เมื่อ Grab มี Grab Ad รูปแบบโฆษณาจะน่าสนใจระดับไหน

  • 171
  •  
  •  
  •  
  •  

เชื่อว่าหลายคนคงมีแอปฯ Grab อยู่บนมือถือกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นหนึ่งใน Super App ที่ตอบโจทย์เดลี่ไลฟ์ของชีวิตผู้คน  ตั้งแต่ตื่นนอน ออกไปทำงาน และกลับบ้าน เรียกได้ว่าผู้ใช้งานสามารถใช้งาน Grab ได้แทบทุกจังหวะชีวิต และถือว่าเป็นแอปฯ ที่ค่อนข้างมีการเติบโตสูงมาก โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา

และจากการเติบโตที่น่าสนใจนี้เอง จึงเป็นโอกาสดีที่แบรนด์และนักการตลาดจะได้ศึกษาว่า Grab มีรูปแบทางการโฆษณาอย่างไรบ้าง และใช้งานแบบไหนถึงจะได้ประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ ดังนั้น บทความนี้เราจะมาชวนเจาะลึกถึงรูปแบบโฆษณา Grab Ad ในทุกๆ มุม เพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้นและนำไปใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด

 

รูปแบบการโฆษณา ของ Grab Ads

สำหรับรูปแบบการโฆษณาบน Grab Ads มีทั้งหมด 4 แบบด้วยกัน ซึ่งเปิดตัวและมีการใช้งานไปทั้งหมดแล้วพร้อมกันทั้ง 8 ประเทศ ได้แก่ เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลลิปปินส์ และไทย แถมแว่วๆ ว่ากำลังจะเตรียมออกอีกหนึ่งรูปแบบใหม่เข้ามาให้ได้ใช้บริการในปีหน้าด้วย แต่เบื้องต้นตอนนี้มี 4 รูปแบบ ซึ่งเราจะมาวิเคราะห์กันในบทความนี้

  1. Masthead Ads
  2. Native Ads
  3. Rewarded Ads
  4. O2O Last mile Ads

1.Masthead Ads

Masthead Ads ที่มีตำแหน่งพื้นที่โฆษณาอยู่ด้านบนสุดของหน้าจอ ซึ่งเชื่อว่าโฆษณารูปแบบนี้หลายคนน่าจะเคยเห็นกันมาบ้างแล้ว เพราะGrab ระบุว่าเป็นรูปแบบโฆษณาที่แบรนด์นิยมเลือกใช้มากที่สุด เพราะผลตอบรับที่ดีตอบโจทย์ในแง่การเน้นสร้าง Awareness มากที่สุด นอกจากนี้ Grab ยังการันตีว่า 100% SOV อีกต่างหาก เพราะไม่ถูกรบกวนจากคอนเทนต์อื่นๆ แตกต่างจากการลงโฆษณากับโซเชียลมีเดียทั่วไป

ทั้งนี้ รูปแบบคอนเทนต์ส่วนใหญ่ที่เหมาะกับการลงใน Masthead Ads ควรเป็น “รูปภาพ” โดยสามารถที่จะใส่ลิงก์ลงไปยังภาพได้เพื่อให้เชื่อมไปยัง Landing Page ที่ต้องการ หรือใส่เพื่อนำไปสู่ Leads ก็ได้

Case Study

สำหรับ Case Study จากต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ เราขอยกตัวอย่าง Lazada จากประเทศอินโดนีเซีย กับแคมเปญ Lazada’s 8th Bday Sale ระหว่างวันที่ 22-23 มีนาคมที่ผ่านมา ผลลัพธ์ที่ได้มีดังนี้

  • Impressions 19 ล้าน
  • คลิกเข้าไปยัง Details Page มากกว่า 3 แสนคลิก
  • Engagement Rate 64%
  • คลิกไปยัง Landing Page 78,136 ครั้ง
  • Overall CTR 39%

2.Native Image Ads

ก่อนจะไปถึงรูปแบบโฆษณาในหัวข้อนี้ ขอแนะนำก่อนว่า Native Ad คืออะไร? สำหรับ Native Ad คือรูปแบบโฆษณาชนิดหนึ่งที่มีการใช้รูปแบบเนื้อหาเดียวกันกับเว็บไซต์หรือแพล็ตฟอร์มที่ไปปรากฏว่า เพื่อทำให้ดูกลมกลืมกับเว็บหรือบนแพล็ตฟอร์มนั้นๆ มากที่สุด

ดังนั้น ในที่นี้สำหรับ Grab Ad ตัว Native Image Ads ก็จะไปปรากฏบนที่พื้นที่หน้าจอเนียนไปกับแคตตากอรี่บริการต่างๆ ของ Grab และเช่นเดียวกันคือ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่สร้าง Awareness ได้ดี เพราะเป็นตำแหน่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน แล้วยังสามารถเลือกให้คลิกไปยัง Landing Page ได้ด้วย

ข้อดีอีกประการของ Native Image Ads ก็คือ ช่วยเพิ่มทราฟฟิคไปยัง Official Website ของแบรนด์ได้ดี ที่สำคัญคือ ช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมการซื้อต่อได้ง่ายขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ที่เข้ามายัง Grab คือคนที่มีความตั้งใจจะใช้จ่ายเงินอยู่แล้ว และการส่งโฆษณาแต่ละชิ้น จะทำบนพื้นฐานความสนใจและพฤติกรรมการซื้อของบุคคลนั้นๆ อยู่แล้ว ดังนั้น จึงเป็นการง่ายต่อผู้บริโภคที่จะใช้จ่ายเงินหากเห็นโฆษณาที่ปรากฏ  ทั้งนี้ รูปแบบของการซื้อ Native Image Ads จะเป็นโมเดลการซื้อในแบบ CPM

Case Studey

สำหรับ Case Study ที่ประสบความสำเร็จ เราขอยกตัวอย่างจาก ธุรกิจ Telco ของอินโดนีเซีย ชื่อว่า Indosat ซึ่งรันแคมเปญระหว่างวันที่ 5 เมษายน – 30 พฤษภาคม รีซัลท์ที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้

  • ได้ Ad views มากกว่า 9 ครั้ง
  • CTR อยู่ที่ 22%
  • มีการคลิกต่อไปยัง official page ของแบรนด์สูงถึง 60,105 ครั้ง

3.Rewarded Native Image / VDO Ads

อธิบายง่ายๆ สำหรับโฆษณารูปแบบนี้ก็คือเมื่อผู้ใช้งานเข้ามายังแอปฯ และเข้ามาเห็นโฆษณาแล้ว จะคลิกกดไปที่รูปภาพ หรือดูคลิปวิดีโอจนจบ ก็จะได้รับแต้มนำไปใช้งานที่ต่อภายในแอปฯ Grab ได้เลย เรียกว่าเป็นโฆษณาที่ให้ประโยชน็ทั้งสองฝ่าย คือทั้งฝรั่งแบรนด์และผู้ใช้งาน โดยโฆษณารูปแบบนี้คิดขึ้นมาจาก Insight ของผู้บริโภคไทยที่ชอบการสะสมแต้ม แล้วนำไปแลกซื้อสินค้าหรือบริการต่อได้ เรียกว่า

โดยรูปแบบของคอนเทต์ที่ใช้ สามารถเป็นได้ทั้งภาพและคลิปวิดีโอ หากเป็นคอนเทนต์วิดีโอ จะสามารถลงได้ตั้งแต่ 15-30 วินาที ทั้งนี้ Grab ให้คำแนะนำว่า หากต้องการผลลัพธ์ที่ดีควรเลือกเป็นคลิปวิดีโอ เพราะผู้ใช้งานจะต้องคลิกเข้าไปชมคลิปจนจบถึงจะเก็บแต้มได้ ดังนั้น หากต้องการสร้างโฆษณาที่สามารถช่วยดันยอดวิวได้ดี การเลือกใช้รูปแบบวิดีโอใน Rewarded Native VDO Ads จะตอบโจทย์มากที่สุด นอกจากนี้ โฆษณาที่ยิงเข้าหาผู้ใช้งานก็จะไม่มีการส่งมาให้ชมซ้ำอีกรอบ ดังนั้น รูปแบบโฆษณานี้จึงเข้าถึงผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมากกว่าและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ สำหรับรูปแบบของการซื้อ Rewarded Native จะเป็นโมเดลการซื้อในแบบ CPM

Case Study

สำหรับ Case Study ที่ประสบความสำเร็จ เป็นเคสจาก PONDS’S ฟิลิปปินส์ วัตถุประสงค์คือต้องการสร้างให้สินค้าเกิดAwareness ในกลุ่มผู้หญิงอายุระหว่าง 18-34 ปี แคมเปญใช้เวลาทั้งหมด 2 เดือน คลิปโฆษณามีความยาว 15 วินาที โดยผู้ที่จะได้รับรีวอร์ดแต้มพ้อยท์นั้นจะต้องรับชมโฆษณาจนจบ ผลที่ได้ปรากฏว่า

  • View-through Rate อยู่ที่ 84%
  • Completion Rate (อัตราการดูวิดีโอจนจบ) 99%

4.O2O Last Mile Ads

สำหรับ O2O Ads อธิบายง่ายๆ เมื่อผู้ใช้เห็นโฆษณาบนหน้าแอปฯ สามารถกดรับรีอวร์ดหรือกดเซฟ เพื่อนำแต้มไปเก็บไว้ยังวอลเล็ต จากนั้นสามารถนำไป Redemption เป็นโฆษณาในรูปแบบที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างออนไลน์ไปออฟไลน์ได้

นอกจากจะเป็นการกดคลิกยังภาพโฆษณาหรือวิดีโอแล้ว ก็อาจจะทำในรูปแบบของ ‘การตอบแบบสอบถาม’ ก็ได้ เมื่อตอบจบแล้วก็จะได้รับคูปองเพื่อนำไปใช้รับสิทธิประโยชน์ที่ร้านค้าได้

สำหรับจุดแตกต่างจาก Rewarded Native Ads ก็คือ ถ้าเป็น Rewarded Native Ads การใช้งานจะจบภายในแอปฯ Grab เป็นการเก็บแต้มเพื่อใช้ในแอปฯ ต่อ แต่สำหรับ O2O Ad รีวอร์ดที่ได้จะพาไปยังหน้าร้านหรือช้อปนั่นเอง

Case Study

ขอยกเคสจากแคมเปญ LANEIGE สิงคโปร์ ช่วงเวลาแคมเปญระหว่าง วันที่ 10-31 กรกฎาคม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้หญิงอายุระหว่าง 18-34 ปี โดยผู้ที่คลิกเข้าไปยังภาพเพื่อรับรีวอร์ดจะได้รับสินค้าตัวอย่างที่ช้อปของแบรนด์ เป็นการไดรฟ์คนจากออนไลน์ไปยังออฟไลน์ นอกจากนี้ ยังมีการ Retargeting ผู้ใช้โดยจะมีการยิงแอดซ้ำสำหรับคนที่กดรับรีวอร์ดอีกด้วย เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ไปแลกรับสินค้าที่หน้าช้อปนั่นเอง สำหรับผลตอบรับที่ได้

  • มีการเซฟภาพไปเพื่อไปรับรีวอร์ด มากกว่า 6,000 ครั้ง
  • มี Redemption Rate สูงถึง 7.2%
  • ยอดการรับชม Ad สูงถึง 6 แสนกว่าครั้ง
  • CTR อยู่ที่ 20%
  • มีการคลิกต่อไปยัง official page ของแบรนด์สูงถึง 8,257 ครั้ง

In-Transit Ads ใหม่ล่าสุด

นอกเหนือจากทั้ง 4 รูปแบบที่กล่าวไปนั้น ก็ยังมีน้องใหม่ล่าสุด ได้แก่ In-Transit Ads เป็นโฆษณาที่ขึ้นระหว่างที่รอร้านค้าทำออร์เดอร์ให้ และระหว่างรอ Rider มาส่งอาหารให้ แต่เมื่อรับอาหารและชำระเงินแล้ว โฆษณานั้นก็จะจบลงทันที สำหรับรูปแบบนี้จะเป็นโฆษณาในแบบภาพ หรือจะเป็น rotate ads ก็ได้ เบื้องต้นได้ทำการทดสอบระบบการใช้งานไปบ้างแล้ว

ข้อดีของ Grab Ads

ความน่าสนใจของการเลือก Grab Ads มาเป็นหนึ่งในทางเลือกของการลงโฆษณา สรุปได้ดังนี้

  • สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็นคนรุ่นใหม่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ต่างๆ ในประเทศไทยได้
  • ผู้ใช้งานเป็นกลุ่มพรีเมียมPremium User เพราะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง High Purchasing Power และมีพฤติกรรมช้อปปิ้งออนไลน์เป็นประจำอยู่แล้ว จึงทำให้มีแนวโน้มที่จะสร้าง Conversion สูงได้
  • User ส่วนใหญ่ มีรายได้ ปานกลางถึงค่อนข้างสูง และใช้เครดิตการ์ด
  • สามารถสร้าง Reach ที่มีคุณภาพได้ เนื่องจากว่า ผู้ใช้งาน Grab ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เข้ามาใช้งานอย่างมีเป้าหมาย เช่น ตั้งใจจะมาสั่งซื้ออาหาร ตั้งใจจะให้ส่งสินค้า หรือเรียกบริการรถ เป็นต้น ดังนั้น Reach จาก Grab จึงสูงกว่าแพล็ตฟอร์มอื่นๆ ถึง 60-80%
  • เป็นแอปฯ ที่มีความ พรีเมียม และมี Brand Safe ที่ดี
  • User ของ Grab มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือเป็นกลุ่มที่พร้อมเปย์ มีการใช้จ่ายเงินที่สูง เป็นคนเมือง ชอบอาหารและการเดินทาง ฯลฯ
  • เหมาะกับแคมเปญที่เน้น Awareness และ Engagement โดยเฉพาะ Rewarded Advertising สามารถสร้าง Engagement ได้ถึง 3 เท่า
  • Grab คือแอปที่อยู่แทบทุกจุดของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ตื่นเช้ามาเพื่อเดินทาง ซื้อของ สั่งอาหาร ส่งเอกสารหรือพัสดุ ฯลฯ และสามารถกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อได้ง่าย

ผู้ใช้งาน Grab เป็นใคร

หลังจากทำความรู้จักกับรูปแบบโฆษณาของ Grab กันแล้ว ทีนี้ลองมาทำความรู้จักกันบ้างว่าลูกค้าของ Grab เป็นใคร และตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการหรือไม่

  • 92% ของผู้ใช้งาน Grab อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ และรอบๆ เมืองเป็นหลัก
  • ปี 2020 Grab คือ 1 ใน 9 แอปฯ หลักสำคัญของคนGen Y และ Gen Z
  • กลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่Highest purchasing power คือเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง โดยเฉพาะในการช้อปปิ้งออนไลน์
  • เป็นกลุ่มคนที่ชอบซื้อสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเห็นโฆษณาบนออนไลน์
  • เป็นกลุ่มที่ชอบซื้อสินค้าระดับ ‘พรีเมียม’ เป็นสำคัญ
  • ความสามารถด้านการเงิน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มี ‘บัตรเครดิต’ และใช้จ่ายเงินแต่ละครั้งค่อนข้างสูง

ปัจจุบัน Grab ให้บริการมากถึง 400 เมืองใหญ่ใน 8 ประเทศ ได้แก่ เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลลิปปินส์ และไทย มียอดดาวน์โหลดทั่วโลก ในปัจจุบันประมาณ 190 ล้านดาวน์โหลด เป็นแอปฯในกลุ่ม Transporting หรือกลุ่มเพื่อการเดินทางสูงเป็น อันดับ 1 ในภูมิภาคเซาท์อีสต์เอเชีย และเป็นแอปฯ Food Delivery Service ที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาค สำหรับประเทศไทย มีผู้ใช้งานเป็น Active User ต่อเดือนอยู่ 8 ล้านคน เป็นผู้หญิง 53% เป็นผู้ชาย 47% โดยให้บริการอยู่ใน 43

 

ทั้งหมดนี้ก็คงพอทำให้เห็นว่า Grab Ad สามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ให้กับแบรนด์และนักการตลาดที่อยากจะทำแคมเปญกับแพล็ตฟอร์มแห่งนี้ได้ กับยอดการเติบโตที่ดีและตอบโจทย์ชีวิตประจำวันของผู้คน.

ขอบคุณข้อมูลและและกรณีศึกษาจาก MediaDonuts


  • 171
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!