เข้าใจ PIRANHA Framework ที่ทำให้ข่องทางแบรนด์บน Tiktok ฮิต

  • 17
  •  
  •  
  •  
  •  

Tiktok นั้นเป็น Social Media ที่มาแรงอย่างมาก ที่เกิดกระแสการใช้งานอย่างรวดเร็วในปี 2018 และในปี 2019 ด้วยพิษ COVID-19 ทำให้ Tiktok นั้นเกิดกระแสการใช้งานสำหรับผู้คนที่ต้องกักตัวอยู่ทั่วโลก และต้องหาทางผ่อนคลายจากความเครียดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้คนนั้นเข้าไปใช้งาน แชร์ความชอบ กิจกรรม และโพสวิดีโอสนุก ๆ กันมากมาย ทำให้จาก Application จีนที่ยังไม่มีใครสนใจทั่วโลกกลายมาเป็นปรากฏการณ์บริษัทที่โตอย่างรวดเร็ว มีความทัดเทียมกับ google, Facebook อย่างทันที และทำให้ Social media ต่าง ๆ ต้องปรับปรุงแอพตัวเองให้สามารถสร้างและแชร์วิดีโอแบบ Tiktok ได้ 

ด้วยกระแสที่มาแรงนี้ทำให้เมื่อก่อนที่แบรนด์นั้นมองว่า Tiktok เป็นเครื่องมือที่เด็ก ๆ นั้นเล่นกัน ยังไม่ใช่ช่องทางการตลาดจริง ๆ แต่เมื่อกระแสมาถึงทำให้หลาย ๆ แบรนด์นั้นเข้าไปทำการตลาดและสร้างเนื้อหาขึ้นมา หลาย ๆ แบรนด์นั้นทำแล้วเกิด แต่หลาย ๆ แบรนด์ไม่ว่าจะใหญ่ขนาดไหนก็ทำแล้วไม่สามารถจับกลุ่มเป้าหมายได้ การที่จะทำให้วิดีโอตัวเองกลายเป็นกระแสบน Tiktok ได้ต้องเข้าใจก่อนว่ากลุ่มผู้ชมส่วนใหญ่บน tiktok ตอนนี้คือ Gen Z และ Gen Z นั้นมีความชอบ ความต้องการ และทัศนคติที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ Generation อื่น ๆ ทั้งนี้นักการตลาด Kushaan Shah ได้ทำการวิเคราะห์ และพบว่า แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จบน Tiktok ได้ ต่างทำวิดีโอที่เข้าหลักการที่เรียกว่า PIRANHA. ซึ่งย่อมากจาก 

  1. Practical  ว่าเนื้อหาที่นำเสนอนั้นสามารถตอบสนองความต้องการหลาย ๆ แบบได้ไหม หรือใช้ได้จริง เอาไปทำต่อได้ไหม ตัวอย่างง่ายสุดคือพวกวิดีโอการสอนต่าง ๆ หรือการทำโชว์ต่าง ๆ ที่ทำให้คนนั้นเอาไปเลียบแบบ หรือทำต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งหน้า หรือสอนทำอาหาร  การออกกำลังกาย จนนำเสนอแชร์การลดราคาในห้างสรรพสินค้าก็ยังได้ ด้วยการนำเสนอวิดีโอที่ทำให้คนเข้าใจภายใน 60 วินาทีนี้ ก็สามารถดึงคนที่กำลังดูให้ดูต่อและกลายเป็นคนติดตามได้เลยทีเดียว
  2. Influencer Content ว่าเนื้อหานั้นมี Influencer คนไหนมาบอกต่อรึเปล่าหรือมี Influencer คนไหนอยู่ในคลิปด้วยรึเปล่า หลาย ๆ แบรนด์สามารถสร้างกระแสบน Tiktok ตัวอย่างเช่น Calvin Klein ใช้วิธีไปคุยกับดาราดังๆ เกี่ยวกับแฟชั่นในช่วงที่เปิดตัวในการทำ tiktok ขึ้นมาเพื่อทำให้คนมาติดตามและรู้ว่าแบรนด์มีช่องทางนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่การใช้ดาราในการช่วยดันเนื้อหาขึ้นมา แต่การใช้ Influencer ใน Tiktok ช่วยดันเนื้อหา หรือมาร่วมทำเนื้อหาในช่องทางของแบรนด์ก็สามารถสร้างกระแสต่าง ๆ ได้อย่างมาก ทำให้คนนั้นเห็นว่าสินค้าและบริการทำงานอย่างไร มีดีอย่างไร ผ่าน Influencer เหล่านี้ ซึ่งข้อสำคัญคือจงหาInfluencer ที่เหมาะกับแบรนด์ และใช้แบรนด์ของนักการตลาดจริง ๆ จะสร้างความน่าเชื่อถืออย่างมาก
  3. Repackaged Content ด้วยการเอา Content เก่า ๆ นั้นมาทำใหม่ด้วยการปรับปรุงใส่ Text ใหม่ ๆ เข้าไปหรือลูกเล่นใหม่ ๆ เข้าไป ด้วยการทำเช่นนี้ก็เกิด content ที่คนสนใจบน tiktok ขึ้นมาได้ทันที ลูกเล่นนี้แบรนด์อย่าง NBA หรือ Netflix ก็ใช้ด้วยการเอาเนื้อหาเดิมมาทำใหม่ โดยเฉพาะเนื้อหาที่ฮิตในอดีต ทำให้เกิดการดูซ้ำหรือรู้สึกว่าของเก่าที่นำเสนอ เป็นของใหม่ในสายตาของผู้ใช้ tiktok
  4. Affective Content การเอา Content ที่นำเสนอความสมจริง และเรียกอารมณ์มาใช้นั้นทำให้เกิดการเชื่อมต่อทางจริงใจต่าง ๆ กับคนดู สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือการทำเนื้อหาที่เล่นกับอารมณ์ต่าง ๆ ที่คนนั้นมีอยู่เช่นอารมณ์สนุก ตลก เศร้า เสียใจ ยิ่งพวกวิดีโอสัตว์น่ารักนี้สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้อย่างดีขึ้นมา (รายงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยืนยันเรื่องนี้) วิดีโอเหล่านี้จะสร้างความรู้สึกทางความคิดของผู้ดูให้เกิด ความหวัง ความสุข ความอิ่มเอิ่ม และเมื่อมีอารมณ์ก็จะเกิดการชอบจนติดตามวิดีโอบ่อย ๆ ได้
  5. Neural Sensory Content เป็น Content ที่เล่นกับระบบประสาทของมนุษย์ ด้วยการทำให้รู้สึกติดใจจากการกระตุ้นต่าง ๆ ยกตัวอย่างได้ง่ายที่สุดกับวิดีโอประเภทนี้คือวิดีโอแบบ ASMR หรือ Autonomous Sensory Meridian Response ที่ทำให้คนผ่อนคลายหรือขนลุกได้ ด้วยการังเสียงธรรมชาติ หรือเสียงกระซิบแผ่วเบา คลิปแบบนี้เคยนิยมอย่างมากบน Youtube และก็มานิยมใน tiktok ด้วย
  6. Hushed Content เป็นการเอาเนื้อหาพิเศษที่ไม่มีทางเห็นมานำเสนอ เช่นการเอา Behind the scene ต่าง ๆ มาทำวิดีโอ วิดีโอเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนติดตามอยากดู หรืออยากชมอย่างมาก โดยเฉพาะวิดีโอที่หาดูที่ไหนไม่ได้ เพราะเข้ากับหลักการทางจิตวิทยาที่เรียกว่า scarcity marketing
  7. Active Content ทำ Content ที่เป็น Interactive ให้คนสามารถเล่นได้ หรือมีส่วนร่วมได้ เพราะทุกคนอยากจะมีส่วนร่วม อยากลองทำ หรือนำเสนอตัวเองขึ้นมา การสร้าง challenge นี้เป็นสุดยอดของการทำ Content บน tiktok เลย เพราะสามารถส่งต่อให้คนอื่น ๆ ทำตามจนกลายเป็นกระแสได้อย่างดี

แบรนด์ไหนที่กำลังทำ tiktok อยู่และรู้สึกว่าตอนนี้ทำแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ หรือยังไม่มีคนติดตาม คนดูในช่องทางของตัวเอง การเอาหลักการ  PIRANHA ไปใช้ในการทำ Content นั้นจะสามารถช่วยให้นักการตลาดไปถึงเป้าหมายที่ตั้งใจได้เลย


  • 17
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