viewability จำเป็นสำหรับการวัดผลการเข้าถึงบนสมาร์ทโฟนจริงหรือ?

  • 23
  •  
  •  
  •  
  •  

ad-viewability-hed-2015

ปัจจุบันมาร์เกตเตอร์หลายคนกังวลว่ายอดโฆษณาที่ผู้บริโภคมองเห็นบน desktop จะสู้บนโมบายไม่ได้มากขึ้นทุกขณะ เนื่องจากเทรนด์ของผู้ใช้ปัจจุบันนิยมบริโภคคอนเทนต์ผ่านโมบายเป็นส่วนใหญ่และมาร์เกตเตอร์ก็วัดผลผ่านทางยอด viewability แต่จริงหรือที่ไม่มีสถิติตัวอื่นที่จำเป็นต้องพิจารณา วันนี้ Media Rating Council (MRC) มีคำตอบ

MRC ระบุเกี่ยวกับยอมวิวว่าจำนวนการรับชมบนสมาร์ทโฟนนั้นจะต้องใช้หลักวัดที่แตกต่างจากบน desktop

“ยอด viewability บนโมบายสูงมากและนั้นเป็นแรงกดดันที่ทำให้แบรนด์ต้องเริ่มหันเข้าหาโมบายมากขึ้นทุกวัน” George Ivie ซีอีโอและผู้อำนวยการ MRC ระบุและว่า บริษัทจึงต้องพัฒนาวิธีการวัดผลสำเร็จใหม่ที่แม่นยำกว่าการดูยอด viewability อย่างเดียว เพื่อให้มาร์เกตเตอร์รู้ศักยภาพที่แท้จริงของมัน โดยจะให้สถิติที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณามากขึ้น

เพื่อดูว่าโมบายและ desktop สามารถสะสมยอด viewability ได้อย่างไร Moat ทำการศึกษาเว็บไซต์ของลูกค้าซึ่งมีทั้ง The New York Times, AOL และ Vox พบว่ากว่า 44% ของโฆษณาบนโมบายถูกเสพเทียบกับ 52% ของโฆษณาบน desktop ซึ่งที่เป็นเช่นนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องปกติเพราะผู้ใช้สมาร์ทโฟนมักเลื่อนหน้าจอลงข้างล่างเร็วกว่าผู้ใช้ desktop ทำให้อ่านคอนเทนต์ไม่ทัน ส่วนในตอนอยู่บนหน้าเว็บไซต์ กว่า 76% ของผู้ใช้โมบายจะเลื่อนลงมาอ่านคอนเทนต์ด้านล่างเทียบกับ 63% ของผู้ใช้ desktop

viewability-quote2

นอกจากนี้ยังมีผลการสำรวจที่น่าสนใจอีกคือ ผู้ใช้โมบายโดยเฉลี่ยบนเว็บไซต์จะเริ่มเลื่อนหน้าจอลงหลังจากคอนเทนต์โหลดและเนื้อหาไม่ยอมมาสักทีใน 13 วินาที ขณะที่หากเป็นบน desktop จะกลายเป็น 24 วินาทีแทนซึ่งให้เวลาโฆษณาโหลดมากขึ้น

Jonah Goodhart ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Moat ระบุว่าหากโฆษณาของแบรนด์โหลดช้ามาก โอกาสที่จะไม่มีใครดูหรือเห็นก็ยิ่งมากขึ้น

ด้านเวลาในการชมโฆษณาโดยเฉลี่ยบนโมบาย 17 วินาทีและ 25 วินาทีบน desktop ซึ่งจะเห็นว่าไม่เยอะมากเท่าไหร่ และยอด viewability ตรงนี้จะยิ่งน้อยลงอีกหากนับ ad blocking ที่เริ่มถือกำเนิดมากขึ้นทุกที

ปัจจุบันนี้ ยอด viewability กลายเป็นสถิติที่เอเจนซี่ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ แต่ต้องอย่าลืมว่ายังมีสถิติอื่นรายล้อมที่ต้องพิจารณาประกอบด้วย เช่น ประสบการณ์การมีส่วนร่วม ยอด respond  ของผู้ใช้ ประเภทของโฆษณาทั้งแบบ international หรือ native สรุปว่าคุณภาพของคอนเทนต์หรือข้อมูลเชิงคุณภาพก็ยังเป็นสิ่งที่มาร์เกตเตอร์ต้องสนใจอยู่ดี

Source


  • 23
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง