ภายใต้ทุ่งหญ้าซาวันนาที่ล้อมรอบไปด้วยบรรดาเหล่าสัตว์ป่ามากมาย ทำให้เกิดวงจรชีวิตที่ต้องมีผู้ล่า แต่มีสัตว์อยู่ตัวหนึ่งได้รับสมญานามว่าเป็น ‘เจ้าป่า’ นั้นก็คือ ‘สิงโต’ ซึ่งการอยู่รอดในป่าได้นั้นจะต้องไม่เป็นผู้ล่าหรือผู้ถูกล่า จะว่าไปแล้วในแวดวงธุรกิจก็มักจะเปรียบเทียบสิงโตเป็น ‘ผู้นำ’ เพราะต้องใช้ทักษะหลาย ๆ อย่างที่คล้ายกัน โดยในบทความนี้อยากนำเสนอคู่มือทักษะการเป็นผู้นำในแบบฉบับของเจ้าป่าให้กับทุกคนที่อยากมีทักษะด้านผู้นำ
ทักษะผู้นำที่ดีเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในทีมหรือเจ้าของธุรกิจ เพราะผู้นำมักจะมีทักษะหลาย ๆ ด้านเช่น การโน้มน้าวใจคนในทีม การเข้าอกเข้าใจ รวมถึงการมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่เข้มแข็งเมื่อเผชิญกับปัญหา เป็นต้น ทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะอยู่ในบริบทใด เพศไหน อายุเท่าไร หรือดำรงสถานะพนักงาน ความเป็นผู้นำจึงเป็นทักษะที่ทุกคนควรมีติดตัว
7 ทักษะการเป็นผู้นำในแบบฉบับของสิงโตที่น่าสนใจ
อะไรก็ตามที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “ทักษะ” ย่อมหมายถึงสิ่งที่ต้องได้รับการฝึกฝนหรือปฏิบัติซ้ำ ๆ จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญ บางทักษะก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่าจะได้มาโดยเรามีทักษะมาแนะนำให้กับทุกคน ดังนี้
1.สร้างทีมงานให้เป็นราชาเหมือนสิงโต
งานที่จะประความสำเร็จได้ถ้าไม่มีผู้อยู่เบื้องหลังอย่างลูกทีม ดังนั้นการร่วมมือกันระหว่างลูกทีมเป็นส่วนสำคัญมากที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จ โดยผู้นำที่ดีต้องวางตัวกับลูกทีมให้เหมาะสม แบ่งหน้าที่หรือกระจายงานอย่างชัดเจน ไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิดพร้อมให้ความช่วยเหลือ และให้คำปรึกษา หากทีมงานมีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขเองได้ ให้ลูกทีมมีส่วนร่วมในการนำเสนอและตัดสินใจในโอกาสต่าง ๆ ก็จะทำให้ลูกทีมมีความสุขและไม่กดดันกับการทำงานกับเรา
2.ผู้นำที่ดีต้องรู้จักการแก้ปัญหา
ปกติของทุกการทำงานที่ต้องพบเจออุปสรรคและปัญหาจากทุกสิ่งที่สามารถไม่ได้ทันตั้งตัว หนึ่งในทักษะผู้นำที่ดีจำต้องรู้ถึงปัญหา วิเคราะห์ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา โดยผู้นำที่ดีต้องสามารถตัดสินใจและดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะการแก้ปัญหาเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับผู้นำทุกระดับ ทักษะการแก้ปัญหาจะช่วยให้ผู้นำสามารถจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที ยังสามารถนำพาทีมบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ได้สำเร็จ
3.เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
การเป็นผู้นำนั้นต้องเป็นคนที่มองเห็นภาพในอนาคต มองเห็นโอกาสหรือช่องทางต่าง ๆ ที่สามารถทำให้งานให้ประสบความสำเร็จได้ โดยผู้นำเช่นนี้มักจะมีแนวคิดนอกกรอบและมองหาวิธีใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาอยู่เสมอ และการมีวิสัยทัศน์กว้างไกลจะเป็นการเพิ่มโอกาสประสบความสําเร็จขององค์กรมากยิ่งขึ้น
4.เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
การไม่หยุดพัฒนาตนเองโดยการเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนหรือการพัฒนาทักษะเดิมให้เชี่ยวชาญเพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง นอกจากจะช่วยให้เก่งขึ้นแล้ว ยังช่วยให้เป็นตัวอย่างที่ดีของทีมได้อีกด้วย ซึ่งใครที่อยากพัฒนาตนเองก็สามารถเริ่มต้นเรื่องนี้ได้ด้วยการลงเรียนคอร์สต่าง ๆ ที่สนใจ เพราะในปัจจุบันการเรียนรู้ถือไม่มีที่สิ้นสุด
5.การใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและจุดอ่อน
ผู้นำควรทำความรู้จักบุคลิกภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน ของลูกทีม เพื่อช่วยส่งเสริมให้พวกเขาเติบโตในสายอาชีพ และบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้ ยังสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากจุดแข็ง จุดอ่อน การทำเช่นนี้จะทำให้ลูกทีมเข้าใจในศักยภาพของตนเองมากขึ้น และพัฒนาจุดอ่อนให้มีความท้าทายมากขึ้นอีกด้วย
6.ความฉลาดทางอารมณ์
ผู้นำต้องสามารถเข้าใจอารมณ์ของผู้ร่วมงาน รวมถึงภาษากาย หรืออารมณ์ที่อาจซ่อนอยู่ แม้ไม่ได้พูดออกมาตรง ๆ แต่ผู้นำที่ดีไม่ใช่แค่รู้ว่าลูกน้องรู้สึกอย่างไร แต่ยังต้องมีทักษะที่สามารถช่วยผลักดันทีมไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของผู้นำมีความสำคัญมาก เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและความสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้นำที่มี EQ สูงจะสามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้แก่
- เข้าใจและจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ดี
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
- โน้มน้าวผู้อื่นให้ทำตาม
- สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น
- จัดการความขัดแย้งได้ดี
7.บริหารเวลาให้เป็น
เมื่อตำแหน่งสูงขึ้น ภาระหน้าที่ก็มากตามไปด้วย ดังนั้น การบริหารเวลาจึงสำคัญเช่นกันเพราะสามารถการจัดระเบียบสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ในตามแผนการที่ตั้งไวแล้วยังช่วยให้งานต่าง ๆ มีความชัดเจนมากขึ้น และการทำตารางบริหารเวลาก็อาจจะช่วยให้บริหารงาน รวมทั้งทีมงานได้สะดวกยิ่งขึ้นอีกด้วย
สุดท้ายนี้ผู้นำไม่ใช่เพียงแค่คำเรียกตำแหน่งหน้าที่แต่เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องมี วิสัยทัศน์ ความฉลาดทางอารมณ์ และพฤติกรรมที่เหมาะสมกับองค์กร จึงสามารถกล่าวได้ว่าคนผู้นั้นมีภาวะผู้นำได้นั่นเอง