คำๆ นี้ยังใช้ได้เสมอ “คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก” เพราะว่าแม้แต่การซื้ออาหารทะเลทางออนไลน์ ประเทศไทยก็ติด ranking ของโลกมาเป็นอันดับ 2 ตามหลังแค่ประเทศจีน อยู่ที่ 28% โดยเฉลี่ย ตามข้อมูลเปิดเผยของสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC)
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลอื่นที่น่าสนใจจากการสำรวจเทรนด์ด้านอาหารทะเลของผู้บริโภคในปี 2564 เช่น คนไทยซื้ออาหารทะเลบ่อยถึงบ่อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในโลก ซึ่งก็ครองอันดับ 2 จากทั้งหมด 20 ประเทศทั่วโลก อีกทั้งการบริโภคอาหารทะเลทางออนไลน์สูงกว่าคนในประเทศนอร์เวย์ด้วยซ้ำไป หรือแม้แต่ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา ที่อยู่เป็นอันดับ 11 ของ ranking นี้ทั้งๆ ที่จำนวนผู้บริโภคมากกว่าไทยหลายเท่า
ส่วนหนึ่งก็เพราะว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยที่ยังไม่ค่อยดีนัก บวกกับมาตรการล็อกดาวน์ และยังไม่อนุญาตให้นั่งทานในร้านอาหาร ปัจจัยหลายอย่างมีส่วนไปกระตุ้นให้การช้อปปิ้งอาหารทะเลของคนไทยพุ่งสูงขึ้น ทั้งวัตถุดิบสด และอาหารแบบพร้อมทาน (Ready to eat)
ทั้งนี้ คุณอัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ได้เล่าว่า เทรนด์การซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งในช่องทางออนไลน์ และแพลตฟอร์มควิกคอมเมิร์ซอย่าง เดลิเวอรี่ ก็ได้รับความนิยมสูงขึ้น ทำให้ตัวเลขการนำเข้าอาหารทะเลจากประเทศนอร์เวย์มายังประเทศไทยมีมูลค่าสูงขึ้นกว่า 21% ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เทียบกับมูลค่าการส่งออกอาหารทะเลนอร์เวย์ทั่วโลกที่ขยายตัว 9%
“ปี 2564 ถือว่าเป็นปีที่แซลมอนจากนอร์เวย์สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในประเทศไทย ท่ามกลางสถานการณ์ล็อกดาวน์ ผู้บริโภคมีความต้องการและการบริโภคที่สูงขึ้น จนถึงเดือน ก.ค. ประเทศไทยได้นำเข้าแซลมอนจากนอร์เวย์มากกว่า 10,000 ตัน โดยประมาณ 93% เป็นแซลมอนสด ซึ่งนับเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้น 43%”
“สำหรับนอร์วีเจียนซาบะ หรือ ปลาแมคเคอเรล ถือว่ามีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา และกำลังจะเข้าสู่ช่วงเวลาจับปลาที่เหมาะสมที่สุดในนอร์เวย์ (ประมาณเดือน ก.ย.) ดังนั้น คาดว่าจะมีปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นในปลายปีนี้แน่นอน”
กลยุทธ์ collaboration นอร์เวย์ร่วมมือกับ 2 แบรนด์ในไทย
ฤดูกาลการจับปลาแมคเคอเรลที่ใกล้จะถึง บวกกับอุณหภูมิความต้องการแซลมอนในไทยที่สูงขึ้นมาก NSC ของนอร์เวย์จึงได้ร่วมมือกับ ‘เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล’ และ ‘ธรรมชาติ ซีฟู้ด’ ภายใต้แคมเปญ Taste From Norway, to Your Home ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. ถึง 10 ก.ย. 2564 นี้
หากซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลจากนอร์เวย์ตั้งแต่ 399 บาทขึ้นไปต่อหนึ่งใบเสร็จ จะสามารถนำมาแลก ผ้าอเนกประสงค์ (มูลค่า 99 บาท) หรือแลกกระเป๋าเก็บความเย็น (มูลค่า 250 บาท) ได้ทันที เมื่อซื้อสินค้าตั้งแต่ 600 บาทขึ้นไป ที่ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือจะผ่านเว็บไซต์, แอปพลิเคชัน Tops Online และช่องทางควิกคอมเมิร์ซอย่าง GrabMart ก็ได้เหมือนกัน
โดยมูฟเมนต์หลักๆ ที่เราจะเห็นก็คือ การโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์, สื่อออนไลน์ หรือ กิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่างๆ ที่ยิ่งใหญ่กว่าที่เคยทำมาในตลาดไทย แต่ที่น่าสนใจคือ นอร์เวย์ จะสร้างการรับรู้ของผู้บริโภคผ่านการแสดงสัญลักษณ์ นั่นก็คือ เครื่องหมาย SEAFOOD FROM NORWAY ซึ่งเป็นสัญลักษณ์รับรองที่มา และคุณภาพของอาหารทะเลนอร์เวย์
ทำไมถึงน่าสนใจ? หากเราเข้าใจ circle ของดีมานด์ผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน เราจะรู้ว่าทำไมการตลาดเชิงสัญลักษณ์แบบนี้ถึงสำคัญ นั่นเพราะว่า กลุ่มผู้บริโภคในยุคใหม่ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการรู้ที่มาที่ไปของวัตถุดิบ นอกจากนั้น กระบวนการในการผลิตของวัตถุดิบจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่ง NSC สามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ว่าการทำการประมงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การันตีด้วยการเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารทะเลเบอร์ต้นๆ ของโลกมานาน
ทั้งนี้ ในฝั่งของ ‘เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล’ ได้พูดถึงสัดส่วนของการบริโภคระหว่างของสด กับพร้อมปรุงมีความน่าสนใจในตลาดไทย โดยอาหารพร้อมปรุงความต้องการสูงขึ้นเห็นได้ชัดในช่วงที่มีการแพร่ระบาด สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันมองหาทางเลือกของอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างลูกค้าในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด พบว่าลูกค้าในกรุงเทพฯ มีการบริโภคอาหารทะเลสดสูงขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้น มองว่ากอนหน้านี้ตลาดในต่างจังหวัดอาจมีการทำโปรโมชั่น หรือการสื่อสารที่ไม่มากเพียงพอ ซึ่งการร่วมโปรโมชั่นในแคมเปญนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะโปรโมต และสร้างการรับรู้ได้อย่างทั่วถึงด้วย
ขณะที่ฝั่งของ ‘ธรรมชาติ ซีฟู้ด’ ได้แชร์เกี่ยวกับเทรนด์การบริโภคว่า ที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดแต่อาหารทะเลในตลาดไทยยังเติบโตน่าสนใจเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารนานาชาติ หรือแม้แต่อาหารตามเทศกาลวันสำคัญ เช่น เค้กซูชิ, พวงมาลัยแซลมอน-ซูชิ ที่ได้รับความนิยมมาก
หากเราหยุดโฟกัสไปที่อาหารทะเลจากนอร์เวย์ หรือการ collaboration ระหว่าง 3 ยักษ์ใหญ่ สิ่งหนึ่งที่ปรับโฟกัสแล้วมันชัดมากๆ คือ การบริโภคอาหารทะเลที่มาแรงในตลาดไทย ด้วยจำนวนประชากร 69.63 ล้าน (ปี 2562) แต่เราติดเป็นอันดับ 2 ของโลกในการช้อปปิ้งออนไลน์อาหารทะเลมากที่สุด ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคตรงนี้น่าสนใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้ในแง่ธุรกิจ เพราะถึงแม้ว่าสถานการณ์ COVID-19 อาจจะดีขึ้นกว่านี้ แต่วัฒนธรรมการซื้อของทางออนไลน์จะไม่หมดไป
ยิ่ง NSC ของนอร์เวย์ ได้จับมือกับพันธมิตรร้านอาหารในไทยอีก 10 ร้านในมูฟเมนต์ล่าสุดนี้ด้วย เพื่อนำเข้าอาหารทะเลคุณภาพสูงจากนอร์เวย์ ผ่านบริการส่งอาหารออนไลน์ Grab Food ยิ่งมั่นใจว่า นอกจากอาหารทะเลที่เติบโตมากๆ ช้อปปิ้งออนไลน์ก็มีอิทธิพลมากเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้เราสามารถปรับกลยุทธ์ให้รู้ทันผู้บริโภคได้
ข้อมูลโดย งานแถลงข่าวสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC)