ใกล้เทศกาลสงกรานต์เข้าไปทุกที แถมปีนี้ภาครัฐใจดีขอให้หยุดยาวๆ ถึง 5 วันกระตุ้นการใช้จ่าย (จริงป่าวหว่า???) แต่ทำงานอีกไม่กี่วันก็หยุดสุดสัปดาห์อีก อยากหยุดยาวๆ แต่ไม่กล้าเดินเข้าไปบอกกับ Boss จะทำไงดี? นี่คือ 4 ขั้นตอนการขอ Boss ลาหยุดยาวๆ ใครใช้แล้วได้ผลยังไงบอกกันด้วยนะ!!!
เทศกาลสงกรานต์
เรียกว่าเป็นหนึ่งใน 2 เทศกาลหยุดแบบยาวๆ ของไทยกับเทศกาลสงกรานต์ที่ผู้คนพร้อมใจกันหลั่งไหลกลับภูมิลำเนาของตนโดยมิได้นัดหมาย ที่สำคัญเทศกาลสงกรานต์ยังเป็นวันครอบครัวที่จะได้อยู๋พร้อมหน้าพร้อมตากันแบบครบถ้วน หลังจากที่ต้องเดินทางไปทำงานเก็บหอนรอมริบสร้างเนื้อสร้างตัวกันตลอดทั้งปี ทำให้หลายคนสะสมวันลาพักร้อนเพื่อใช้กับเทศกาลนี้โดยเฉพาะ
ยิ่งในปีนี้ที่รัฐบาลใจดีประกาศวันหยุดเพิ่ม จากเดิมที่หยุดตั้งแต่ 13-16 เมษายน ประกาศให้หยุดวันที่ 12 เมษายนเพิ่มอีก 1 วัน รวมเป็นหยุดถึง 5 วัน แต่หากกางปฏิทินแล้วจะเห็นว่า สัปดาห์หลังสงกรานต์ทำงานเพียง 3 วันแล้วก็หยุดสุดสัปดาห์อีก ซึ่ง 3 วันนี้รับรองยังทำอะไรไม่ได้มาก เพราะลูกค้าบางรายยังไม่กลับมาจากเที่ยวเลย หลายคนจึงเลือกที่จะหยุดแบบยาวๆ ไป ด้วยการใช้วันลาพักร้อนในโควต้าที่เหลืออยู่
แต่อย่างว่า “คนไทยขี้เกรงใจ” แม้หลายคนพร้อมจะกลายเป็นคนแบบตรงๆ สำหรับเรื่องแบบนี้ แต่ก็ยังต้องเกรงใจอยู่ ยิ่งถ้ามี “เจ้านาย (Boss)” เป็นคนขยันรับรองเลยว่าไม่กล้าขอกันแน่ๆ นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุอื่นอย่างเช่น มี Boss คอยจับตาดูผลงานแบบละเอียดยิบ, ลายาวนานกว่าปกติ, ดันมีคนลาพร้อมกันในวันและเวลานั้น, โควต้าวันลาไม่พอ, กำลังถูก Boss เพ่งเล็ง (รับรู้ได้ด้วยตัวเอง)
ฉะนั้นเราจะมาดูวิธีการขอลาหยุดกับ Boss ตามไสไตล์ฝรั่งกัน แล้วก็ลองมาปรับใช้กันดู ใครได้ผลอย่างไรแชร์ข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังได้นะ
เตรียมแผนงานแล้วขอลาตรงๆ ไปเลย
หนึ่งในวิธีการที่ง่ายที่สุด คือการเตรียมแผนงานในช่วงที่ลางาน เพื่อให้งานยังสามารถดำเนินต่อไปได้โดยที่ไม่มีผลกระทบ แม้ว่าจะอยู่ในช่วงระหว่างลาหยุด เตรียมอุปกรณ์การสื่อสารและอุปกรณ์การทำงานในกรณีที่ต้องติดต่อเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ให้เวลาทำใจ 10 วินาทีแล้วเดินเข้าไปขอลาแบบตรงไปตรงมา ใสๆ ซื่อๆ ว่ากันว่าโอกาสที่ Boss จะอนุมัติมีสูงแน่นอน
ถ้า Boss ไม่อนุมัติก็ถามกลับไปตรงๆ
มีบ้างที่ขอไปแบบตรงๆ แล้ว Boss ก็ตอบมาแบบตรงๆ “ไม่อนุมัติค่ะ!!!” เกิน 50% มีช็อค เงิบ อึ้ง สตั๊นไปหลายวินาที แต่เมื่อไหร่ที่ตั้งสติได้ ขอให้ถาม Boss กลับไปตรงๆ อย่างสุภาพเรียบร้อยว่า สาเหตุที่ไม่อนุติคืออะไร แล้วจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ได้รับการอนุมัติ โดยปกติทั่วไปหาก Boss ไม่มีอคติด้วย ก็จะแจ้งสาเหตุที่ไม่ให้ลา รวมไปถึงวิธีที่ทำให้การลาหยุดยาวสามารถผ่านการอนุมัติได้ แค่ต้องใจเย็นๆ เท่านั้น
สายบู๊ลุยเอง เลือกเลย…ตกงานหรือเปลี่ยนแผน ?
ในกรณีที่ Boss ยืนกรานไม่มีหนทางในการให้ลาหยุดยาวได้ ถึงเวลานี้ยิ้มเข้าไว้แล้วให้เวลาตัวเองคิดอย่างถี่ถ้วน ถ้าการลาหยุดยาวครั้งนี้เป็นเหตุสุดวิสัยจำเป็นจริงๆ เช่น เป็นเรื่องเกี่ยวกับคดีความหรือสมาชิกในครอบครัวประสบเหตุร้าย มันก็มีทางเลือกเหลือเพียง 2 ทาง เริ่มจากเอาช้างมาฉุดก็หยุดการลายาวครั้งนี้ไม่ได้ งานนี้ต้องเพิ่งใบ Resume กับใจกล้าๆ แล้วเดินไปหา Boss พร้อมกับกล่าวคำประกาศิต “ขอลาออก!”
แต่ถ้าการลาครั้งนี้เป็นแค่การลาพักผ่อน แล้วตั๋วเครื่องบินที่ Booking ไว้หรือโรงแรมที่จองไว้ สามารถคืนเงินได้หรือเปลี่ยนวันเวลาใหม่ได้ ก็ควรเลื่อนวันเวลาออกไปก่อนด้วยการมองโลกแง่ดีที่ว่า เทศกาลคนไปเยอะแล้ว ไปช่วงนอกเทศกาลดีกว่า คนน้อยกว่า บรรยากาศดีกว่า แล้วเดินไปหา Boss พร้อมกับกล่าวคำประกาศิต “ต่อไปจะตั้งใจทำงาน จะขยันให้มากขึ้นนับจากนี้!!!”
เคสพิเศษ…ถ้าเป็นเรื่องงานให้ถือ HR ใหญ่กว่า Boss
ในกรณีที่การขอลาหยุดยาว เพื่อส่วนหนึ่งเป็นการลาพักผ่อนและอีกส่วนคือการลาไปทำงานต่อในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง แล้ว Boss ดันไม่อนุมัติให้ลา งานนี้ต้องดูว่าความสัมพันธ์ระหว่างเรากับ HR เป็นอย่างไร เพราะถ้าในกรณีนี้สามารถดึง HR ให้เข้ามาช่วยขออนุญาติลาหยุดได้ด้วย เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน และถ้า Boss ยังดื้อที่จะไม่ให้หยุด เกิดงานมีปัญหาจากสาเหตุนั้นเราก็จะไม่ผิดกฎบริษัท เพราะ HR รับทราบเรื่องราวทั้งหมดแล้ว ซึ่ง HR จะทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด
เรียกว่าเป็นแนวทางการขอลาหยุดที่อาจจะคนละเรื่องกับคนไทย ที่จะเน้นทำเรื่องของลาพักร้อนเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว แจ้งให้ HR ทราบจากนั้นก็โบกโบยบินได้เลย นั่นเพราะ Boss จะรู้ได้โดยธรรมเนียมว่านี่คือเทศกาลที่หลายคนรอคอยและหลายคนก็มาจากต่างจังหวัดเพื่อหารายได้กลับสู่ภูมิลำเนา
ยังไงก็ขอให้ทุกท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพ…
Source: Newsweek