[ข่าวประชาสัมพันธ์]
ในยุคที่ Entertainment + Experience + Data รวมกันแล้วเกิดความกลมกล่อมบางอย่างแน่นอนว่า Entertainment อยู่คู่กับมนุษยชาติมาช้านาน เป็นสิ่งเดียวที่ผูกคนทุกรุ่นเข้าด้วยกัน เป็นสิ่งที่เดียวที่สร้าง Community ได้ไม่ยาก เมื่อ Marketers อยากเริ่มสร้าง Community สิ่งแรกๆ ที่เราให้ความสำคัญคือ Entertainment ในรูปแบบของเพลง MV คอนเสิร์ต อาจจะเป็นตัวเลือกแรกๆ สุด เพราะใครๆ ก็คิดว่า “ทำคอนเสิร์ตแหละ เดี๋ยวคนก็มาสร้าง Community กันเอง” ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน หลังภาวะโควิด ตลาด Entertainment คอนเสิร์ตก็กลับมาคึกคัก เราจะเห็นได้จาก การไม่พักของนักร้อง ศิลปิน ค่ายเพลง ในการขึ้นคอนเสิร์ตที่คิวคอนเสิร์ตมีทุกอาทิตย์ และศิลปินไม่มีวันหยุดพักผ่อน และแน่นอนการแข่งขัน จึงเกิดขึ้น เมื่อกำลังซื้อมีอยู่อย่างจำกัด การตัดสินใจเลือกไปทุกคอน จึงเกิดขึ้นได้ยาก แล้วคอนไหนล่ะ ที่เราจะไป ดังนั้นการ Elevate หรือยกระดับ Entertainment ให้กลายเป็น Branding จนสามารถสร้างความ สัมพันธ์ระยะยาว และสุดท้ายกลายเป็น Sub-culture ที่แปลกใหม่ หาจากที่อื่นไม่ได้ น่าจะเป็นการสร้าง Entertainment ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้คอนเสิร์ตนอกจากจะสร้างความรู้สึกร่วม ณ ขณะนั้นแล้วยัง สามารถทิ้งความรู้สึกร่วมให้ยังอยู่ในใจของผู้ไปได้อีกด้วย สิ่งนี้คือการสร้าง Relationship ที่ยาวมากขึ้น ไม่ใช่แค่ในงาน และที่สำคัญถ้างานนั้นสามารถ สร้าง Sub-culture ใหม่ๆ ให้คนได้ติดตาม ต่อยอด และเกิด Platform ใหม่ๆ ขึ้นจาก Sub-culture มันก็น่าจะดีไม่น้อย
Entertainment ให้ความรู้สึกร่วม + Relationship = เพื่อสร้าง sub-culture ใหม่ๆ พล หุยประเสริฐ เชื่อว่า มิติใหม่ของงานคอน อาจจะเปลี่ยนไป “ผมว่าคนเรามางาน Music festival หรือ Concert เขาไม่ได้ มาเพื่อฟังเพลงอย่างดียว มันมีมุมที่กว้างกว่านั้นซึ่งมันคือ Total Experience ของการชมงานศิลปะ วงเดียว กันเพลงเดียวกัน แต่ฟังจากคนละงาน ก็รู้สึกต่างกัน นะผมเชื่อแบบนั้น ผมเลยคิดว่าการได้มีโอกาสรวมกลุ่ม คนที่มีความชอบเดียวกัน เราควรใช้โอกาสนี้สร้างประสบการณ์แบบใหม่แบบมีเอกลักษณ์ให้กับกลุ่มคนเหล่า นั้น” คุณพล หุยประเสริฐ Experience Designer จากบริษัท H.U.I กล่าว พร้อมกับอธิบายคอนเซปต์ ของงาน คอนในรูปแบบใหม่ “ผมคิดว่าการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆที่มีเอกลักษณ์มันคือการสร้าง Culture ใหม่ๆ ให้กลุ่มที่มีความชื่นชอบเดียวกัน มันเหมือนการสร้างแบรนด์แบรนด์หนึ่งให้กับคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งผมก็หวังว่า เมื่อมันผล มันจะขยายไปเป็น Sub -Culture ได้ในอนาคต อย่างงานที่ชื่อ Colorist มันคือการรวมเอากลุ่มคน ที่มีความชอบแบบ Art & Music ที่ไม่ลึกจนเกินไป เข้าถึงไม่ได้มารวมกัน โดยใช้สีมาเป็นตัวเชื่อมโยงทุกสิ่ง เข้าด้วยกัน เพราะสีจริงๆ มันมีความแตกต่างกันในรายละเอียดมากนะครับ เหมือนคนที่หน้าตาคล้ายกันนะ แต่เอาจริงๆ ก็ไม่เหมือนกันอยู่ดี ทุกคนมี DNA เป็นของตัวเอง และ สียังสามารถบ่งบอก Charecter ของมัน ได้เช่น สีร้อน,สีเย็น,สี Pastel,สี Vivid ผมว่าสีมันสามารถเชื่อมโยงไปได้ถึงคนอีกหลายๆ กลุ่มและผมว่ามันเข้า ใจง่าย กลุ่มคนที่ผมสนใจ คือ คนที่สนใจเรื่องศิลปะ และดนตรี ก็คือมีความอินดี้ที่ยัง Pop อยู่ คนกลุ่มอะไรประมาณนี้ จะเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับดีเทลของสี เช่นเดี๋ยวนี้จะได้ยินคำว่า Salmon Pink,Flamingo Pink อะไรพวกนี้ คือคนเหล่านี้เขาไม่ได้เห็นสีชมพูเป็นแค่ชมพู เขาเห็นในรายละเอียดของสี แต่ละอันว่ามันต่างกัน การจับคู่แบบไหนจะสวยอะไรทำนองนั้น ผมมองว่าคอนเซปนี้มันอ้างอิงไปถึงสิ่งต่างหรือสินค้าต่างๆ ได้ง่าย ด้วย คือมันเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย ผมเลยสนใจจะนำเรื่องนี้มาเป็นแกนหลักในการสร้าง Culture ให้กับ Community แบบยาวๆ เพื่อให้กลุ่มคนนี้มันขยายตัว ให้เป็น Brand Platform ที่จะรวมเอาคนชอบอินดี้ Pop จนเป็น Sub-culture ให้ได้ ซึ่งผมมองไปไกลถึงทุกมิติของการทำงานสำหรับคนกลุ่มนี้ไม่ว่าจะเป็น Exhibition หรือ Market แต่จุดเริ่มต้นในการรวม Community ก็คือใช้เพลงเป็นตัวนำ ผมเลยชวนเพื่อนสนิทอีกคนมา ร่วมเปิด Project นี้ไปด้วยกันก่อน ซึ่งก็คือค่ายเพลง What The Duck ซึ่งเป็นตัวพ่อของค่ายเพลงแบบ Indy และ pop”
อีกหนึ่งพาร์ทเนอร์ที่จับมือร่วมกันสร้าง Sub-culture ใหม่ๆ คงหนีไม่พ้นค่ายเพลง What The Duck ค่ายเพลงของคนรุ่นใหม่ที่พยายามทำในสิ่งที่แตกต่าง และกล้าลองอะไรใหม่ ๆ อยู่ตลอด “เราในฐานะค่าย เพลง ที่ทำงานร่วมกับศิลปินและเพลงมาโดยตลอด เชื่อว่า ดนตรีไม่ใช่แค่ดนตรี แต่เราเชื่อมาโดยตลอดว่า ดนตรีสามารถเป็น Lifestyle เป็น Experience เป็น Data เป็น Culture อะไรบางอย่างที่สามารถเชื่อมโยงคน ที่ไม่รู้จักกันให้มาสนุกร่วมกันได้ ซึ่งศิลปินส่วนใหญ่ ก็มีสีเป็นของตัวเอง ที่สามารถสื่อสารกับคนฟัง จนสามารถ สร้าง Community แฟนเพลงขึ้นมาได้ จุดนี้เองเราเลยเห็นว่า ดนตรีกับสี หรือ ดนตรีกับศิลปะ สามารถเชื่อม ต่อ และสะท้อนตัวตนของศิลปินและแฟนเพลงได้ ผมเลยอยากทำคอนเสิร์ตรูปแบบใหม่ร่วมกับ H.U.I และ CJWORX เพื่อสร้าง Sub-culture นี้ให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งไม่เพียงแค่ Colorists Music Festival ที่เราจะทำ ผมคิด ว่า ดนตรีกับสี ก็สามารถต่อยอดเป็นสิ่งใหม่ให้ทุกคนได้ฟังได้ชม ภายใต้ Branding Colorists กันอีกแน่นอน ” คุณมอย สามขวัญ ตันสมพงษ์ Managing Directer ค่ายเพลง What The Duck กล่าว
Experience ให้ Voluntary Interaction + Data ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิด Memorable moment “การเติบโตในตลาด Experience มันเปลี่ยนแปลงไปตลอดนะ ผมคือคนที่อยู่ในตลาดนี้มานาน เห็นความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ Installation Art แบบ Analog เลย จนไปถึง Installation ที่ Interaction ได้ แล้วมาคิดว่า ยุคต่อไป ที่ Experience หรือ Installation จะเป็นมันคืออะไร” พี่พล Founder บริษัท H.U.I เจ้าพ่อแห่งวงการ Production คอนเสิร์ตใหญ่ๆ หรือ Experience ใหม่ๆ ในประเทศ กล่าว “เวลานี้เป็น เวลาที่คนกลุ่มนี้เขาเข้าใจเรื่อง Technology มากเพียงพอแล้ว ทุกวันนี้ที่คนเข้าไปในงาน Experience แล้วยอม Scan นั่นนี่ เพื่อส่องแล้วเห็นอะไร หรือ Scan เพื่อเห็นสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น อะไรพวกนี้ มันคือ Voluntary Interaction เขา Interact กับงานด้วยความเต็มใจมากๆ นี่แหละ ที่ผมมองเห็นการ Engage ในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งถ้าเขา Engage กับเราขนาดนี้ เราควรจะให้ประโยชน์กับเขามากกว่าการแค่ได้ Engage ผมเชื่อว่าเราควรให้ความรู้ใหม่ๆ Inspiration ใหม่ๆ ข้อคิดใหม่ๆ หรือ การเปลี่ยนแปลงความคิดของเขาไปในทางที่ดีขึ้น จากการมามี Participation กับงานของเรา แล้วในขณะเดียวกัน เราก็ได้ Signal ที่เป็น Interest หรือ Behaviour ของเขา เพื่อให้เราได้นำมาคิดงานต่อ หรือ เพิ่ม Memorable Moment ให้คน ที่มาร่วมงานขึ้นไปอีก เพราะเรารู้ว่าเขาชอบอะไร” พี่พลเชื่อว่า การสร้าง Experience ที่ดีต้องสามารถทำ ให้คนจดจำ ไม่ใช่แค่ในงาน แต่หลังจากมางาน Experience นั้นยังคงสามารถไปต่อได้อีก
“Colorist คือ Experiment ของการสร้าง Sub-Culture ของผม ที่ผมเชื่อว่า ถ้าเรามีแนวความคิด ของการใช้สี จะสามารถเล่าผ่านมุมมองที่หลากหลายได้ บางคนมองสีเป็นเพลง ผมเลยจัด Experience ของเพลงและสีขึ้นมา ซึ่งใน Colorist ปีที่แล้ว ทุกคนก็เห็นเวทีที่มีสีเป็นตัวกำหนด Mood ปีนี้ ผมก็เอาสีออก มาทำสิ่งต่างๆ ที่สร้าง Interaction มากขึ้น อยากให้รอติดตามปีนี้ครับ ว่า สีในมุมมองของพวกเรา ออกมา เป็นอะไรได้บ้าง”
“Data from the power of fandom” พลังงานของ data ในอาณาจักรท่ีสร้างมาด้วยความรัก อารมณ์ร่วม กิจกรรมร่วม และความเต็มที่ในการซัพอร์ตศิลปิน หลายคนให้ความสำคัญกับชนิดของ Data แตกต่างกัน บางคนคิดว่า Transational Data สำคัญที่สุดเพราะทราบความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย บางคนคิดว่า Behavioural Data สำคัญกว่า เพราะทราบพฤติกรรม การจะล่วงรู้ถึงดาต้าในชนิดต่างๆ ต้องวางแผนในการสร้าง Platform หรือ Point of Interaction เพื่อให้ดาต้าที่ได้มา “Truthful” และ “Accurate” ที่สุด แต่ถ้าในมุมมองของดาต้าที่ได้มาจาก ความรักในตัวศิลปินแล้ว เราเชื่อว่า แฟนคลับ ยินดีที่จะ “Contribute Data” อย่างไม่มีเงื่อนไข “ในกรณีตัวอย่างจาก Colorist เราได้สร้างเงื่อนไขให้การ Contribute Data แสดงถึงความเหมือนกันในเรื่อง Personality เพราะเราเชื่อว่า สีสามารถบ่งบอกถึง บุคลิกภาพได้ หรือ ในมุมของ Experience สี สามารถบอกถึงอารมณ์คนดู และคนฟังเพลงได้ นั่นย่อมหมาย ความว่า ผู้เข้าร่วมยินดีที่จะ Contribute data เพื่อไม่ใช่แค่มี Engagement กับศิลปินที่เขาชื่นชอบ แต่เขายังสามารถค้นพบตัวตนใหม่ๆ ของเขาได้ด้วย และนี่คือสิ่งที่ Data และ Experience ควรจะให้ตอบแทน กับผู้เข้าร่วมงาน” ดร.พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ Founder ของ The Red Carbon อธิบายว่า “Data ควรจะมีความหมายกับการทำ Experiece หรือ Entertainement 3 มุมมองด้วยกัน มุมมองแรกคือ “Fan Creation” Data ควรมีความสามารถที่ทำให้ความรักความชื่นชอบในตัวศิลปิน สามารถสร้างสรรค์สิ่ง ที่เปลี่ยนเป็นมูลค่าและเป็นเงินได้ นอกจากนี้ ความรักในตัวศิลปินควรจะทำให้เกิด Brandom ต่อได้อีก เพราะ brand จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบ Fandom และสุดท้ายเมื่อมีการสร้างมูลค่าจากทั้งศิลปิน Fan และ Brand แล้ว จะทำให้เกิด “Fan Economy” อย่างเต็มรูปแบบขึ้น “CJWORX GROUP จึงร่วมกับ ค่ายเพลง What the Duck และ H.U.I เพื่อยกระดับ Entertainment และ Experience ให้สามารถสร้าง Long-term Relationship สร้าง Brand Platform ตลอดจนสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้กับ Entertainment เพราะเราเชื่อว่า Data คือ Propeller สำคัญในการทำความรู้จัก ในการหา Insights ที่เป็นเรื่องจริง และที่สำคัญ Data เปิดโอกาสให้เราได้ค้นพบสิ่งที่เราอาจจะไม่ทราบมาก่อน และนี่คือ Experience ใหม่ๆ ที่เราอยากสร้าง ให้วงการ” ชวนา กีรติยุตอมรกุล Managing Director ของ CJWORX Group กล่าว
[ข่าวประชาสัมพันธ์]