
ในปลายปี 2014 Youtube มียอด View ราว 4 พันล้านต่อวัน ตอนนั้นเรียกได้ว่าไม่มีแพลดฟอร์มวีดีโอตัวไหนที่สู้ Youtube ได้อีกแล้ว ขณะที่จำนวนวีดีโอบน Facebook มีแค่ 25% ของคอนเทนต์ทั้งหมดใน Facebook แค่นั้นเอง
แต่พอในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015 (ครบรอบ 10 ปี Youtube) เกมกลับพลิก Facebook อ้างว่ายอด View คอนเทนต์วีดีโอของ Facebook แซงหน้า Youtube ไปแล้ว
เกิดอะไรขึ้นกับ Facebook ในช่วงนั้น?
Source: komando.com
คอนเทนต์วีดีโอบน Facebook กับ Youtube ต่างกันอย่างไร?
คอนเทนต์วีดีโอบน Facebook จะอยู่ใน Ephemeral Network เหมือนวีดีโอบน Instagram, Snapchat, Periscope และ Tiktok มันเป็นคลิปวีดีโอที่ออกแบบมาสำหรับให้คนได้มีปฏิสัมพันธ์ มี Interaction วีดีโอกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ที่มีคุณค่าให้ไลค์ คอมเมนต์ แชร์ แทบไม่มีคุณค่าให้ค้นหา แต่กลับเป็นคอนเทนต์ที่มีจำนวนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
Source: socialbakers.com
ส่วนคอนเทนต์วีดีโอบน Youtube จะตรงกันข้ามกับ Facebook คือจะอยู่ใน Archival Network เหมือนวีดีโอบน Vimeo และ DailyMotion เป็นวีดีโอที่แต่เดิมไม่ได้ออกแบบมาให้มีปฏิสัมพันธืกับคนดู แต่มีไว้ให้ดูและรับประสบการณ์จากการเสพย์คอนเทนต์อย่างจริงๆจังๆ ทำให้มีคุณค่าในการเสิร์ชหรือค้นหา
Source: Search Engine Journal
Youtube ไม่ได้ชัดเจนใน Platform Identity แต่แรก
ช่วงรุ่งเรืองของ Youtube นั้น อย่างที่จั่วหัว Youtube ไม่ได้ชัดเจนใน Platform Identity แต่แรกว่า Youtube จะเป็นแพลตฟอร์มคอนเทนต์ เป็นสื่อสังคมออนไลน์ หรือเป็นศูนย์รวมของประสบการณ์ที่มีปฏิสัมพันธ์ได้ เอาแบบไหนกันแน่?
แต่สุดท้ายอย่างที่รู้กันในตอนนี้ว่า Youtube ตัดสินใจมอบประสบการณ์การดูวีดีโอที่ได้มาตรฐาน มีโมเดลธุรกิจจากโฆษณาที่เล่นก่อนและคั่นระหว่างตัวคอนเทนต์วีดีโอ และมี Youtube Red เป็นบริการใหม่แบบ Subscription ดูได้ ไม่มีโฆษณาคั่น
Source: India Today
ฟังก์ชัน Auto-Play Video ของ Facebook: จุดพลิกเกมวีดีโอคอนเทนต์
บอกตามตรงว่า Facebook จริงๆไม่ได้เริ่มจากการทำวีดีโอคอนเทนต์ แต่เริ่มจากการเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมคนในชุมชนเข้าหากัน ในขณะที่ Youtube เองก็ไม่ได้เป็นแพลตฟอร์มให้คนเข้าไปคอนเมนต์ กดไลค์ กดแชร์วีดีโอแต่แรก เพียงแต่เป็นเหมือนห้องสมุดวีดีโอ ให้คนได้ค้นหาแล้วเข้าไปดูแค่นั้นเอง
แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้น ทำให้ Facebook เริ่มคิดค้น “Auto-Play Video”
Source: Newsfeed.org
ฟังดูเป็นเรื่องปรกติมากตอนนี้ เพราะเวลาเราเล่น Facebook บนมือถือ ปัดนิ้วโป้งขึ้นเรื่อยๆ วีดีโอก็เล่นของมันเอง แต่รู้หรือเปล่าว่า ฟังก์ชั่น Auto-Play Video บน Facebook นี่แหละ คือตัวเปลี่ยนเกมที่ทำให้ยอดวิววีดีโอทั้งหมดของ Facebook แซงหน้ายอดวิวของ Youtube ในที่สุด
ฟังถึงตรงนี้ หลายคนคิดว่าแน่นอนล่ะ อยู่ๆวีดีโอมันก็เล่นเอง ยอด View ก็ได้ง่ายกว่า Youtube ที่นับยอด View ก็ต่อเมื่อคนไปกดปุ่ม Play อยู่แล้ว ฟังดู View ของ Youtube มีคุณภาพกว่าเพราะคนตั้งใจกดเข้าไปดูวีดีโอ และเหมือน Facebook โกงยอด View เลย
แต่ผลกระทบมันมีมากกว่านั้น ในแง่ของการทำคอนเทนต์
การทำคอนเทนต์วีดีโอบน Facebook ได้ฉีกกฎการทำวีดีโอแบบเดิมๆ
ที่มาของ Auto View Video ของ Facebook เกิดจากตอนแรกที่ Facebook ไม่ไดเป็นแพลตฟอร์มวีดีโอแต่แรก แต่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ เวลาคนแชร์วีดีโอจากที่อื่น ก็แค่แปะลิงค์บน Facebook แต่พอ Facebook เริ่มขยับเล่นเรื่องของคอนเทนต์วีดีโอ Auto View Video ก็ช่วยดันคอนเทนต์วีดีโอขึ้นเยอะ รวมถึงการมี Facebook Live ด้วย
ที่น่าสังเกตคือ Facebook พยายามแนะนำเหล่าคนทำคอนเทนต์ว่า คอนเทนต์บน Facebook ที่ดีควรจะทำให้คนนั้น “หยุดนิ้วโป้ง” ให้ได้ ซึ่งเข้าใจได้ไม่ยาก ฉะนั้นการทำหน้าปกวีดีโอหรือ Thumbnail คนทำคอนเทนต์รู้ดีว่า ไม่ควรใส่สินค้า บริการหรือโลโก้บน Thumbnail ไม่เช่นนั้น คนก็รู้สึกว่าวีดีโอนั้นเป็นวีดีโอขายของ
แต่ด้วยฟังก์ชั่น Auto Play Video วีดีโอก็จะเล่นเองอยู่ดี ต่อให้คนดูไม่สนใจก็ตาม ทำให้ต่อมา Facebook แนะนำว่าควรจะใส่รูปสินค้า บริการโลโก้บน Thumbnail ของวีดีโอบน Facebook ไปเลย เผื่อคนที่สนใจสินค้า โลโก้บน Thumbnail ก็จะหยุดนิ้วโป้ง แล้ววีดีโอก็จะเล่นเอง (ส่วนคนไม่สนใจ วีดีโอก็เล่น)
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า Video View บน Facebook แบบไหนเป็น View คุณภาพ? (เพราะไม่เหมือน View บน Youtube ที่แน่ใจว่ามีคุณภาพระดับหนึ่งเพราะคนตั้งใจกด Play) คำตอบคือ Facebook มี 3-seconds-play View กับ ThruPlay ให้เราได้ดูบน Ad Manager
สรุปคือวีดีโอบน Facebook และสื่อสังคมออนไลน์ได้รับความนิยมมากกว่าวีดีโอบน Youtube เพราะ ฟังก์ชั่น Auto Play และตัววีดีโอที่ถูกออกแบบเพื่อการตอบโต้ ที่พูดมาทั้งหมดไม่ได้จะบอกว่าคนจะเทคอนเทนต์วีดีโอบน Youtube นะ แต่ Youtube ยังถูกมองว่าเป็นห้องสมุดของวีดีโออยู่ อยากดูวีดีโออะไร ก็สามารถพิมพ์แล้วค้นหาได้
เพียงแต่การแชร์และการถูกพูดถึงต่อๆกันไปนั้น กลับไม่ได้เกิดขึ้นบน Youtube แต่ไปเกิดกับแพลตฟอร์มอื่นแทน
แหล่งอ้างอิงส่วนหนึ่งจาก The Digital Ecosystem โดย Miles Young และ Non-executive Chariman of Ogilvy and Mather จาก Ogilvy on Advertising in the Digital Age