Photo: สยามราชธานี
หลายคนมักเข้าใจว่า COVID-19 คือจุดเปลี่ยนของธุรกิจ แต่จริงๆ แล้วการ Disruption โดยเทคโนโลยีต่างหากที่เป็นจุดเปลี่ยน COVID-19 เป็นเพียงแค่สถานการณืที่เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้น หากไม่มี COVID-19 รูปแบบธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน อาจเกิดขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้าก็เป็นได้ ดังนั้นธุรกิจที่ยังไม่เข้าสู่โลกเทคโนโลยีจึงจำเป็นต้องรีบปรับธุรกิจของตัวเองเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
หลายธุรกิจพูดถึงการ Digital Culture หรือการปรับธุรกิจให้เข้าสู่ระบบดิจิทัล สำหรับธุรกิจเกิดใหม่คงไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับยุคดิจิทัลอยู่แล้ว แต่ธุรกิจที่เกิดมามากกว่า 20 ปีขึ้นไป หรือธุรกิจที่เกิดขึ้นในยุคอาม่าอากง ส่งผ่านรุ่นเตี่ยรุ่นเจ็ก มาจนถึงยุคปัจจุบันกำลังเป็นธุรกิจที่ถูก Digital Disruption การปรับเปลี่ยนของธุรกิจกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ
ทัศนคติและการผสานแนวคิดคน 2 รุ่น
ความท้าทายอย่างแรกที่ธุรกิจต้องพบเจอคือ ความคิดที่ย้อนแย้งกันของคน 2 กลุ่ม เมื่อคนรุ่นวัยเก๋าไม่เข้าใจเทคโนโลยีและยังพอใจที่จะอยู่ใน Safe Zone กับคนรุ่นใหม่ที่มองเห็นช่องทางดิจิทัลเพื่อขยายตลาด พร้อมรุกตลาดแบบ Agile ทำเร็ว เรียนรู้เร็ว เจ็บเร็ว ขณะที่คนรุ่นวัยเก๋ามองธุรกิจผ่านประสบการณ์มีความรอบคอบสูง ทุกการลงทุนต้องมั่นใจ เหมือนที่บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) ผู้นำในธุรกิจ Outsourcing มากว่า 40 ปี พัฒนาตัวเองสู่ Tech Company
ดังนั้นการทำ Digital Transformation ประการแรกสำคัญที่สุดคือ ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีที่ทั้งคนรุ่นใหม่และคนรุ่นวัยเก๋าจะต้องมองไปในทิศทางเดียว ทัศนคติที่ต้องเห็นภาพแบบเดียวหรือใกล้เคียงกัน แล้วใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีของคนรุ่นใหม่ ผสานความรอบคอบของคนรุ่นวัยเก๋า ในการวางเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ทางธุรกิจให้สอดรับกัน ก่อนจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล
โดย คุณณัฐพล วิมลเฉลา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) ชี้ว่า การนำธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิทัล ไม่ใช่แค่การมี LINE@ หรือแฟนเพจ Facebook, Instagram แล้วจะบอกว่า นี่คือการเข้าสู่ยุคดิจิทัลของธุรกิจ ถือเป็นความคิดที่ผิดอย่างแรง เพราะการ Transform สู่ดิจิทัลของธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนถึงรูปแบบวิธีการทำงานและกระบวนการความคิดด้วย ส่วนเครื่องมือทางดิจิทัลเป็นส่วนเสริมที่ทำให้การ Transform ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
องค์กรต้องรู้จัก Lean และ Agile
2 คำที่องค์กรต้องรู้จักก่อนการ Transform ไปสู่ระบบดิจิทัลคือ Lean และ Agile ซึ่งเป็น 2 คำที่ธุรกิจพูดถึงเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีผลต่อการดำเนินธุรกิจ โดยทั้ง 2 คำมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน เริ่มจาก Lean ซึ่งตามความหมายของคำศัพท์แปลว่า ผอมหรือการรีดไขมัน เมื่อนำมาใช้ในทางธุรกิจจะหมายถึงการทำให้ธุรกิจมีความกระชับมากขึ้น
