เมื่อเดือนมีนาคม บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด (MI) เคยคาดการณ์สถานการณ์เม็ดเงินในอุตสาหกรรมสื่อและโฆษณาประเทศไทยว่า อาจกลับมาเป็นบวกได้ถึง 10% แต่หลังจากเกิดการระบาด COVID-19 ระลอก 3 จนถึงปัจจุบัน พบว่าสถานการณ์แย่ลง ส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมสื่อและโฆษณาได้รับผลกระทบหนักกว่าที่คาด
“หากมองภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อและโฆษณาจะพบว่าอยู่ในภาวะโคม่าทั้งระบบระบบนิเวศ จากปัจจัยการแพร่ระบาด COVID-19 ที่แม้จะเป็นวิกฤตทั่วโลก แต่เมื่อภาครัฐขาดประสิทธิภาพในการสื่อสารกับประชาชน ทั้งเรื่องการกระจายและประสิทธิภาพวัคซีน การสื่อสารมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมสถานการณ์ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และการเข้าถึงระบบสาธารณะสุขของประชาชน จึงกระทบความเชื่อมั่นและการใช้จ่าย”
คุณภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ MI กล่าว และอธิบายสถานการณ์เม็ดเงินในอุสาหกรรมสื่อและโฆษณาประเทศไทย ว่า อุตสาหกรรมสื่อและโฆษณาในเดือนมิถุนายน 2021 คาดว่าอาจเพิ่มขึ้น 8% คิดเป็นเม็ดเงิน 2,783 ล้านบาท เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2020 และคิดเป็นเม็ดเงินรวม 37,448 ล้านบาท โดยหากแบ่งตามสัดส่วนเม็ดเงินจะแบ่งได้ 3 กลุ่มหลัก คือ ทีวี 50% อินเทอร์เน็ต 30% และสื่อนอกบ้าน 10%
“ในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมสื่อและโฆษณาต่ำเป็นประวัติการณ์ในรอบ 20 ปี แต่จบปี 2021 เราประเมินว่าสถานการณ์อาจติดลบลงอีก 3-5% เหลือเม็ดเงินอยู่ที่ 72,138 ล้านบาท และอาจมีสัญญาณดีขึ้นบ้างในช่วงปลายไตรมาส 4 ปีนี้”
– สื่อนอกบ้าน ทั้งกลุ่ม OOH และ Transit ถือเป็นสื่อที่น่าจับตาการเติบโตอย่างมาก แม้ทั้ง 2 สื่อนี้จะเป็นสื่อที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการ Social Distancing และล็อกดาวน์ แต่เชื่อว่าหลังหมดการแพร่ระบาด COVID-19 การเติบโตของทั้ง 2 สื่อจะน่าสนใจอย่างมาก
– ปัจจัยที่ทำให้ MI คาดการณ์การเติบโต 8% มาจากเม็ดเงินในสื่อทีวี และอินเทอร์เน็ต ที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในเดือนมิถุนายน 2021 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
โดย ทีวี เติบโตเฉลี่ย 10% มีมูลค่ารวม 11,400 ล้านบาท
อินเทอร์เน็ต เติบโต 20% มีมูลค่ารวม 11,400 ล้านบาท
OOH ลดลง 10% มีมูลค่ารวม 4,042 ล้านบาท
หนังสือพิมพ์ ลดลง 13% มีมูลค่ารวม 1,060 ล้านบาท
วิทยุ (กรุงเทพฯ) ลดลง 12% มีมูลค่ารวม 1,260 ล้านบาท
นิตยสาร ลดลง 18% มีมูลค่ารวม 255 ล้านบาท
ส่วน โรงภาพยนตร์ เติบโต 6% มีมูลค่ารวม 531 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินที่เห็นอาจไม่ได้สะท้อนการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่ยังรวมถึงเรื่องของการลดแลกแจกแถม มีนัยยะแบบ Profit-Sharing หรือการลงทุนร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและสื่อด้วย เช่น การเติบโตของกลุ่มโรงภาพยนตร์ เนื่องจากบางจังหวัดต้องปิดบริการมานานหลายเดือนแล้ว แต่ยังสามารถเปิดบริการได้ในอีกหลายจังหวัด เป็นต้น
