สรุปเทรนด์โลกล่าสุดจากงาน SXSW conference

  • 524
  •  
  •  
  •  
  •  

วันนี้เรามาตามดูเทรนด์โลกกันเถอะว่ากำลังหมุนไปทางไหน ใครทำงานอะไรจะได้ทราบว่าเราต้องพัฒนาหรือมีโอกาสอะไรบ้างในอนาคต เพราะเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้กำลังจะเข้ามาในเมืองไทยเช่นกัน

sxsw-2017

งาน SXSW เป็นงาน Festival ระดับโลกที่ใหญ่มาก มีทั้งหมวด Film, Music และ Interactive ที่เกี่ยวข้องในงานนี้ ดังนั้นนึกภาพได้เลยว่ามีผู้คนมากมายจากวงการเหล่านี้มารวมตัวกันเพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในงาน

ขอสรุปเทรนด์ที่เรียนรู้จากงาน SXSW ทางฝั่ง Interactive แบบย่อๆนะค่ะ เรามาติดตามกระแสโลกกันเถอะ

1) Design thinking การออกแบบเพื่อแก้ปัญหาให้มนุษย์

เป็นเรื่องที่พูดถึงมากคือกระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆอย่างลึกซึ้งโดยเอา user เป็นศูนย์กลางในการแก้ปัญหาและออกแบบและนำเอาแนวทางต่างๆนั่นมาทดสอบและพัฒนาเพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์นั้นๆดังนั้น Design ไม่ใช่แต่การออกแบบ”สิ่งของ”ใหม่ๆแต่มันต้องแก้ปัญหาให้มนุษย์ได้จริงมากกว่า

2) HI & AI (Human Intelligence VS Artificial Intelligence) ใครจะฉลาดกว่ากันนะ?

เป็นยุคที่เราพยายามสร้างเทคโนโลยีให้ฉลาดและช่วยงานมนุษย์ให้มากที่สุดเช่น smart home, chat bot, smart car และอื่นๆสิ่งที่ท้าทายขอสองประเด็นคือ

  • ธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ให้มากที่สุดตั้งคำถามว่าทำอย่างไรให้ AI ช่วยให้ธุรกิจทำงานฉลาดขึ้นหรือให้คุณค่าใหม่กับลูกค้าเช่นแบรนด์แปรงสีฟันจะช่วยให้ลูกค้าแปรงฟันสะอาดขึ้นได้อย่างไร?
  • มีบางสิ่งที่ AI ยังทำไม่ได้คือการเข้าใจเชิง emotional ที่ลึกซึ้งแบบมนุษย์ (แต่ตอนนี้มีหลายแบรนด์ระดับโลกพยายามพัฒนาสิ่งนี้อยู่และน่ากลัวมากเพราะมันจะมาแทนที่มนุษย์ได้!)

3) Fail fast, learn fast

คำนี้ได้ยินบ่อยมาก แต่เขาไม่ได้พูดแค่เก๋ๆไปวันๆ…แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จนั้นผ่านความล้มเหลวมามากมายจากการลงมือทำจริงเช่น Netflix ยังเคยฆ่า product ของตัวเองให้ตายเพราะพบว่ามันไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้จริงกว่าจะมาเป็น Netflix วันนี้เขาลองอะไรมามากมายขนาดบุ่มกดซื้อยังทดลองเป็นร้อยครั้งว่าสีอะไรตำแหน่งไหน copy อะไรดีที่สุด? ซึ่งหัวใจสำคัญของ concept นี้คือคุณต้อง “เรียนรู้” ความล้มเหลวด้วยมิฉะนั้นเรียกว่า “โง่มาก”พลาดแล้วไม่ได้อะไรมาเลย ดังนั้นลงมือทำและเรียนรู้คือหัวใจของการสร้าง S Curve

4) Transformation

คือการเปลี่ยนแปลงด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาดในต่างประเทศเรื่องนี้ตื่นตัวมากๆในทุกธุรกิจแต่ในประเทศไทยเรื่องนี้ยังช้ามาก (เริ่มเห็นวงการธนาคารและอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น ที่เริ่มเคลื่อนไหว) ใครทำงานวงการไหนอาชีพอะไร?

จงถามตัวเองว่าเห็นโอกาสของการปรับตัวเข้ากับ Digital Era ไหมถ้ายังไม่เห็น…ขอบอกว่าน่ากลัวมากๆเพราะซักวันหนึ่งคุณอาจถูกฆ่าแบบเลือดเย็น จริงๆทุกวันนี้หลายวงการก็ตายไปด้วยเหตุผลนี้แหละ

5) Post App/Web Era

น่าสนใจที่เทคโลยีนั้นสุดท้ายก็ต้องการความง่ายทำอย่างไรทำให้ประสบการณ์นั้น effortless ไม่พยายามมากเพราะลูกค้าทุกคนขี้เกียจ(จริงไหมคะ?) ชอบความสะดวกขั้นสูงสุดอนาคตการสั่งงานด้วย voice จะมาแรงมากรวมถึงทำให้ทุก Device ฉลาดและทำงาน offline ได้ … ดังนั้น interface ยากๆที่ลูกค้าต้องเรียนรู้เยอะๆนั้นเก็บทิ้งไปเลย

6) Blur of Reality

การมี immersive technology ทำให้มีความเบลอระหว่าง physical world, digital world และ stimulated world ด้วยเทคโนโลยี AR/VR คำถามคือจะกระทบธุรกิจคุณได้อย่างไร ? เราต้องตั้งคำถามว่าเราอยากสร้างประสบการณ์อะไรให้ลูกค้าเพื่อให้สินค้าและบริการของคุณมีคุณค่า?อะไรคือ Unmet needs ในธุรกิจของคุณ อันนี้คุณต้องเข้าใจลูกค้าให้ชัดก่อน ถึงจะส่งมอบคุณค่านั้นได้ด้วยการใช้เทคโนโลยี

7) Humanity

ต่อให้เทคโนโลยีไปเร็วแค่ไหนธุรกิจต้องไม่ลืมความเป็นมนุษย์เข้าใจเขามากที่สุดและมีส่วนร่วมในการทำให้ชีวิตของกลุ่มเป้าหมายดีขึ้นรวมถึงต้องไม่ลืมว่ามนุษย์ต้องการมากกว่าแค่ปัจจัย 4 เพราะ emotional value นั้นมีพลังมากมาย อย่ามัวแต่หาเทคโนโลยีที่ไม่มีประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย

ทั้งหมดนี้คือสรุปคร่าวๆ ท่านใดอยากเข้าใจเชิงลึก สามารถมาพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้นะค่ะ อยากเห็นแบรนด์คนไทยได้ไปข้างหน้าแบบแข็งแรงคะ

เขียนโดย บังอร สุวรรณมงคล
ผู้ก่อตั้งบริษัท Hummingbirds ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์โดยผ่านงานวิจัยการตลาด

อ่านบทความ Exclusive Insider เพิ่มเติมได้ที่นี่

Copyright © MarketingOops.com


  • 524
  •  
  •  
  •  
  •  
Bangorn Suwanmonkol
คุณบังอรหลงใหลในการวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์ เพราะเชื่อว่า Strategy สำคัญกว่า Tactic ปัจจุบันคุณบังอร เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Hummingbirds ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์ โดยผ่านงานวิจัยการตลาด