คุณณัฐพล ยังเพิ่มเติมอีกว่า เพราะทุกธุรกิจมีกระบวนการขั้นตอนที่แตกต่างกัน และแต่ละกระบวนการเหล่านั้นทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ของเสีย” ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ผิดพลาด เวลาที่สูญเปล่าหรือไม่คุ้มค่ากับงานที่ได้ การ Lean จึงเป็นการทำให้ทุกกระบวนการกระชับขึ้น ลดข้อผิดพลาดโดยเน้นเรื่องของความคุ้มค่าในระยะเวลาที่น้อยที่สุด ซึ่งหลักการนี้บริษัทใหญ่ๆ ระดับโลกที่มีการใช้หลักการ Lean อย่างเช่น TOYOTA
โดย TOYOTA แบ่งวิธีการ Lean ไว้ 8 อย่างด้วยกัน ทั้งการลดงานต้องแก้ไข (Defect), ลดการผลิตสินค้ามากเกินไป (Over production), ลดระยะเวลาการรอคอย (Waiting), คัดเลือกความคิดสร้างสรรค์นำมาใช้ประโยชน์ (Non-utilized Talent), ลดการขนย้ายบ่อยๆ (Transportation), ลดปริมาณสินค้าคงคลัง (Inventory), ลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็น (Motion) และลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน (Excess Processing) ทั้งหมดนี้ยังมีส่วนช่วยลดการใช้เงินลงทุนอีกด้วย
คุณณัฐพล เสริมอีกว่า ขณะที่ Agile คือกระบวนการสร้างประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น โดยไม่เน้นขั้นตอนแต่เน้นในเรื่องของการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจแล้วลงมือทำทันที หากประสบผลสำเร็จก็เร่งพัฒนาต่อยอด หากไม่สำเร็จก็รีบมองหาปัญหาแล้วกลับมาแก้ไขเพื่อทำใหม่ โดยส่วนใหญ่ธุรกิจที่มีพนักงานจำนวนมากจะมีการแบ่งกลุ่มเพื่อทำ Agile ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วเช่นที่ “สยามราชธานี”
Cloud Computing เครื่องมือสำคัญสู่โลกดิจิทัล
เมื่อองค์กรกระฉับกระเฉงด้วยการ Lean แล้ว และพร้อมทำงานในรูปแบบ Agile สิ่งต่อไปคือการนำระบบต่างๆ ที่มีอยู่เดิม รวมไปถึงข้อมูล (Data) ต่างๆ ของธุรกิจรูปแบบเดิมขึ้นไปสู่โลกดิจิทัลกับระบบ Cloud Computing โดยอาจจะมีการใช้เทคโนโลยี DAM (Digital Asset Management) หรือเทคโนโลยีที่จะแปลงข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วีดีโอหรือเอกสาร ไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัล
โดยเทคโนโลยี DAM มีความสามารถในการแปลงข้อมูล (Ingestion), ช่วยในการจัดเก็บข้อมูล (Storage), การสืบค้นข้อมูล (Retrieval), เพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกัน (Collaboration) และการบริหารจัดการข้อมูลตลอดวงจรชีวิต (Data Lifecycle Management) เป็นต้น โดยข้อมูลทั้ังหมดจะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบ Cloud เพื่อช่วยให้สามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ทุกที่ตลอดเวลา
ดังนั้น Cloud จึงกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างมากในการ Tramsform จากธุรกิจในรูปแบบเดิมไปสู่ธุรกิจในรูปแบบดิจิทัล ลองนึกว่าดูว่าถ้าต้องการรู้ว่าลูกค้าบริษัท X ที่ผ่านมาเคยซื้อสินค้าอะไรบ้าง ถ้าเป็นรูปแบบเอกสารก็ต้องเริ่มค้นจากชื่อบริษัทและปีที่ทำการซื้อ ซึ่งคงต้องใช้เวลานานมากกว่าจะพบข้อมูล บางบริษัทจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ แต่ลองนึกดูว่าหากต้องไปพบลูกค้านอกสถานที่ แล้วลูกค้าต้องการทราบข้อมูล คงต้องเสียเวลากลับมาค้นหาข้อมูล หรือเสียเวลาโทรคุยเพื่อให้คนที่ออฟฟิศค้นหาข้อมูล
Cloud ไม่ได้มีไว้เก็บข้อมูลเท่านั้น
หลายคนคงเข้าใจว่า Cloud คือพื้นที่จัดเก็บขนาดใหญ่ที่ใดซํกแห่งในโลกใบนี้ ซึ่งไม่ผิดแต่ความสามารถของ Cloud ยังมีอีกมากกว่านั้น ด้วยข้อได้เปรียบที่สามารถใช้งานที่ใดก็ได้ตลอดเวลา ช่วยให้องค์กรลดข้อจำกัดในการซื้อคอมพิวเตอร์หรือระบบเซิฟเวอร์ ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้ทุกที่แม้จะอยู่ริมทะเลหรือในป่าเขา ขอเพียงให้มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตเข้าถึง
นอกจากนี้ Cloud ยังช่วยให้องค์กรลดการซื้อซอฟท์แวร์เพื่อมาติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ ด้วยการใช้บริการ SaaS (Software as a Service) โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาติดตั้งโปรแกรม แค่ Log In เข้าระบบ Cloud ก็สามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่สมัครใช้งานในรูปแบบ SaaS เหนือขึ้นไปอีกขั้นสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีงบประมาณจำกัด สามารถเลือกใช้บริการ DaaS (Desktop as a Service) หรือพูดง่ายๆ คือการมีคอมพิวเตอร์ระดับเทพอยู๋บน Cloud
ด้วยบริการ DaaS จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีเพียงแค่เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกๆ และระบบปฏิบัติการที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ก็สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์สเปคเทพได้ผ่านบริการ DaaS ช่วยลดต้นทุนให้กับธุรกิจและยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานคอมพิวเจตอร์ได้อีกด้วย โดยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะอยู่บนระบบ Cloud
จับตา Blockchain เทคโนโลยีบน Cloud
อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดในยุคนี้คือ Blockchain ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่อยู่บน Cloud 100% โดยเทคโนโลยี Blockchain ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการซื้อขายเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) สกุล Bitcoin ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยมากที่สุดในยุคนี้ และสามารถป้องกันการโกงได้ด้วย แถมยังทำธุรกรรมต่างๆ ได้ฟรีแบบ 100%
ถ้าเปรียบเทคโนโลยี Blockchain ให้เห็นภาพง่ายๆ คงต้องเปรียบกับวงแชร์ แค่ว่า Blockchain ไม่มีเท้าแชร์หรือเจ้าภาพ หากแต่ว่าทุกคนในวงแชร์จะรู้ทุกครั้งว่าใครจ่ายเงินให้ใคร จ่ายเพื่ออะไร มูลค่าเท่าไหร่ จ่ายเมื่อไหร่ ซึ่งทุกคนจะมีสมุดบันทึกไว้คอยบันทึกธุรกรรมต่างๆ ทั้งของตัวเองและของทุกคน หากว่ามีธุรกรรมใดที่เกิดขึ้นโดยที่ทุกคนในวงแชร์ไม่รับรู้รับทราบ ถือว่าธุรกรรมนั้นเป็นการลักลอบทำธุรกรรม เป็นการทำผิด
หรือธุรกรรมใดที่มีข้อมูลผิดแผกแตกต่างไปจากที่ข้อมูลที่ทุกคนในวงแชร์รับรู้รับทราบ ก็ให้ถือว่าธุรกรรมนั้นเป็นการลักลอบทำธุรกรรม เป็นการทำผิด หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นแม้จะไม่มีการทำธุรกรรมใดๆ เลยก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิด โดยกระบวนการทุกอย่างที่เกิดขึ้นใน Blockchain จะเกิดขึ้นบนระบบ Cloud
ระบบ Cloud จึงถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการ Transform ไปสู่ธุรกิจรูปแบบดิจิทัล ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Cloud ในรูปแบบต่างๆ หลากหลายแพ็คเกจ แต่ทั้งนี้ คุณณัฐพลจากสยามราชธานี ย้ำว่า เนื่องจากธุรกิจต้องเข้าใจว่า ระบบดิจิทัลแม้จะมีประโยชน์มาก มีความปลอดภัย ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและลดต้นทุน แต่ก็ยังมีโอกาสที่ข้อมูลอาจรั่วไหลได้ ข้อมูลใดที่เป็นความลับทางธุรกิจมีความสำคัญมาก ก็ยังจำเป็นต้องใช้เอกสารเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล