คลิกที่วิดีโอ เพื่อชมย้อนหลัง
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีหลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ไม่น้อยเลย แม้แต่ธุรกิจโฆษณาที่เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างแบรนด์ กระตุ้นการรับรู้ สร้างอำนาจทางการตลาด แต่ในยุคโควิด ‘การเอาตัวรอดก่อน’ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ในงาน Today at Apple โดยความร่วมมือของ Apple และ Marketing Oops! ได้เข้าฟังมุมมองของ คุณพีท (ทสร บุณยเนตร) Executive Creative Director จาก Wunderman Thompson ประเทศไทย เกี่ยวกับเคล็ดลับการเติมไอเดียเพื่อสร้างสรรค์ให้ธุรกิจสามารถพิชิตยุคนิวนอร์มัลได้อย่างราบรื่น หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งจะพูดว่ายุคโควิดเป็นช่วงเวลาของการ play safe ในหลายๆ ธุรกิจเลยก็ว่าได้
สิ่งที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบอย่างแรกสำหรับทีมครีเอทีฟ Wunderman Thompson ก็คือ ลูกค้าขอยกเลิกโปรเจ็กต์งานทั้งหมดที่ดีลเอาไว้ ทั้งยังมีข้อจำกัดอื่นๆ ในประเทศไทยที่ออกกฎห้ามถ่าย, ห้ามเล่าเรื่อง, ล็อกดาวน์, มีกฎห้าม 5 คนในระหว่างถ่ายทำในช่วงการแพร่ระบาดเวลานั้น ถือว่าเป็นข้อจำกัดที่ใหญ่มากสำหรับครีเอเตอร์วิดีโอโฆษณา
แต่มุมมองของคุณพีท น่าสนใจตรงที่เป็น case study ให้ธุรกิจสามารถศึกษาต่อได้ว่าเราจะ play safe อย่างไรให้ธุรกิจยังสามารถรันต่อไปได้ ยังอยู่ในสปอร์ตไลท์ และเจ็บตัวน้อยที่สุด
ลองมาดูสิ่งที่คุณพีท แก้มื้อตอบรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลานั้น หลังจากที่เห็นลูกค้าเริ่มมีมูฟเมนต์การช่วยเหลือสังคมในช่วงโควิด เช่น บริจาคหน้ากาก, บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ฯลฯ สิ่งนี้ทำให้คุณพีทปลดล็อคว่าเหตุผลที่ลูกค้ายกเลิกโปรเจ็กต์ทั้งหมด เป็นไปได้ว่าต้องการใช้ budget ในส่วนนั้นเพื่อไปช่วยเหลือสังคม นี่จึงทำให้คุณพีทรู้สึกว่าเราต้องทำอะไรสักอย่าง
เริ่มต้นจากไอเดียที่คิดว่าจะลองทำเป็น ‘หนังฟิล์มออนไลน์’ แต่ก็ติดที่ข้อห้ามเรื่องการถ่ายทำของไทย ไอเดียที่ 2 ที่ปิ๊งขึ้นมาก็คือ “ลองทำจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว จากอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว” เราลองมาดู case จากไอเดียทีมคุณพีทที่นำเสนอออกมาว่าเป็นอย่างไร และ pick up จุดแข็งของไอเดียครีเอทีฟงานโฆษณาได้อย่างไร
ในเมื่อถ่ายทำไม่ได้ ก็เลยเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอ เป็นการเล่าเรื่องผ่านตัวเอง ผ่านปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ และที่น่าสนใจคือ การใช้ตัว ‘อีโมจิ’ แทนอารมณ์ต่างๆ ซึ่งมองว่าเป็นไอเดียที่น่ารัก และ touching คนดูได้ง่ายเพราะใครๆ ก็ชอบใช้อีโมจิ
คุณพีท เลือกที่จะเล่าเรื่องตัวเอง แต่พูดถึงบริษัทลูกค้าไปเรื่อยๆ ว่าลูกค้าขายอะไร, กำลังทำอะไร, คิดอะไร, เป็นอย่างไร ฯลฯ มันเลยทำให้คนดูรู้สึกว่าไม่ได้โฟกัสกับการที่ครีเอเตอร์พยายาม tie-in ขายของเข้าไป แต่รู้สึกว่ากำลังดูวิดีโอของคนๆ หนึ่งที่เป็นครีเอเตอร์ และกำลังเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นรอบตัว ผลลัพธ์ก็คือ ลูกค้าชอบผลงานนี้และอนุญาตให้เผยแพร่ได้ อย่างหนึ่งที่รับรู้จากวิดีโอโฆษณานี้ก็คือ ความรู้สึกที่มันจริงมากๆ และทำให้คนดูลิงค์ความรู้สึกไปกับวิดีโอโฆษณาได้จนจบ
How to start เพื่อเล่าเรื่องอะไรสักอย่าง?
คุณพีทได้แชร์วิธีคิดและขั้นตอนในการทำวิดีโอสำหรับคนที่อยากจะเล่าอะไรสักอย่างว่าจุดเริ่มต้นมันควรเป็นอย่างไร เริ่มจากสิ่งง่ายๆ ก่อนและต้องชัดเจนในจุดประสงค์การเล่าเรื่อง โดยมีวิธีคิดดังนี้
-
เราต้องรู้ก่อนว่าจะเล่าหรือขายอะไร
-
เราต้องมี right tension ก็คือ สิ่งที่เป็นกระแสอยู่ ณ เวลานั้นแล้วมันเชื่อมโยงกับเรื่องราวของเรา
-
เรื่องจริงของเราคือสิ่งที่คนอยากฟัง/อยากดูมากที่สุด
-
ในเมื่อเป็นเรื่องราวของเราเอง เราก็ต้องเป็นคนเขียนสคริปต์เอง
-
หาวิธีการนำเสนอที่เหมาะกับเรื่องที่เราจะเล่า/ขาย
-
หาเพลงที่เหมาะกับเรื่องราวที่อยากแชร์
ทั้งนี้ คุณพีท ได้แชร์แนวคิดส่วนตัวให้กับครีเอเตอร์ หรือคนที่อยากเป็นครีเอเตอร์ด้วยว่า บางทีการที่เราใช้เครื่องมือใกล้ๆ ตัวอย่าง iPad หรืออะไรก็ได้ แล้วลองฝึกที่จะเล่าเรื่องของตัวเองในแบบง่ายๆ เช่น วันนี้เราทานอะไร, เราไปเที่ยวแล้วเห็นอะไร, มีความในใจอะไรที่อยากบอก ฯลฯ สิ่งเหลานี้สามารถเป็นคอนเทนต์ได้หมดอยู่ที่การดีไซน์สคริปต์ และองค์ประกอบอื่น
นอกจากนี้ คุณพีทยังพูดด้วยว่า “การที่เราจะทำโฆษณาให้แบรนด์ๆ หนึ่ง เราจำเป็นต้องมีประสบการณ์ เข้าใจในแบรนด์นั้นๆ ก่อน หรือรู้ว่าสินค้าที่เราต้องพูดถึงคืออะไรกันแน่ เพราะการสื่อสารด้วยความจริงใจ ให้ real มากๆ เป็นสิ่งสำคัญ”
ส่วนวิธีการเติมไอเดียสำหรับคุณพีท ก็คือ การเข้าไปดูกระแสอยู่บ่อยๆ ดู #แฮชแท็ก หรือจะเป็นในสื่อโซเชียล ในยูทูป (YouTube) ก็ช่วยได้ หรือแม้แต่การที่เราติดตามผลงานของคนอื่นที่เป็นสายครีเอทีฟเหมือนกันก็ช่วยได้เหมือนกัน พูดง่ายๆ ก็คือ คนอื่นทำอะไร เราจะได้หนีมาจากสิ่งที่เขาทำ ซึ่งมันจะทำให้เกิดสิ่งใหม่ ไอเดียใหม่ขึ้นมา
ได้ฟังมุมมองของคุณพีทแล้ว พูดได้ว่าความครีเอทกับธุรกิจหรือแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ และยังเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ได้ ขณะเดียวกันในปัจจุบันเราเริ่มเห็นสกิลของครีเอเตอร์ในรูปแบบที่ “จบครบที่คนเดียว” มากขึ้น ตั้งแต่กระบวนการคิด, เขียนสคริปต์เอง, ตัดต่อเอง, นำเสนอเอง ฯลฯ เพราะ digital tools ค่อนข้างเอื้อความสะดวกให้กับคนยุคนี้ ดังนั้น หากใครที่มีทักษะครีเอทีฟถือว่าเป็นข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งในยุคนี้
ข้อมูลโดย Wunderman Thompson Thailand