หลากหลายมุมมองต่อ AI ที่จะมาเปลี่ยนแปลงงานและอาชีพในปัจจุบัน

  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  

บริษัทควรเข้าใจมุมมองหลายๆมุมมองต่อ AI ที่จะมาเปลี่ยนแปลงงานและอาชีพในปัจจุบัน ในรายงานของ Accenture ได้สำรวจผู้บริหารกว่า 1,200 คนทั่วโลก 75% มองว่าบริษัทที่ตัวเองทำงานให้กำลังลงทุนทางด้าน AI อยู่ 72% ตระหนักดีถึงเครื่องมือใหม่ๆที่บริษัทต้องใช้เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บางคนบอกว่ากำลังเปลี่ยนองค์กรของบริษัทเพื่อรองรับอนาคตอยู่

แต่อนาคตที่บริษัทจะไปนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหาร หรือแม้แต่พนักงานบริษัทจะมองอย่างไรต่ออนาคตมากกว่า และนี่คือ 5 มุมมองต่ออนาคตที่เป็นไปได้เกี่ยวกับผลกระทบจาก AI

 

1. AI จะมาทำงานแทนคนทุกชนชั้น

จะเกิดการตกงานครั้งมโหฬาร เราจะเข้าสู่ยุคที่แรงงานคนกับหุ่นยนต์จะแข่งขันกัน และสุดท้ายหุ่นยนต์ก็จะชนะ หัวใจงานของแต่ละอาชีพที่มีอยู่ปัจจุบัน ไม่ว่าจะใช้แรงงานมากหรือใช้สมองมาก AI จะสามารถทำแทนได้หมด คนตกงานเยอะ ค่าแรงจะถูกลง การบริโภคในประเทศจะเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของ GDP แต่ละประเทศ แค่ในอเมริกาหรือยุโรปก็ราว 56% หรือ 69% เข้าไปแล้ว รัฐบาลจะต้องเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของรายได้ของคนในประเทศ

 

2. คนจะหันมาทำงานในอาชีพที่ AI ไม่สามารถทำได้มากขึ้น

มุมมองนี้เหมือนกัยมุมมองแรกตรงที่ว่าหุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานแทนคนได้ก็จริง แต่ความมั่งคั่ง เศรษฐกิจ ค่าแรงต่างๆจะเฟื่องฟูมากกว่าเดิม เพราะคนหันมาทำงานในด้านที่ AI ทำไม่ได้ อาชีพที่ไม่ต้องใช้แรงมากนัก หรืองานที่ไม่ได้ทำซ้ำๆซากๆ อาชีพพวกนี้จะได้รับความนิยม ทำให้คนหันมาพัฒนาทักษะหรือพรสวรรค์เพื่อทำอาชีพที่ AI ทำไม่ได้

 

3. AI จะทำได้อย่างมากแค่แบ่งเบาภาระของพนักงาน ให้พนักงานได้ผลงานมากขึ้นเพียงแค่นั้น

เพราะไม่ใช่ทุกบริษัทที่พร้อมเอา AI มาทำงานแทนพนักงาน หลายๆบริษัทอาจจะเอา AI มาใช้แล้ว บางบริษัทก็กำลังศึกษาวิธีใช้งาน และกำลังเปลี่ยนกลยุทธ์และโมเดลธุรกิจให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่จะเอามาใช้อยู่ แต่ที่แน่ๆคือการเอา AI มาใช้ ทำให้พนักงานทำผลงานมากขึ้น ได้รายได้มากขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น

แต่ถึงอย่างนั้นความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจก็มีมากขึ้นตาม เพราะบางอาชีพอาจจะถูก AI ทำงานแทนไปเลยก็ได้ บางอาชีพก็รอด บางอาชีพ AI ก็ทำแทนได้ไม่หมด ฉะนั้นแต่ละประเทศควรลงทุนเรื่องของการศึกษาและมีนโยบายการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม

 

4. ต่อให้มีหุ่นยนต์ พนักงานจะยังทำผลงานได้เท่าเดิม

มุมมองนี้ มองว่าต่อให้มีเทคโนโลยีก็จริง แต่ปัญหาด้านอื่นๆจะคอยรั้งผลผลิตของแรงงานในแต่ละประเทศอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ ความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจ ต้นทุนในการจัดการปัญหาภาวะโลกร้อน GDP จะไม่ได้ขยายอะไรมากนัก

 

5. อาชีพใหม่ๆจะเกิดขึ้นตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น

พนักงานจะทำผลงานได้มากขึ้น แต่เฉพาะบางอุตสหกรรม บางภาคส่วนเท่านั้น อาชีพที่ AI ทดแทนได้จะหายไป คนที่ทำอาชีพนั้นอาจเสี่ยงตกงาน แต่เทคโนโลยีใหม่ๆก็สร้างงานและทักษะใหม่ๆ อาชีพใหม่ก็เกิดขึ้น คนก็หันไปทำอาชีพนั้นมากขึ้น

แล้วเราควรจะทำอย่างไรต่อจากนี้ดี?

1. ใช้เทคโนโลยีเพิ่มทักษะให้กับแรงงานคน และปรับเปลี่ยนโมเดลการทำงานของธุรกิจ

บริษัทที่คิดแต่หาทางเอาหุ่นยนต์ทำงานแทนคนเพื่อลดต้นทุน สุดท้ายบริษัทนั้นอาจตกที่นั่งลำบาก พูดอีกอย่างคือบริษัทควรคิดไปให้ไกลกว่านร้ เช่นหาทางให้หุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติมาแบ่งเบาภาระของแรงงานคนแทน

มีงานวิจัยคาดว่าการใช้หุ่นยนต์จะช่วยลดงานของคนที่ไม่ได้เพิ่มคุณค่าให้กับบริษัทไปถึง 25% ส่วนพนักงานเองก็ไม่ได้มองว่าหุ่นยนต์เป็นภัยต่องาน แต่กับเป็นผู้ช่วยงานที่ดี งานที่มีลักษณะเป็น Routine ก็จะให้หุ่นยนต์ทำได้ AI ยังถูกใช้มาพัฒนาเครื่องมือด้าน Analytics ให้เราได้พัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆได้อีก

 

2. ใช้โอกาสจากเทคโนโลยี มาปรับปรุงเนื้อหางานต่างๆ และดีไซน์องค์กรใหม่หมดดีกว่า

เพราะในเมื่อมีบางมุมมองบอกว่าหุ่นยนต์จะช่วยแบ่งเบาภาระงาน ก็อยากให้บริษัทถือโอกาสทบทวนไปเลยว่า งานในบริษัทมีอะไรบ้าง พนักงานแต่ละคนทำอะไร มีตรงไหนที่ซ้ำซ้อนกันบ้าง มีงานไหนที่ต้องทำซ้ำซาก งานไหนที่ไม่ค่อยได้ทำบ่อย แต่มีคุณค่าต่อบริษัทและไม่สามารถให้หุ่ยนต์ทำแทนได้ และงานไหนที่พนักงานบริษัทไม่เคยทำ แต่ต้องทำในอนาคตเพื่อรองรับการเข้ามาของเทคโนโลยี

ซึ่งหากคุยกันในประเด็นนี้ ทุกคนในแต่แผนกต้องยินดีที่จะแบ่งปันข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการทลาย Organizational Silo เอาระบบอัตโนมัติเข้ามาในสมการโมเดลการดำเนินงานธุรกิจ

 

3. เร่งพัฒนาทักษะของพนักงานรองรับเทคโนโลยี

นาทีนี้เชื่อว่าพนักงานเห็นความสำคัญของทักษาะที่รองรับการเข้ามาของเทคโนโลยีมากกว่านายจ้างหลายๆคนเสียอีก การสละทรัพยากรมาฝีกพนักงานให้เตรียมพร้อมงานที่จะมาพร้อมกับเทคโนโลยีจะทำให้พนักงานทำงานได้มากขึ้น และอยู่รอดไปพร้อมกับธุรกิจ เทคโนโลยีนั้นไม่ช้าก็เร็วก็จะกลายเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทก็มี (เหมือนสมาร์ทโฟนที่ตอนนี้ ใครๆก็มี)

แต่ไม่ใช่ทุกบริษัทที่มีพนักงานที่พร้อมทำงานกับเทคโนโลยีที่ว่าแน่ๆครับ

 

 

แหล่งอ้างอิง How AI Changes Work? โดย Mark Knickrehm จาก Artificial Intelligence: Harvard Business Review


  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th