มีคนหลาย ๆ คนนั้นพยายามจะทำทุก ๆ อย่างในชีวิตนั้นให้ไม่มีความผิดพลาด ปิดจุดบกพร่องทั้งหมด และแสวงหาความสมบูรณ์แบบ แต่ในความจริงแล้วความสมบูรณ์แบบนั้นมีจริงไหม และความสมบรูณ์แบบนั้นจะทำทุกอย่างในชีวิต รวมทั้งชิ้นงานให้ดีขึ้นไหม นั้นเป็นคำถามที่คนทำการตลาด รวมทั้งผู้ประกอบการณ์นั้นแสวงหาคำตอบ และคำตอบในตอนนี้ที่บอกกันคือ ความสมบูรณ์แบบนั้นไม่มีจริง และความไม่สมบูรณ์แบบนั้นสวยงามและน่าดึงดูดกว่าเสมอ
ความสมบูรณ์แบบนั้นเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนต้องการเพราะอยากได้ผลงานที่ไม่ต้องแก้อะไร และสร้างความพอใจให้กับทุก ๆ คนได้ แต่หลาย ๆ ครั้งในทางจิตวิทยานั้นความสมบูรณ์แบบนั้นอาจจะนำไปสู่การคิดที่ไม่ได้อะไรออกมา และไปมีจุดจบที่ไม่ได้อะไรเลยออกมา เพราะมัวแต่ทำให้สมบูรณ์แบบ นอกจากนี้การคิดในการแสวงหาความสมบูรณ์แบบนั้น การคิดเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ขึ้นมาอาจจะเป็นเหตุให้เกิดความเครียดอย่างมาก ศิลปินดัง ๆ ในอดีตพยายามหาความสมบูรณ์แบบหลาย ๆ คนต้องแลกกับหลายสิ่งหลายอย่างจนไม่ได้อะไรออกมา ดังเช่น Michelangelo ที่สลักรูป Duomo Pieta ที่ถือว่าเป็นผลงานที่ดีที่สุดและมาทุบในปี 1555 เพราะความเครียดในการหาความสมบูรณ์แบบของรูปปั้นนี้ Leonardo Da Vinci นั้นได้ให้คำพูดในเรื่องความสมบูรณ์แบบของศิลปินไว้ว่า งานศิลป์นั้นไม่เคยทำเสร็จ แต่มันถูกปล่อยทิ้งไว้ “Art is never finished, only abandoned.” นั้นเป็นตัวอย่างการแสวงหาความสมบูรณ์นั้นไม่มีวันเป็นจริงได้
ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์หรือซอฟท์แวร์นั้นเป็นตัวอย่างได้อย่างดีในเรื่องความสมบูรณ์แบบ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือซอฟท์แวร์นั้นเป็นกระบวนการที่ไม่สามารถทำให้สมบูรณ์ได้ การแสดงหาความสมบูรณ์ในการพัฒนานั้นหรือทำให้เรียกว่าเสร็จ 100% สมบูรณ์แบบนั้นสิ่งที่ต้องแลกมาคือการที่ผลิตภัณฑ์นั้นอาจจะไม่ได้ออกสู่ตลาดเลย เลวร้ายน้อยที่สุดคือการที่ผลิตภัณฑ์นั้นออกไปทันตลาดและกลายเป้นว่าตกกระแสไป การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือซอฟท์แวร์นั้นจะทำเพียงแค่สำเร็จในจุดหนึ่งแล้วต้องเอาสู่ตลาดทันทีเพื่อทดลองเช่นมี Alpha Test, Beta Test เมื่อถึงระดับที่พร้อมใช้แล้วจึงเป็น Public use ออกไป แต่ใน Public Use นี้สมบูรณ์แบบไหม คำตอบก็คือไม่เพราะก็ยังมีช่องว่างหรือจุดต้องปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาทำให้เราจะเห็นซอฟท์แวร์นั้นมีการอัพเดทหรือเปลี่ยนแปลงหน้าตาอยู่เสมอ เป็นกระบวนการที่แก้ไป ทำไประหว่างการใช้จริงที่ออกไป ถ้าซอฟท์แวร์หรืออุปกรณ์ไฮเทคทั้งหลายนั้นมัวแต่แสวงหาความสมบูรณ์แบบก่อนออกจริงแล้วละก็ สิ่งที่เกิดขึ้นคืออาจจะต้องแก้ผลิตภัณฑ์นั้นไม่รู้จักจบสิ้น จนสุดท้ายอาจจะไม่ได้ออกเลย
แต่กระบวนการสร้างความสมบูรณ์แบบนั้นมีประโยชน์ไหม คำตอบคือมีก็ต่อเมื่อผู้แสวงหานั้นรู้จักจุดที่ต้องหยุดและต้องเริ่มลงมือทำ หรือปล่อยเข้าสู่ตลาด เพราะการแสวงหาความสมบูรณ์แบบนั้นคือการสร้างทักษะหนึ่งในยุคนี้ที่เป้นประโยชน์อย่างมากที่เรียกว่า Craftsmanship นั้นคือทักษะที่ทำให้หลาย ๆ ผลิตภัณฑ์หรือคนที่ทำนั้นกลายเป็นตำนานได้ เช่นในอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นที่เชื่อว่าสิ่งที่ทำนั้นยังไม่ดีที่สุดและสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ในผลิตภัณฑ์ถัดไป ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมานั้นดีขึ้นเรื่อย ๆ เดังตัวอย่างที่หลาย ๆ คนได้เคยเห็นไปแล้วกับ Jiro The Dream of Sushi ที่แสวงหาความสมบูรณ์แบบในอาหารที่ทำออกมาในทุก ๆ วัน ทำให้ทุก ๆ ครั้งที่ทำจะมีทักษะทางฝีมือที่เพิ่มขึ้นและทำให้ได้สิ่งที่ดีขึ้นในทุกวันที่ทำออกมา
httpv://www.youtube.com/watch?v=I1UDS2kgqY8
Mark Cuban ผู้ประกอบการและนักลงทุนชื่อดังในรายการ Shark Tank ได้ให้ความเห็นที่สำคัญในเรื่องความสมบูรณ์แบบไว้ในงาน Advertising Week ที่ผ่านมาเมื่อเดือนกันยายน ความสมบูรณ์แบบนั้นเป็นตัวการขัดขวางความสำเร็จ เพราะ Mark Cuban นั้นมองว่าไม่มีใครในโลกนั้นสมบูรณ์พร้อมทั้งหมด และการที่พยายามจะสร้างความสมบูรณ์ขึ้นมา อาจจะทำให้เรามองข้ามในข้อดีตัวเองที่จะสามารถสร้างเสริมให้แข็งแรงหรือพัฒนาจุดแข็งของตัวเองไปและเสียเวลาที่จะทำจุดอ่อนให้กลายเป็นความสมบูรณ์ขึ้นมา ซึ่งเขาแนะนำว่าในการทำงานนั้นเพื่อที่จะให้สมบูรณ์แบบที่สุดนั้นคือการหาความร่วมมือของคนแล้วมาทำงานร่วมกัน มาปิดจุดอ่อนซึ่งกันและกันนั้นเอง และนั้นจะพาไปสู่ความสำเร็จได้ไกลกว่าความพยายามของตัวเองที่จะสมบูรณ์แบบที่สุดให้ได้ ทั้งนี้ใครที่เชื่อว่าตัวเองสมบูรณ์แบบที่สุดแล้วนั้นหรือสร้างผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบแล้วนั้นจะกลายเป็นสิ่งที่ขัดขวางการพัฒนาทุกอย่างของตัวเองไป เพราะเมื่อตัวเองคิดว่าสมบูรณ์แบบแล้วนั้นจะไม่เกิดการพัฒนาในสิ่งใหม่ ๆ หรือหยุดที่จะทำให้ดีขึ้นกว่าเก่า ซึ่งสุดท้ายแล้วตัวเองนั้นละจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่สำเร็จเอาเสียเองในการทำงาน
ความสมบูรณ์แบบนั้นไม่มีจริง แต่การแสวงหาความสมบูรณ์แบบนั้นจะพาตัวเราไปให้ได้ไกลกว่าเดิมแน่นอน นอกจากนี้จุดคิดว่าความไม่สมบูรณ์แบบนั้นสวยงามและสำคัญกว่า เพราะเมื่อหาจุดบกพร่องได้แล้ว เราจะสามารถพัฒนาหรือหาทางที่จะทำสิ่งต่อไปให้ดีขึ้นได้