สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือThe Digital Advertising Association of Thailand (DAAT) ร่วมกับ 38 เอเจนซีพันธมิตร และ คันทาร์ (ประเทศไทย) จํากัด นําเสนอผลสํารวจมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาบนสื่อดิจิทัลประจําปี 2563 รวมถึงคาดการณ์การใช้เงินโฆษณาใน 57 ประเภทอุตสาหกรรม และ 16 ประเภทสื่อดิจิทัลสําหรับปี 2564
ภาพรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาดิจิทัล จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ ภาพรวมของเม็ดเงินลงทุนบนสื่อดิจิทัล มีการเติบโตอย่างเชื่องช้า ในครึ่งปีแรกของปี 2563 แต่ในครึ่งปีหลังยอดการลงทุนในสื่อดิจิทัล สามารถกลับมาเติบโตได้ โดยเพิ่มขึ้นถึง +8% มีเม็ดเงินอยู่ที่ 21,058 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าตัวเลขที่เคยประมาณการณ์การเติบโตเอาไว้ที่ 0.03% ซึ่งทำการคาดการณ์ไว้เมื่อรอบเสนอผลสำรวจช่วงกลางปี 2563
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 ส่งผลให้ภาพรวมของเม็ดเงินลงทุนบนสื่อดิจิทัล มีการเติบโตอย่างเชื่องช้าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังยอดการลงทุนในสื่อดิจิทัล สามารถกลับมาเติบโตได้ โดยเพิ่มขึ้นถึง 8% ซึ่งมากกว่าตัวเลขประมาณการณ์การเติบโต ของอุตสาหกรรมที่ 0.3%
โดย 5 อันดับอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนบนสูงสุด ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยาน
- อุตสาหกรรมยานยนต์ 2,713 ล้านบาท
- เครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ 1,993 ล้านบาท
- กลุ่มการสื่อสาร 1,979 ล้านบาท
- กลุ่มสกินแคร์ 1,922 ล้านบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม 1,717 ล้านบาท
ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมใน 4 อันดับแรกยังคงครองตำแหน่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่มี การลงทุนในโฆษณาดิจิทัลมากที่สุด โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่กลุ่มธุรกิจธนาคารที่เคยอยู่ในลําดับที่ 5 ในปีก่อนหน้านี้ ได้ถูกแทนที่ โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทําจากนม โดยคาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากการที่ผู้บริโภคยื่นผ่อนผันชำระหนี้เป็นจำนวนมาก แต่ก็เชื่อว่าในปีนี้แบงก์น่าจะกลับมาลงทุนเพิ่มขึ้นได้อีกอย่างแน่นอน เมื่อสถานการณ์ต่างๆ เริ่มดีขึ้น
กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเพิ่มเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัล ได้แก่
- กลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ +36%
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม +41%
ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการลดการใช้เงินบนสื่อดิจิทัล เพราะการเปลี่ยนแปลงของความต้องการและพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค มีดังนี้
- กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ -36%
- กลุ่มธุรกิจธนาคาร -30%
- กลุ่มธุรกิจประกัน -22%
- และกลุ่มผลิตภัณฑ์บํารุงเส้นผม -40%
ทางด้านช่องทางสื่อออนไลน์ Facebook และ YouTube ยังคงเป็นแพลตฟอร์มหลักที่แบรนด์เลือกใช้งานในการสื่อสารกับผู้บริโภค โดยเม็ดเงินบน Facebook, YouTube และ สื่อครีเอทีฟ (Creative) สามารถครองสัดส่วน 60% ของเงินลงทุนในโฆษณาดิจิทัลทั้งหมดในปี 2563 นอกจากนี้ ช่องทางอื่นก็มีการเติบโตเช่นเดียวกัน ได้แก่ Social +28% และ Search +15% ยังเป็นสื่อที่มีการเติบโตในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ไม่นับรวม E-commerce และ TikTok ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มดิจิทัล ใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามาในการสำรวจในปีนี้
สำหรับปี 2564 แม้สถานการณ์โควิด จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในการดำเนินชีวิต การจับจ่ายใช้สอย และการท่องเที่ยว แต่ทาง DAAT มองว่า อุตสาหกรรมโฆษณาดิจิทัลจะยังคงมีการเติบโตในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับปี 2563 ซึ่งก็คือ +8% โดยมีเม็ดเงินอยู่ที่ 22,800 ล้านบาท