8 เทคนิคช่วยจำสิ่งที่อ่านได้อย่างง่ายๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

  • 29
  •  
  •  
  •  
  •  

อ่านหนังสือคือการเปิดโลกความรู้ที่สำคัญ ซึ่งมีนักธุรกิจมากมายที่ประสบความสำเร็จแล้ว แต่ก็ยังอ่านหนังสืออยู่ แถมยังผลักดันให้หลายคนมาร่วมกันอ่านหนังสือด้วย อย่างเช่น “มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก” ยังจัด A Year of Books เพื่อแนะนำหนังสือดีๆ ให้กับคนอื่นด้วย เพราะเขาค้นพบว่าการอ่านหนังสือนั้นช่วยพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้

แต่ปัญหาของคนส่วนใหญ่ก็คือ เวลาอ่านหนังสือแล้วมักจะลืมในสิ่งที่อ่านเสมอๆ แต่บางคนอาจจะบอกว่าไม่เห็นเป็นไรเลย ถ้าจะลืมไปบ้าง แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถจดจำประเด็น สาระ และความรู้ต่างๆ จากหนังสือได้เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันหรือหน้าที่การงาน เพื่อการพัฒนาปรับปรุงตัวเอง

woman-reading-outside1

ดังนั้น ในบทความนี้มีการรวบรวมความเห็นจากผู้คนหลากหลายมาเพื่อให้คำแนะนำ ถึงวิธีง่ายๆ ในการช่วยจำเรื่องราวที่อ่านจากหนังสือ ซึ่งคุณสามารถนำมาปรับใช้กับตัวเองได้

1.จดโน้ตลงไปในหน้าหนังสือ

“อย่าอ่านหนังสือถ้าปราศจากดินสอ” ดังนั้น เวลาที่คุณอ่านประโยคไหนที่ทำให้คุณสับสน, น่าสนใจ หรือว่าสำคัญ ให้ขีดเส้นใต้เอาไว้ หรือวาดแผนภาพเพื่อให้เห็นโครงสร้างของไอเดียสำคัญเอาไว้ ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

2.ตั้งคำถามกับตัวเอง

มีคำแนะนำว่าให้คุณมีปฏิกิริยากับตัวเอง โดยการถามคำถามกับตัวเองไปเรื่อยๆ ระหว่างที่คุณกำลังอ่าน เช่น ถ้าคุณกำลังอ่าน textbook “อะไรคือหัวใจหลักของเซ็คชั่นนี้?” ถ้าคุณอ่านนิยายหรือนวนิยาย คุณอาจจะถามว่า “อะไรคือแรงผลักดันของตัวละครตัวนี้?” หรือ “ถ้าคุณสามารถรีไรท์หนังสือเล่มนี้ ในเวอร์ชั่นของคุณจะเป็นเช่นไร?”

3.อ่านอย่างลวกๆ เร็วๆ

อีกเทคนิคหนึ่งซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงเคยทำก็คือ การอ่านแบบ skimming” คือการอ่านอย่างลวกๆ ผ่านๆ ก่อน หรืออ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญ เพื่อให้จับใจความหรือภาพรวมทั้งหมดให้ได้ว่ามันคืออะไร ซึ่งจะช่วยให้คุณจดจำรายละเอียดต่างๆ ได้ด้วย

4.พึงใจ, เชื่อมโยง, ทำซ้ำ

เป็นเทคนิคซึ่งมี 3 ขั้นตอนด้วยกัน

ขั้นแรกคือการสร้าง “ความพึงพอใจ” คุณสามารถเพิ่มความพอใจได้ด้วยการวาดภาพในใจของคุณ หรือหลับตานึกภาพให้ตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นตามคำอธิบายในหนังสือ

ขั้นที่สอง “เชื่อมโยง” วัตถุดิบต่างๆ กับบางสิ่งที่คุณรู้จัก เช่น เชื่อมโยงชื่อของตัวละครเหมือนกับชื่อเพื่อนของคุณ

ขั้นที่สาม “การทำซ้ำ” แน่นอนว่าการอ่านซ้ำอีกรอบจะช่วยฟื้นความจำเราได้ แต่ถ้าคุณไม่อยากอ่านหนังสือซ้ำทั้งเล่ม ก็อาจจะอ่านเฉพาะที่คุณไฮไลท์ไว้ก็ได้

5.แนะนำข้อมูลแก่คนอื่น

หากคุณต้องการจำสิ่งที่คุณไปประสบมาได้ มันสำคัญตรงที่ว่าคุณจะต้องทำอะไรบางอย่างกับข้อมูลนั้น

คำแนะนำก็คือว่าให้คุณนำสิ่งที่คุณอ่านแล้วเป็นประโยชน์และมีความหมาย มาบอกเล่าให้กับคนอื่นๆ ทราบ หรืออาจจะเขียนลงบนบล็อกของคุณก็ได้ถ้ามี แต่ถ้าคุณพบว่าคุณไม่สามารถอธิบายได้ถึงสิ่งที่คุณอ่าน คุณก็ควรจะกลับไปอ่านซ้ำอีกรอบ

6.อ่านออกเสียง

น่าจะเป็นเทคนิคที่หลายๆ คนใช้กันอยู่ การอ่านออกเสียงดังๆ เพื่อให้ตัวเองเข้าใจและจำได้ว่าอ่านอะไรอยู่ ซึ่งเทคนิคดังกล่าวได้รับการยอมรับจากสถาบันจิตวิทยาว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการช่วยจำหนังสือได้ยิ่งถ้าคุณมีเวลาน้อยด้วยแล้ว

นั่นเป็นเพราะประโยคต่างๆ ที่คุณอ่านออกเสียง (หรือกระซิบ) ออกมาเบาๆ จะทำให้มีลักษณะเฉพาะตัวออกมาด้วย คุณจะจำผ่านการได้ยินเสียงซึ่งจะต่างจากการจำคำที่ไร้เสียง

7.อ่านบนกระดาษ

การอ่านหนังสือบนอีบุ๊กอาจจะเป็นเรื่องดีในแง่ความสะดวกสบาย แต่งานวิจัยชี้ว่า การอ่านออนไลน์จะไปกัดกร่อนความทรงจำของคุณได้ มีการศึกษาหนึ่งได้ทำการทดลองการอ่านเรื่องเดียวกัน หนึ่งอ่านผ่านหนังสือส่วนอีกหนึ่งอ่านออนไลน์ ปรากฏว่าเมื่อทดสอบความจำผลคือการอ่านผ่านหนังสือได้คะแนนที่ดีกว่า หรือแม้แต่ผลการสอบของนักเรียนก็ยังชี้ว่าการอ่านผ่านกระดาษได้ผลคะแนนที่ดีกว่าการอ่านผ่านจอคอมพิวเตอร์

8.ทำความเข้าใจกับหัวข้อก่อน

หากคุณได้ทำความเข้าใจกับเบื้องหลังของเนื้อเรื่องก่อนที่จะลงลึกในรายละเอียดก็จะยิ่งทำให้คุณเข้าใจในเนื้อเรื่องมากขึ้น นั่นเป็นเพราะคุณสามารถเชื่อมโยงข้อมูลใหม่กับสิ่งที่คุณรู้มาก่อนได้ ซึ่งจะทำให้คุณจดจำสิ่งที่คุณอ่านได้ง่าย

ลองนำเทคนิคดังกล่าวนี้ไปใช้ดู น่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคุณได้มากทีเดียว.

แหล่งที่มา 


  • 29
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!