Meta เปิดเคล็ดลับยิง Ads ตั้งค่ากลุ่มเป้าหมาย-เก็บ Signal-ลงงบอย่างไร ให้ยอดขายโต

  • 5
  •  
  •  
  •  
  •  

แพลทฟอร์ม Meta อย่าง Facebook, Messenger และ Instagram ยังคงเป็นแพลทฟอร์มยอดนิยมในประเทศไทยที่ทุกๆธุรกิจใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทำการตลาด และเพื่อให้การทำการตลาดโดยเฉพาะการยิงโฆษณาในแพลทฟอร์ม Meta มีประสิทธิภาพสูงสุดเราจึงควรเรียนรู้จากเจ้าของแพลทฟอร์มเองที่มาแชร์ Best Practice ของการยิงโฆษณาเอาไว้ วิธีการซึ่งจะนำมาใช้ร่วมกับฟีเจอร์ใหม่ๆที่เพิ่งเปิดตัวออกมาในงาน Business Messaging Summit Thailand 2024 ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

โฆษณาที่มี “คุณสมบัติครบถ้วน” ได้ผลดีกว่า นี่คือสิ่งที่คุณณัฐนิชา ชาญสุกใส Business Strategy Manager Thailand จาก Meta บอกเอาไว้และ คุณสมบัติที่ครบถ้วนนี้ก็จะมีทั้งสิ่งที่คนยิงโฆษณาควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือเคล็ดลับทำให้โฆษณามีประสิทธิภาพสูงสุดที่ Meta มาเล่าให้ฟังซึ่ง Marketing Oops! สรุปมาให้ลองเอาไปใช้กัน

รัน Ads ด้วย Purchase Optimization มากกว่า 14 วัน เพิ่มงบเป็น 30%

หนึ่งในสิ่งที่คนยิงโฆษณาต้องคิดเสมอก็คือ “วัตถุประสงค์ของแคมเปญ” ว่าต้องการอะไร หากต้องการหาลูกค้าเพิ่มหรือกระตุ้นการต้องการซื้อก็ให้ตั้งค่า “วัตถุประสงค์ด้านการมีส่วนร่วม” ใน Meta Ads Manager ที่เรียกว่า “Conversation Optimization” ดึงให้คนมาเห็นเป็นนวงกว้างมากขึ้นเช่นใครทำไลฟ์อยากให้คนมาดูเยอะๆก็สามารถเลือกวัตถุประสงค์นี้ได้ แต่หากต้องการ “ขายของ” ก็ให้เลือก “Purchase Optimization” ที่ระบบจะเลือกคนที่มีความเป็นไปได้ที่จะซื้อสินค้าของเราเข้ามามากขึ้น

ซึ่งคุณณัฐนิชา ก็แชร์เคล็ดลับในเรื่องนี้เอาไว้ว่า ให้รันโฆษณาที่ใช้ Purchase Optimizaton นานกว่า 14 วันเพราะจากสถิติพบว่าช่วยให้ต้นทุนต่อการซื้อลดลง 13% นอกจากนี้ถ้าสามารถแบ่งงบโฆษณามาลงที่ Purchase Optimization ให้ได้ถึง 30% จะมียอดการซื้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึง 62% เลยทีเดียว

กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้แม่นยำขึ้นด้วย “Custom Audiences” และ “Lookalike Audiences”

อีกหนึ่งวิธีที่สามาถทำให้การกำหนดกลุ่มเป้าหมายก่อนการยิง Ads ของเราแม่นยำขึ้นก็คือการใช้ “Custom Audiences” และ “Lookalike Audience” เพื่อกำหนดให้กลุ่มเป้าหมายที่เรายิง Ads ไปเป็นกลุ่มที่มีโปรไฟล์เหมือนกับลูกค้าของเราได้มากที่สุด

คุณณัฐนิชา ระบุว่าเราสามารถเก็บสัญญาณจากลูกค้าของเราเองเพื่อมาทำ Custom Audiences” ได้สองวิธีก็คือ 1.การเก็บสัญญาณการซื้อจาก Messenger ของเราเองเช่นการ ทำ “Mark as Paid” หลังจากลูกค้าซื้อสินค้าของเราแล้ว และ 2.คือเก็บสัญญาณจาก “Lead Center” ที่เราสามารถกำหนดสถานะของลูกค้าได้ว่าอยู่ในช่วงไหนของการซื้อ เช่นกรอตัดสินใจ นัดหมายแล้ว รอจ่ายเงิน หรือ จ่ายเงินซื้อแล้วเป็นต้น

เทคนิคการใช้สองสัญญาณนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิพาด Ads ของเราก็คือให้กำหนด Custom Audiences ในกลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าเราไปแล้วหรือลูกค้ากลุ่มที่ไม่มีคุณภาพเอาไว้แล้ว Exclude ออกจากแคมเปญไปนั่นเอง

ส่วนการทำ Lookalike Audiences” คือการหากลุ่มลูกค้าที่มีพฤติกรรมคล้ายกับลูกค้าของเราโดยเก็บสัญญาณการซื้อจากแล้วสร้าง Audiences กลุ่มนี้ไว้และนำไปตั้งค่า Lookalike Audience ผ่านทาง Purchase Optimization เพื่อให้ Ads ยิงไปถึงกลุ่มคนทีมีพฤติกรรมคล้ายกับลูกค้าของเราให้มากที่สุดนั่นเอง

แน่นอนว่ามีผลการทดลองกับแบรนด์ในประเทศไทยมาแล้วเป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่ใช้ประโยชน์จาก Lookalike Audiences ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและพบว่าจำนวนการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นถึง 69% เทียบกับ Ads ที่กำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบปกติ และทำให้ ROAS เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า

กำหนดงบให้เพียงพอรวม Ad Sets เข้าด้วยกัน

เพื่อให้บริหารงบประมาณในการยิง Ads ได้อย่างมีประสิทธิภาพคุณณัฐนิชา แนะนำด้วยกัน 3 เคล็ดลับก็คือ

  1. อย่าสร้าง Ad Set เยอะเกินไป ซึ่งเท่าไหร่ถึงเยอะเกินไปก็สามารถคำนวนได้จากสูตร งบประมาณรวมต่อสัปดาห์ / [CPM หรือ CPP x 50] จะได้ตัวเลขของจำนวน Ad Set สูงสุดที่ควรจะตั้ง
  2. อย่าแก้ไข Ad หลังจากรันไปแล้วบ่อยครั้ง เพราะระบบจะเข้าสู่ช่วง Learning Phase ซ้ำแล้วซ้ำอีกทำให้โฆษณาไม่มีประสิทธิภาพ หากจะแก้ไขให้แก้ไขรวดเร็วให้เสร็จในครั้งเดียว
  3. ตั้งงบประมาณของแคมเปญให้เพียงพอสำหรับการสร้างคอนเวอร์ชั่นมากกว่า 50 คอนเวอร์ชั่น (ทั้งจำนวนข้อความหรือการซื้อ) ต่อสัปดาห์

ใช้โฆษณาที่คลิกไปยัง Instagram Direct

อย่าลืมว่า Instagram ก็เป็นอีกหนึ่งแพลทฟอร์มในเครือ Meta ดังกนั้นการตั้งค่าโฆษณาให้สามารถคลิกไปยัง Instagram Direct ได้ก็จะเป็นอีกวิธีที่จะเพิ่มกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะจาก Facebook ให้ไปยังธุรกิจที่อาจขายของใน Instagram เป็นส่วนใหญ่ได้  ซึ่งวิธีการก็ทำได้ง่ายๆโดยการเปลี่ยนโปรไฟล์ Instagram ให้เป็นโปรไฟล์ธุรกิจก่อน แล้วเชื่อมต่อ Instagram ที่เป็นโปรไฟล์ธุรกิจเข้ากับกล่องข้อความใน Meta Business Suite

ซึ่งเคล็ดลับที่คุณณัฐนิชาแนะนำก็คือให้ลองสร้างแคมเปญโฆษณาที่คลิกไปยัง Instagram Direct ด้วยการเพิ่มงบประมาณโฆษณา 20% จากแคมเปญปกติ ซึ่งมีแบรนด์ในไทยได้ทดลองใช้วิธีการนี้แล้วพบว่า ROAS เพิ่มขึ้นถึง 59% จากแคมเปญปกติ และมอลค่าการซื้อจากลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 91% เลยทีเดียว

ใช้ AI มาช่วยตั้งค่าชิ้นงานโฆษณา

ในการตั้งค่าแคมเปญโฆษณา Meta จะมีระบบที่เรียกว่า Advantage+ Creative ซึ่งมีระบบ AI ช่วยปรับแต่งชิ้นงานให้สมบูรณ์มากขึ้นเช่นสีรวมถึงความสว่าง สามารถเลือกเทมเพลทให้เหมาะกับแพลทฟอร์มที่จะไปลงได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ AI ยังสามารถแสดงข้อความให้เหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงสามารถเลือกเพลงให้กับโฆษณาได้ตามความเหมาะสมด้วย ซึ่งทาง Meta ก็เคลมไว้ว่าถ้าใช้ระบบในการการปรับแต่งโฆษณาจะช่วยให้ต้นทุนต่อการหาลูกค้านั้นลดลงราว 6.2%

เคล็ดลับการทำโฆษณาวิดีโอสั้นบน Meta

เคล็ดไม่ลับของการทำวิดีโอที่ Meta แนะนำในการนำไปยิงโฆษณาจากการวิเคราะห์วิดิโอจำนวนนับแสนนับล้านชิ้น ก็คือจะต้องเป็นวิดีโอแนวตั้งสัดส่วน 9:16 และมีความยาวไม่เกิน 15 วินาที ซึ่งพบว่าวิดีโอรูปแบบนี้จะทำให้ต้นทุนต่อการแชทจะลดลงถึง 12% จากการใช้วิดีโอรูปแบบบนี้ในการโฆษณา

ในส่วนของ Reels นั้นก็เป็นอีกโปรดักซ์ของ Meta ที่ได้รับความนิยมในการทำโฆษณาด้วยเช่นกัน โดยมีเทคนิคคลิป Reels 3 ข้อก็คือ

  1. สัดส่วนต้องเป็นแนวตั้งเต็มจอสัดส่วน 9:16
  2. คลิปต้องมีเสียงให้รับชมแบบเปิดเสียง
  3. คอนเทนต์สำคัญต้องอยู่ใน Safe Zone เพื่อให้ไม่ทับกับปุ่ม UI ใน Reel

โฆษณาผ่าน Reel รูปแบบนี้ก็มีแบรนด์ในไทยลองทดลองดูแล้วโดยเปรียบเทียบการยิงโฆษณาคลิป Live ที่จบไปแล้ว กับการตัดคลิปสั้นส่วนไฮไลท์มายิงโฆษณาบน Reels ตามแนวทางนี้ก็พบว่า ThruPlay เพิ่มขึ้นถึง 166% และยังเข้าถึงคนเพิ่มขึ้น 46% ด้วยเช่นกัน

ส่งข้อมูลช่วยให้ระบบ Machine Learning ของ Meta ให้ดีขึ้น

อีกวิธีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญโฆษณาในแพลทฟอร์ม Meta ได้ก็คือการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณ 3 รูปแบบเข้าสู่ระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Mahine Learnging ไม่ว่าจะเป็น

  1. สัญญาณการซื้อผ่านการส่งข้อความ – สามารถนำมาใช้ได้กรณีที่มีการทำ Mark As Paid มีการใช้ Payment On Messenger หรือใช้บริการจาก Partner ของ Meta ที่ช่วยส่งสัญญาณการซื้อเข้าสู่ระบบของ Meta ด้วย API
  2. ข้อมูลลูกค้าผ่านการส่งข้อความ – ข้อมูลส่วนนี้จะถูกจัดเก็บบริหารจัดการผ่าน Lead Center ที่เราสามารถให้ status ของลูกค้าในระยะต่างๆได้ สิ่งนี้สามารถเก็บไว้เป็นข้อมูลให้กับ Machine Learning ในการยิง Ads สู่กลุ่มเป้าหมายได้
  3. ข้อมูลลูกค้านอกแพลทฟอร์ม Meta – ส่วนนี้คือข้อมูลทั้งการซื้อหรือข้อมูลลูกค้าที่เกิดขึ้นนอกแพลทฟอร์ม Metaเช่นแอปส่งข้อความอื่นๆ รวมถึง Marketplace หรือหน้าร้านแบบออฟไลน์ ที่ทาง Meta เปิดให้เชื่อมโยงข้อมูลเข้ามาเพื่อให้ Machine Learning เรียนรู้ร่วมกับสัญญาณการซื้อในแพลทฟอร์ม Meta ด้วยเช่นกัน

การส่งข้อมูลเหล่านี้สู่แพลทฟอร์ม Meta นอกจากจะมีประโยชน์ในเรื่องของการกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วยังมีประโยชน์ในเรื่องของการวัดผลโฆษณาที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดเพื่อนำไปวิเคราะห์และ Optimize แคมเปญโฆษณาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไปในอนาคตได้

ทั้งหมดนี้คือเทคนิคของการยิงโฆษณาในแพลทฟอร์ม Meta ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดให้แบรนด์และนักการตลาดสามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้การยิง Ads แต่ละครั้งให้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถลดต้นทุนและเพิ่มยอดขายให้ได้มากที่สุดนั่นเอง


  • 5
  •  
  •  
  •  
  •