เหตุผลเบื้องหลังทางจิตวิทยาที่ทำให้คุณติดโซเชียลมีเดีย

  • 11
  •  
  •  
  •  
  •  

social media addict

จะเรียกทศวรรษที่ผ่านมาว่าเป็นยุคทองของโซเชียลมีเดียก็คงไม่ผิดนักใช่ไหมครับ มองไปทางไหนใครๆ ก็เล่นโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Facebook ที่นอกจากจะเล่นเพื่อความสนุกสนานแล้ว ยังเล่นเพื่ออัพเดทข่าวสาร ทำการค้าขาย ติดต่อธุระสำคัญ ละเลยไปถึงให้มาร์เกตเตอร์อย่างเราๆ เข้ามาศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคอีกด้วย

ล่าสุด Google จัดให้ Facebook เป็นเว็บไซต์อันดับหนึ่งที่ผู้คนใช้เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อและสื่อสารระหว่างกันจากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม “การเชื่อมโลกเข้าไว้ด้วยกัน” เป็นคุณสมบัติเพียงส่วนเดียวที่ทำให้ Facebook ประสบความสำเร็จถล่มถลาย นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า Facebook ไม่เพียงแต่ช่วยให้เราติดต่อกับญาติสนิทมิตรสหายง่ายขึ้น มันยังช่วยเติมเต็มความต้องการพื้นฐานของเราให้เต็มตื้นอีกด้วย มาดูว่าเบื้องหลังฉากหน้าที่แสนเรียบง่ายของ Facebook โซเชียลมีเดียนี้ส่งผลอย่างไรต่อจิตใจของเราบ้าง

ความเคารพในตัวเอง

การเคารพตัวเองเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากในสุขภาพจิตของเรา หากเราเคารพตัวเองจิตใจของเราจะฟอร์มข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองอย่างเป็นระบบและสะท้อนมันออกไปทางความคิด การพูดจา การใช้เวลาว่างและอื่นๆ อีกมากมาย เช่น หาก “การเป็นนักกีฬา” ไม่สำคัญกับชีวิตคุณเท่าไหร่นัก เมื่อมีงานกีฬาสีโรงเรียนคุณก็จะไม่พุ่งเข้าไปสมัครเป็นนักกีฬาหรอก แต่หากคุณรับรู้ตัวเองว่าเป็น “นักเรียนสมองเพชร” แข่งท่องศัพท์คืองานที่คุณต้องพยายามเอาชนะให้จงได้

Facebook profiles เป็นส่วนที่ทำให้เราภูมิใจในตัวเองเพราะเมื่อเราระบุการศึกษา งานอดิเรก จำนวนเพื่อน และสิ่งที่สนใจก็ถือเป็นการบอกจิตใต้สำนึกไปในตัวว่า “ฉันภูมิใจในสิ่งนี้” พร้อมๆ กันเพื่อนๆ ก็จะรับรู้ว่าคุณเป็นอย่างไรผ่านสิ่งเหล่านั้นเช่นกัน นอกจากนี้ หากมีพวกเกรียนมารบกวนความภูมิใจในตัวเองของเราก็คลิก delete มันไปซะเลย (บน webboard คุณไม่สามารถทำได้)

การบริหารความประทับใจ

กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ผู้คนพยายามบังคับให้แฟนคลับรับรู้ภาพลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งของตัวเอง พวกเขาตั้งกฏ ควบคุมข้อมูลที่เขาส่งออกไประหว่างการสื่อสารบนโซเชียลมีเดียทุกอย่าง จุดมุ่งหมายทั้งหมดก็เพื่อ “เป็นที่รัก”

สิ่งที่น่ารักของ Facebook ประการแรกคือ คุณสามารถคิดนานเท่าไหร่ก็ได้ก่อนจะโพสต์สเตตัส และยังไม่ต้องกังวลกับอวัจนภาษา (ภาษาท่าทาง) ของคุณอีกด้วย หลังจากนั้นเราก็จะสร้างสัญญาณอันชัดเจนและไม่ชัดเจนว่า “ฉันนะป็อบนะจ๊ะ” ขึ้นมา

สัญญาณที่ชัดเจนก็เช่นทุกอย่างที่เป็นรูปธรรม จำนวนเพื่อนที่มีระดับการศึกษาดี หน้าตาหล่อสวย จำนวนคอมเมนต์ การกด Like ที่น่าสังเกตคือการศึกษาจาก Samuel D. Gosling และ Simine Vazire จาก University of Texas พบว่า Facebook profiles จะระบุข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลมากพอๆ กับการปล่อยให้คนรู้จักคนหนึ่งบุกห้องนอนหรือออฟฟิศของพวกเขาเลยทีเดียว

กระบวนการทั้งหมดที่เราทำเป็นไปตาม Self-perception theory (SPT) อันเป็นทฤษฏีว่าด้วยการสังเกตพฤติกรรมของตัวเองแล้วสรุปว่า “ฉันเป็นคนแบบไหน” กันแน่ จากนั้นคุณก็จะ “โฆษณา” ตัวตนของคุณอันนี้ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ไปให้ทุกคนรู้

Facebook ช่วยให้คุณปลดปล่อยความเป็นตัวตนอย่างไม่ต้องอาย

ในชีวิตจริง คุณคงไม่มีโอกาสที่จู่ๆ จะไปบอกเพื่อนว่า “ฉันชอบดนตรีคลาสลิกมากมายค่า” มันดูเหมือนเป็นการอวดตัวเองเกินไป แต่ถ้าเป็น Facebook คุณสามารถโพสต์ลงไปในสเตตัสส่วนตัวและเขียนเก๋ๆ ว่า “วันนี้มาดูคอนปีโธเฟ่นนะเค๊อะ ไวโอลีนหนึ่งเล่นดีแจ่มใจมากๆ ค่ะ” ไม่มีเพื่อนคนไหนจะสามารถมาบอกได้ว่าคุณขี้อวดหรือหลงตัวเอง แต่ถ้ามีจริงๆ…ก็แค่ลบคอมเมนต์พวกนั้นทิ้งไปซะ (555+)

สุดท้ายแล้ว คุณจะพบว่าสาเหตุทางจิตวิทยานี้เองที่เป็นส่วนช่วยขับดันให้ประชากรโลกดิจิตอลต้องพึ่งพา Facebook ในระดับจิตสำนึกและจิตไร้สำนึก นอกจากมันจะช่วยสมองคัดเลือกข้อมูลที่น่าจดจำเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในอนาคตของเราแล้ว การติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆ ก็ยังช่วยเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้แก่เราด้วยเช่นกัน

Source


  • 11
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง