พฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนอย่างมากในปี 2020 ความไม่แน่นอนในอนาคตและมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมมีผลกระทบต่อหลายๆภาคธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่ต้องมีการพบหน้ากัน อาทิ ร้านอาหาร โรงแรม ท่องเที่ยว โรงภาพยนต์ ที่เจอกับยอดขายที่ตกลง
ในภาวะผันเปลี่ยนนี้ โมเดลธุรกิจที่เคยได้ผลในอดีตอาจจะไม่เวิร์คอีกต่อไปเลยส่งผลให้ธุรกิจหลายๆเจ้าต้องปิดตัวไป เว้นแต่ธุรกิจที่รอดจากสถานการณ์นี้ได้คือเจ้าที่ปรับโมเดลตัวเองและขยายจากตลาดเดิมของตัวเองได้
ถึงแม้ปีหน้าอาจจะมีวัคซีน เราไม่ทราบเลยว่าโลกต้องเผชิญกับภัยที่คาดไม่ถึงอีกเมื่อไร ดังนี้ การเตรียมพร้อม คือ ทักษะการอยู่รอดที่แท้จริง
สิ่งที่ธุรกิจควรทำและกรณีศึกษา
การที่จะประสบความสำเร็จในยุคแห่งความไม่แน่นอนนั้นต้องมีการเตรียมโมเดลธุรกิจไว้ 2 โมเดล ที่ต้องฝังรากลงไปถึงแก่นขององค์กร เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าได้
- โมเดลทางธุรกิจที่เน้นด้านการปรับตัวเพื่อความยืดหยุ่น (“Adaptive Model” for Resilience)
- โมเดลนักสำรวจเพื่อมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์ไหนๆ (“Explorative Model” for Untapped Opportunity)
กรณีศึกษาที่ 1 :Food Passion
Food Passion (ผู้นำในด้านธุรกิจร้านอาหารที่เป็นเจ้าของ Bar-B-Q Plaza, Jum Zapp และ RedSun) ทางธุรกิจประสบความท้าทายจากการมาตรการล็อคดาวน์ส่งผลให้ต้องหยุดการให้บริการสาขาที่มีมากกว่าร้อยสาขาลงทำให้รายได้หลักหายวับไปกับตาแต่ Food Passion ตอบโต้สถานการณ์ด้วยการปรับตัวอย่างรวดเร็ว เฝ้าติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา เตรียมแผนรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และพฤติกรรมผู้บริโภค กระบวนการเหล่านี้นำมาสู่การออกสินค้าและช่องทางการขายใหม่ๆและบทเรียนสำหรับแผนธุรกิจในอนาคตทั้งระยะสั้นและระยะยาว
Key activities ที่ช่วยให้ Food Passion สามารถฝ่าฝันวิกฤตที่ผ่านมาและประสบความสำเร็จที่แสดงให้เห็นผ่านการที่รายรับเติบโตขึ้นมาเป็นสองเท่า สามารถแสดงได้เป็น 3 เฟสดังนี้
เฟส 1 การจะรอดในวิกฤตต้องมีกระแสเงินที่แข็งแกร่งและช่องทางรายได้ที่หลากหลาย
- Gon Delivery (ก๊อนเดริเวอลี่) cloud kitchen หรือครัวจำลองที่ต่างจากสมัยก่อนที่จะดิริเวอรี่ผ่านสาขาต่างๆแต่ในระบบนี้จะมีแค่ครัวกลางปราศจากหน้าร้าน ระบบนี้จะช่วยดึงศักยภาพของธุรกิจเดลิเวอรี่พร้อมทั้งยังได้เปิดตัวเมนู a la carte เพื่อที่จะสร้างความ ว้าว จากเมนูบาร์บีคิวที่มีอยู่แล้ว
- บริการใหม่ ก๊อนชุด do it yourself และ ก๊อนปาร์ตี้สุขสันต์ สามารถสร้างยอดขายจากวัตถุดิบที่มีอยู่แม้ว่าจะมีการปิดหน้าร้านและยังสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆผ่านการนำเสนอบริการรูปแบบใหม่ ช่วงล็อคดาวน์ที่ต้องมีการกักตัวทำให้ผู้คนรู้สึกเหงาและเบื่อเลยเป็นโอกาสของเจ้าบริการใหม่ที่จะมาแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคโดยการเตรียมทั้งวัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับบาร์บีคิวให้ลูกค้ามาปาร์ตี้แก้เหงากับเพื่อนหรือทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัว
เฟส 2 กระจายความเสี่ยงโดยมองให้ไกลกลว่าธุรกิจที่ทำอยู่ปัจจุบัน
- แก๊งก๊อนช๊อปปิ้ง เพิ่มการขายสินค้านอกเหนือจากอาหารไม่ว่าจะแก้ว ถุงผ้า หรือ สินค้าที่ต้องมีติดตัวในยุคโควิดอย่างสเปรย์แอลกอฮอล์
- บริการใหม่ที่อยู่ในช่วงทดลองอย่าง ก๊อนในซุปเปอร์มาเก็ต ที่ให้ขายวัตถุดิบพร้อมปรุงให้ลูกค้าที่มาซื้อของที่ห้างแม้ว่าจะใช้บริการของบาร์บีก๊อนไม่ได้แต่ก็ยังสามารถซื้อเซ็ตของบาร์บีก๊อนกลับไปปรุงกินที่บ้านตามวิถี new normal
- ธุรกิจใหม่ซึ่งมาในรูปแบบของเฟรนไชซ์ในชื่อของ หมูทอดกอดคอ เพื่อขยายตลาดในประเทศโดยผ่านการหาพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ
เฟส 3 หาลูกค้าใหม่ๆและรักษาฐานลูกค้าเก่าไว้
บริการรูปแบบใหม่ที่ให้ลูกค้าได้ subscribe เพียง 600 บาทแล้วรับสิทธ์ e-voucher ที่สามารถใช้ได้กับทุกร้านในเครือและจะเพิ่มทีละเดือนจนถึงเดือนละ 1000 บาทแต่ก็มาพร้อมกับโปรโมชั่นที่คิดมาเพื่อลูกค้าโดยเฉพาะมากขึ้น บริการนี้เป็นตัวขับเคลื่อนให้ลูกค้ารักในแบรนด์มากขึ้นรวมถึงติดใจในสิทธิพิเศษ
กรณีศึกษาที่ 2 : โรงพยาบาลสมิติเวช
การปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิตอลเพื่อมอบคุณค่าให้ลูกค้า เพื่อรับศึก 2 ช่องทางไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์
ช่วงโควิด ก่อให้เกิดความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการหาหมอทางไกลไม่ว่าจะทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ปัจจัยภายนอกจากความเสี่ยงที่จะมาติดเชื้อโควิดจากการใช้บริการในโรงพยาบาล ปัจจัยภายในจากการเคสผู้ป่วยบางรายต้องมีการดูแลอย่างต่อเนื่องและครบวงจรอาทิ เบาหวาน เหตุการณ์เหล่านี้กระตุ้นให้โรงพยาบาลต้องรีบสร้างโซลูชั่นการหาหมอทางไกลเพื่อจะยังสามารถให้บริการลูกค้าได้จนทำให้เกิดการยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรม
ตัวอย่างเช่น สมิติเวชได้ออกคลินิคจำลองและแอพสมิติเวชยังพัฒนาให้ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ได้รับการตรวจและฉีดวัคซีนเพียงแค่อยู่บ้าน ทำให้ช่องนี้ได้มีอัตราการเติบโตสูงมากในช่วงที่ผ่านมา
Key Takeaway: เอาตัวรอดจากการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ
- ตัดราคาไม่ใช่ทางเลือกที่ดี : การทำการตลาดในช่วงวิกฤต ไม่ใช่แค่ตัดราคาหรือลดราคา แต่ต้อง แสวงหาคุณค่าในวิธีใหม่ ๆด้วย
- ปัญหา คือโอกาสทางการตลาด : ลูกค้าจะเลือกแบรนด์ที่แก้ปัญหาเขาได้ในปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้น
- การปรับตัวคือหัวใจใหม่ขององค์กรยุคนี้ : ความสำเร็จเดิมอาจจะไม่ได้ผล เราต้องปรับตัวเพื่อมองหาความสำเร็จใหม่ การปรับตัวคือหัวใจสำคัญของโลกที่ไม่แน่นอนนี้
เรียบเรียงและศึกษาข้อมูลโดย Hummingbirds Consulting