มนุษย์เงินเดือน VS ฟรีแล้นซ์ แบบไหนดีกว่ากัน?

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

annoying-coworker-3-hilight

 

ภาพจาก http://the5gh.files.wordpress.com/

ถ้าคุณกำลังมองหางานใหม่ แต่ยังไม่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งสถานที่ หน้าที่รับผิดชอบ และหัวหน้าที่คุณก็ไม่รู้ว่าเข้ากับคุณได้ดีรึเปล่า จากปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้คุณต้องคิดว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน หรือฟรีแล้นซ์ดี

บางคนที่เป็นฟรีแล้นซ์อยู่ในขณะนี้อาจบอกว่า รู้สึกอิสระ อยากทำงานตอนไหนก็ได้ งานไหนไม่สะดวกก็ไม่รับ แต่ก็ยังมีอีกด้านให้ต้องห่วงคือ ความมั่นคง รายได้ไม่แน่นอน ฯลฯ สำหรับใครที่กำลังลังเลใจว่าจะเลือกแบบไหนดี ลองมาดูข้อดี-ข้อเสีย ของมนุษย์เงินเดือน และฟรีแล้นซ์ ว่าแบบไหนที่เหมาะกับตัวคุณที่สุด

มนุษย์เงินเดือน

ข้อดี

  • ปลอดภัยและมั่นคง การมีงานประจำที่มั่นคงนั้น จะทำให้คุณมีรายรับที่มั่นคงไปด้วยทุกเดือน หรือถ้าองค์กรเกิดปัญหาทางการเงินจนถึงขั้นล้มละลาย คุณก็จะได้รับเงินชดเชยสำหรับกรณีนี้ด้วย และถ้าต้องการกู้หรือจำนองกับธนาคาร คุณก็จะมีโอกาสมากกว่าฟรีแล้นซ์
  • มีส่วนร่วมในโครงการระยะยาว การทำงานประจำนั้นจะเปิดโอกาสให้คุณมีส่วนร่วมกับโปรเจ็คใหญ่ๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณได้สร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับลูกค้า และความสัมพันธ์นี้ก็อาจจะเป็นประโยชน์ในอนาคตต่ออาชีพของคุณได้
  • มีคนจัดการเรื่องยากๆ ให้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษี ประกันสังคม เงินบำเน็จ และเงินบำนาญ องค์กรจะมีทีมงานเพื่อดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ คุณแทบไม่ต้องหยิบจับอะไรเลยด้วยซ้ำ และไม่ต้องกังวลไป เพราะพวกเขามีความเชี่ยวชาญโดยตรง
  • ไม่ต้องห่วงเรื่องค่าสาธารณูปโภค นอกจากจะมีทีมงานที่ดูแลเรื่องภาษีให้แล้ว การเป็นมนุษย์เงินเดือนยังทำให้คุณไม่ต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสถานที่ และอีกมากมาย
  • มีเพื่อนร่วมทีม ข้อดีที่หลายๆ คนต้องการทำงานประจำคือ การมีเพื่อนร่วมงานนั่นเอง คุณจะไม่เหงา เพราะทั้งวันคุณจะมีเพื่อนคุยแน่ๆ

ข้อเสีย

  • จำนวนลูกค้ามีจำกัด ในขณะที่คุณกำลังสร้างความสัมพันธ์อันยาวนานกับลูกค้า เพื่อเตรียมต่อยอดการทำงานนั้น อย่าลืมว่านอกจากคุณแล้วก็ยังมีเพื่อนร่วมงาน หรือบริษัทคู่แข่งอีกหลายรายที่ต้องการลูกค้ารายนี้เช่นกัน ทำให้คุณต้องแข่งขันกับคนในองค์กรและนอกองค์กรด้วย
  • วันหยุดมีจำกัด ถ้าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน คุณย่อมรู้ว่าวันหยุดพักร้อนนั้นมีค่ามากแค่ไหน เมื่อได้วันหยุดมาอยู่ในมือแล้ว คุณจะรีบออกไปท่องเที่ยวพักผ่อนทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการลาป่วย หรือลากิจ ทุกอย่างล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น
  • วันทำงานที่เข้มงวด นอกจากวันหยุดที่มีจำกัดแล้ว วันทำงานก็เข้มงวดด้วยเช่นกัน ตลอด 8-9 ชั่วโมง ของ 5 วันทำการ คุณต้องทำงานให้เต็มที่สุดๆ
  • ได้เดินทางทุกวัน 99% ของมนุษย์เงินเดือน ล้วนต้องผจญภัยกับการเดินทางในรูปแบบต่างๆ ทั้งตอนเช้าและเย็น ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์ เรือ รถไฟฟ้า และการจราจรที่แสนติดขัด เรียกได้ว่าในหนึ่งวัน คุณอาจได้ใช้ระบบขนส่งอย่างครบถ้วน

ฟรีแล้นซ์
ข้อดี

  • จะทำงานมากน้อยแค่ไหนก็ได้ ด้วยการทำงานที่อิสระ คุณสามารถควบคุมได้ว่าต้องการทำงานมากน้อยแค่ไหนต่อวัน ต่อสัปดาห์ หรือจะทำงานแค่ให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายก็ยังได้
  • ทำงานที่บ้านได้ ข้อดีของการทำงานที่บ้านคือ คุณสามารถใส่ชุดนอนทำงานได้ หรือจะดูโทรทัศน์ไปด้วยก็ยังได้
  • เลือกวันหยุดได้เอง นอกจากจะเลือกได้แล้วว่าต้องการเข้างานกี่โมง เลิกงานกี่โมง การเป็นฟรีแล้นซ์ยังทำให้คุณเลือกได้อีกว่าคุณต้องการทำงานวันไหน หยุดวันไหน
  • ได้เจอลูกค้าที่หลากหลาย ด้วยการรับงานระยะสั้น ทำให้คุณได้พบลูกค้าที่หลากหลาย และถ้าคุณทำงานได้ดี ลูกค้าก็จะบอกต่อไปยังเพื่อนๆ ของเขา ซึ่งจะเป็นผลดีต่อคุณในอนาคตด้วย
  • มีรายได้มากกว่า ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับทักษะและความเชี่ยวชาญของคุณ หรือถ้าคุณรับงานเยอะๆ ก็จะได้ค่าตอบแทนเยอะไปด้วย

ข้อเสีย

  • รายได้ไม่มั่นคง หนึ่งในข้อเสียหลักๆ ของฟรีแล้นซ์คือ รายได้ไม่แน่นอน บางเดือนอาจได้เยอะ บางเดือนอาจได้น้อย เพราะฉะนั้นคุณต้องมีระเบียบวินัยในการเก็บเงินอย่างยิ่ง เพื่อให้เพียงพอสำหรับเดือนต่อไป
  • ต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ตเอง แม้จะทำงานที่บ้าน แต่ต้นทุนเรื่องสาธารณูปโภคก็เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งค่าแก๊ส ทั้งหมดนี้ถ้าไม่ใช่คุณ แล้วจะเป็นใคร
  • ต้องเป็นฝ่ายบัญชีไปด้วยในตัว การเป็นฟรีแล้นซ์อาจทำให้คุณมีเวลาว่างกว่าพนักงานประจำ แต่คุณอาจจะไม่ว่าง เพราะต้องเอาเวลานั้นมาจัดการกับเรื่องภาษี ประกันสังคม หรือแม้แต่ใบแจ้งหนี้ต่างๆ
  • เหงา วันๆ นึงคุณอาจไม่รู้จะคุยกับใคร ไม่มีที่ปรึกษาในการทำงาน สภาพแวดล้อมการทำงานค่อนข้างเงียบเหงา

จากที่กล่าวไปทั้งหมดนี้ คุณคงต้องพิจารณาข้อดี ข้อเสียเหล่านี้ว่า แบบไหนที่เหมาะกับคุณมากกว่ากัน ซึ่งความเชี่ยวชาญที่คุณมีในงานประจำนั้น อาจนำมาใช้รับงานฟรีแล้นซ์ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ เราก็ได้แต่หวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางในก้าวต่อไปของคุณได้
แหล่งที่มา


  •  
  •  
  •  
  •  
  •