาจจะไม่มีโอกาสเลยก็ได้”

 


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!