ธุรกิจที่ทุ่มเม็ดเงินใช้สื่อและโฆษณาสูงสุด
หากแบ่งตาม กลุ่มธุรกิจ ที่ใช้เม็ดเงินสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2021 (เทียบกับเดือนมิถุนายน 2020) ได้แก่
ยาสีฟัน เพิ่มขึ้น 54% = 1,445 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินสูงสุด คือ เทพไทย
น้ำอัดลม เพิ่มขึ้น 109% = 1,176 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินสูงสุด คือ โค้ก
วิตามิน – สุขภาพ ลดลง 3% = 1,023 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินสูงสุด คือ ถั่งเช่า ยิ่งยง
รถกระบะ เพิ่มขึ้น 24% = 886 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินสูงสุด คือ โตโยต้า
อีคอมเมิร์ซ เพิ่มขึ้น 144% = 786 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินสูงสุด คือ ลาซาด้า
ผงซักฟอก เพิ่มขึ้น 35% = 752 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินสูงสุด คือ บรีส
เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้น 56% = 688 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินสูงสุด คือ แคเรียร์
รถเอสยูวี ลดลง 16% = 594 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินสูงสุด คือ มิตซูบิชิ
ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เพิ่มขึ้น 27% = 565 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินสูงสุด คือ โลตัส
ความงาม – แชมพู เพิ่มขึ้น 85% = 557 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินสูงสุด คือ รีจอยส์
Top 10 แบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินกับโฆษณาสูงสุด
ยูนิลีเวอร์เพิ่มขึ้น 57% = 2,734 ล้านบาท
เนสท์เล่ เพิ่มขึ้น 49% = 1,538 ล้านบาท
พีแอนด์จี เพิ่มขึ้น 26% = 1,183 ล้านบาท
แมสมาร์เก็ตติ้ง เพิ่มขึ้น 62% = 888 ล้านบาท
โคคา-โคลา เพิ่มขึ้น 96% = 810 ล้านบาท
โตโยต้า เพิ่มขึ้น 21% = 627 ล้านบาท
คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ เพิ่มขึ้น 161% = 623 ล้านบาท
เอไอเอส ลดลง 6% = 603 ล้านบาท
อายิโนะโมะโต๊ะ เพิ่มขึ้น 66% = 560 ล้านบาท
Reckitt Benckiser เพิ่มขึ้น 24% = 554 ล้านบาท
ครั้งแรกที่ โอลิมปิก เงียบ
ตามปกติการจัดงานแข่งขันกีฬาระดับสากล จะมีการใช้เม็ดเงินกับสื่อและโฆษณาอย่างคึกคัก แต่ไม่ใช่กับ โอลิมปิก เกมส์ 2020 ที่สถานการณ์สุดเงียบเหงา และอาจถือเป็นครั้งแรกที่การลงเม็ดเงินสื่อและโฆษณานั้นเงียบที่สุด ยังไม่มีฟีดแบ็กจาก
ละคร – ข่าว คอนเทนต์เรตติ้งแรง
– ละคร ยังคงเป็นคอนเทนต์ที่คนไทยตอบรับดีเสมอ แต่สถานการณ์โรคระบาดทำให้ ข่าว ได้รับความนิยมมากขึ้นด้วย เพราะผู้คนต้องการติดตามข่าวสาร
– กระแสของคนข่าวอย่าง คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา หรือ คุณกรรชัย กำเนิดพลอย ถือว่ามาถูกช่วงถูกเวลาในแง่ของคนดู เพราะทำให้พวกเขารู้สึกมีตัวแทนที่เขาสามารถเชื่อถือและฟังข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถพยุงให้สื่อหลักหรืออุตสาหกรรมสื่อกระเตื้องขึ้นได้