ส่องเทรนด์นวัตกรรมที่ธุรกิจต้องรู้ในปี 2021 เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและรวดเร็ว

  • 542
  •  
  •  
  •  
  •  

“นวัตกรรม (Innovation)” ส่วนสำคัญในการผลักดันให้ธุรกิจก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัล ยิ่งไปกว่านั้นหลายธุรกิจเริ่มแข่งขันพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค นั่นหมายความว่าธุรกิจใดที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้ากว่า ย่อมหมายถึงความสนใจของผู้บริโภคย่อมมีมากกว่าตามไปด้วยเช่นกัน

ในงาน CTC2021 (Creative Talk Conference) จึงมีการพูดถึงเทรนด์ของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2021 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นส่งผลให้นวัตกรรมมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการใช้ชีวิตของผู้คน ยิ่งไปกว่านั้นยังส่งผลต่อการทำธุรกิจของหลายธุรกิจ โดยผู้ที่จะมาชี้เทรนด์นวัตกรรมคือ คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม CDO บริษัท SCG Cement-Building Materials จำกัด และ คุณจอมทรัพย์ สิทธิพิทยา Founder of Exzy

 

เทรนด์นวัตกรรมในปี 2021

โดยคุณอภิรัตน์ชี้ว่า ในต่างประเทศมีการรวบรวมนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นในปี 2021 ไว้จำนวนมาก แต่จะให้ไฮไลค์ที่สำคัญไว้ 6 เทรนด์นวัตกรรม โดยมี 2 นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดที่เกิดขึ้น อย่างเช่น เรื่องของ Pendemoment คือการที่ธุรกิจจะต้องคิดวิธีการใหม่ๆ หรือโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เพื่อรองรับกับการแพร่ระบาด และนวัตกรรม Virtually Grounded ซึ่งมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดส่งผลให้หลายคนจำเป็นต้องอยู่แต่ในบ้าน ซึ่งจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการหาวิธีเพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินได้ต่อไป

อีกนวัตกรรมที่น่าสนใจคือ Old Spice เนื่องจาก การแพทย์ที่ดีขึ้นส่งผลให้เกิดสังคมผู้สูงอายุ  ซึ่งกลุ่มคงอายุ 60 ปีขึ้นไปยังคงมีประสิทธิภาพในการทำงาน จะทำอย่างไรให้คนเหล่านั้นสามารถกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อาจจะใช้ร่วมเทคโนโลยี AI ได้ อีกนวัตกรรมที่น่าสนใจคือ Transcycling  ที่เน้นการใช้วัสดุในรูปแบบของ Green หรือการรีไซเคิลมาพัฒนาธุรกิจผ่านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม Digital Parity คือการที่ทุกอย่างเป็นดิจิทัล เนื่องจากไม่มีทางรู้ได้ว่าสถานการณ์โรคระบาดจะเป็นอย่างไร ธุรกิจจึงควรจะต้องมีช่องทางดิจิทัล เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

ขณะที่คุณจอมทรัพย์ชี้ว่า Customer Experience จะเปลี่ยนไปกึ่งถาวร ซึ่งนวัตกรรม Voice Assistant  ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่คอมพิวเตอร์พูดภาษามนุษย์ การตอบสนองต่างๆไม่ว่าจะเป็นการแชทหรือการตอบสนองต่างๆ และมีแนวโน้มจะฉลาดเพิ่มมากขึ้น  ในอนาคตการจอง อาจจะเป็นการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่เริ่มมีการใช้งานบางแล้ว ซึ่งนวัตกรรมนี้กำลังจะถูกใช้ในกลุ่มธุรกิจ SME ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า

คุณจอมทรัพย์ สิทธิพิทยา Founder of Exzy

นวัตกรรม AR VR และ IoT โดยนวัตกรรม AR VR จะไม่ได้ถูกใช้แค่ในโลกเสมือนจริงเท่านั้นแต่จะถูกนำมาใช้กับ IoT เพื่อสร้างประสบการณ์จริง โดยในช่วงการแพร่ระบาดที่ผ่านมา เทคโนโลยี AR VR เติบโตอย่างมากและมีการถูกนำมาใช้ อย่างเช่น งานคอนเสิร์ตที่มีการลงทุนนำเทคโนโลยี AR VR เข้ามาใช้ หรืออย่างกลุ่ม Training เช่นการทดสอบอาการกลัวความสูงโดยอุปกรณ์ AR VR และเรื่องของนวัตกรรม Data Collection ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดที่ผ่านมามีการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นผ่านเทคโนโลยีอย่าง Face Recognition ซึ่งเป็นการจัดเก็บเพื่อความปลอดภัย

การยินยอมให้ข้อมูลจะกลายเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้นกว่าในอดีต ขณะที่แพลตฟอร์มที่จัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องชี้แจงวิธีการจัดเก็บ ซึ่งแพลตฟอร์มสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบ Total Experience

 

แบรนด์และผู้บริโภครับมือเทรนด์อย่างไร

ด้านคุณอภิรัตน์ยังชี้ว่า ปีนี้ Gartner บอกว่าไม่ใช่ IoT (Internet of Thing) แต่เป็น IoB (Internet of Bahavior) โดยเฉพาะ Physical Computing ที่ในปีนี้คอมพิวเตอร์จะหลุดออกมาจากหน้าจอแล้วมาผสมผสานอยู่ในชีวิตของเราจนกระทั่งคำว่า “คอมพิวเตอร์” จะเลือนหายไป ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจรับทราบพฤติกรรมของลูกค้าได้ละเอียดขึ้นตลอดเวลา และผู้ประกอบการต้องรู้ว่าจะใช้เทคโนโลยีไหนในการสร้าง Engagement ตอนนี้ทุกคนมองไปที่ IoT เมื่อปีที่แล้วงบประมาณลงไปที่ Big Data, AI, Machine Learning แต่งบประมาณปีนี้จะลงไปที่ IoT นอกจากนี้ธุรกิจต้องมี Skill T-Shape

ขณะที่คุณจอมทรัพย์มองว่า ธุรกิจจะเกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งการเกิด Hybrid Office ซึ่งสามารถมองได้ว่าที่บ้านของพนักงานสามารถเป็นออฟฟิศได้ ออฟฟิศจะมีขนาดเล็กลงแต่สาขาจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีพนักงานแค่ 10 คนก็เป็นออฟฟิศได้ ธุรกิจจึงต้องลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อผสานการทำงานในทุกๆ ที่ เพื่อให้ใช้ทุกพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้รูปแบบออฟฟิศเปลี่ยนไปและยังช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องออฟฟิศได้

นอกจากนี้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ทุกสาขาอาชีพต้องเรียนรู้ที่จะทำงานรูปกับเทคโนโลยีอย่าง AI หรือหุนยนต์ (Intellegence Machine) โดยคนที่ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีจะต้องทำงานร่วมกับคนที่เชี่ยวชาญในงานนั้น เช่น แพทย์จะต้องทำงานร่วมกับคนที่เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ กับผู้ที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ขณะที่ Blockchain จะถูกนำมาใช้มากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกลง

ส่วนระบบ Hyper Automation จะต้องมีการปรับเปลี่ยน Mind Set ใหม่ว่า ไม่จำเป็นต้องปรับหมดทั้งระบบ ด้วยเทคโนโลยีใหม่จะช่วยให้การทำระบบ Automation ง่ายและสามารถทำเฉพาะจุดได้ ซึ่งธุรกิจสามารถย้อนกลับมาดูได้ว่า คนควรไปทำอะไร ระบบมีอะไรบ้าง แหล่งข้อมูลหาได้จากอินเตอร์เน็ต ทำให้การทำระบบ Automation สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจได้

 

เทคโนโลยีที่หายไปหรือเลิกสนใจ

คุณจอมทรัพย์มองว่า ที่ผ่านมาป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาบูรณาการใหม่ เช่น 3 ปีที่แล้วเราพูดถึง IoT แต่ตอนนี้เราคุยกันเรื่อง IoB จึงไม่มีเทคโนโลยีใดที่ไม่ต้องติดตาม แต่ต้องรู้ว่าเราต้องการอะไรแล้วติดตามเทคโนโลยีนั้นและไปกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่นอนอย่างเทคโนโลยี 5G หรือระบบขนส่งที่จะเป็น Hi-Speed ซึ่งต้องมองว่าจะกระทบธุรกิจอย่างไร แล้วจะต้องปรับตัวอย่างไร ขณะที่เทคโนโลยีอย่าง AR VR อาจจะยังไม่ต้องมองก็ได้

คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม CDO บริษัท SCG Cement-Building Materials จำกัด

ด้านคุณอภิรัตน์มองว่า ธุรกิจควรจัดลำดับความสำคัญของเทรนด์เทคโนโลยี ซึ่งไม่ควรทำทุกอย่างพร้อมๆ กัน จาก Research ของ Google แบ่งพฤติกรรม New Normal ช่วงโรคระบาดออกเป็น 3 รูปแบบ ทั้งการเริ่มทำแล้วเลิกกลัวก็จะเลิกทำ เช่น หน้ากากอนามัย การที่โรคระบาดทำให้กลายเป็นเทรนด์หลัก และสิ่งที่โรคระบาดสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งธุรกิจควรจับตามองเทรนด์ที่จะกลายเป็นเทรนด์หลักและอยู่ต่อไป เชื่อว่าเทรนด์ออนไลน์ การ Work from Home น่าจะคงอยู่ต่อไป เพราะนอกจากความกลัวแล้วยังทำให้เกิดความสะดวกสบาย

ตอนนี้ต้องจับตาว่า เมื่อวัคซีนมาอะไรบ้างจะยังคงเป็นเทรนด์ต่อไป อะไรบ้างที่ไม่ใช่ ซึ่งธุรกิจต้องจัดลำดับความสำคัญเลือกสิ่งที่ตอบโจทย์ของเราก่อน แต่อยากให้จับตาเทรนด์ที่เราคุนกันมาก่อนหน้านี้ แต่ถูกโรคระบาดกลบไปอย่างเทรนด์ Aging Society จะทำอย่างไรให้ระบบเศรษฐกิจเหมาะสมกับสังคมที่แก่ลงเรื่อยๆ โรคระบาดอาจจะหายไป แต่สังคมผู้สูงอายุจะยังคงอยู่ต่อไป ซึ่งเทรนด์ Creative Economy จะยังคงอยู่ต่อไป


  • 542
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา