วิถีชีวิตแบบ Work From Home อาจทำให้การทำงานเป็นทีมเป็นเรื่องท้าทายกว่าเดิม เพราะเราไม่รู้ว่าแต่ละคนในทีมทำงานกันอย่างไร? คนที่ทำงานมีประสิทธิภาพในออฟฟิศอาจจะทำงานได้น้อยลงเมื่อต้องหอบงานมาทำที่บ้านแทน หรือคุยกับเพื่อนร่วมทีมน้อยลง เพราะไม่ดั่งใกล้กันหรือเดินไปหาได้เหมือนตอนอยู่ในออฟฟิศ เราไม่รู้เลยว่าแต่ละคนทำงานอะไรกันบ้างจริงๆในแต่ละวัน พนักงานเข้าถึงข้อมูลได้ไม่เต็มที่ พนักงานรู้สึกเหงาเมื่อแยกตัวเองออกจากสังคมและผู้คน พนักงานบางคนที่มีครอบครัวอาจะทำงานได้ไม่เต็มที่เพราะมีสิ่งรบกวนในบ้าน
คำถามคือแล้วหัวหน้าทีมจะดูแลเพื่อนร่วมทีมอย่างไร? เรามี 5 คำแนะนำที่น่าสนใจให้เอาไปใช้ในที่ทำงานดู
1. มีการเช็คอินในการทำงานแต่ละวัน
หัวหน้าทีมควรนัดพูดคุยสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานแต่ละคนในแต่ละวันก็ได้ หรือจะนัดคุยกันเป็นทีมเลยก็ได้ ที่สำคัญคือควรมีหัวข้อหรือข้อกังวลที่ทีมสามารถเสนอความเห็นและร่วมกันแก้ไขปัญหาได้
2. มีช่องทางในการติดต่อหลายๆช่องทาง
ไม่ใช่แค่อีเมล แต่รวมถึง Video Conference (เช่น Zoom และ Google Hangout) ให้ได้เห็นหน้าและได้ยินเสียง ช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยวของตัวพนักงาน ข้อดีของ Video Conference อย่างหนึ่งคือเราสามารถพูดคุยในเรื่องที่อ่อนไหวหรือมีความซับซ้อนเข้าใจยากได้ดีกว่าคุยผ่านโทรศัพท์ แต่ถ้าเรื่องที่คุนเป็นเรื่องเข้าใจง่าย ไม่ทางการ คุยโทรศัพท์เอาก็ได้
3. มีกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน
ถ้าหัวหน้างานคาดหวังในเรื่องขอกการสื่อสาร ไม่ว่าจะสื่อสารบ่อยแค่ไหน? สื่อสารกันอย่างไร? สื่อสารกันตอนไหน? เช่นเราจะใช้ Video Conference ในการประชุมกันในแต่ละวัน แต่เราจะใช้โทรคุยกันในเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน ที่สำคัญพนักงานควรได้รับทราบว่าเวลาติดต่อสื่อสารกันได้ในช่วงเวลาใด ประเด็นคือพนักงานทุกคนควรคาดหวังเรื่องของการติดต่อสื่อสารให้ตรงกันมากที่สุด
4. ให้โอกาสเพื่อนร่วมงานในการเข้าสังคม
ไม่ใช่คุยกันแต่เรื่องงานอย่างเดียว พนักงานที่อยู่ๆต้องมาทำงานที่บ้านแทนที่ออฟฟิศควรเข้าถึงโอกาสที่ว่า เช่นก่อนประชุมคุยเรื่องงาน ควรนัดก่อนล่วงหน้าเพื่อที่เราได้คุยเรื่องสัพเพเหระด้วย เช่นวันหยุดเสาร์อาทิตย์ทำอะไรบ้าง? หรือชวนกินข้าวผ่าน Video Conference ก็ยังได้ ก็พอช่วยให้พนักงานหายเหงาได้
5. ให้กำลังใจกันในยามยากลำบาก
หัวหน้าทีมควรตระหนักว่าเพื่อนร่วมทีมอาจจะเครียด กังวลในการพยายามทำงานที่บ้านให้ได้งานเท่าๆกับการทำงานในออฟฟิศรวมถึงการเข้าสังคม การถามพนักงานเช่น “ทำงานที่บ้านเป็นอย่างไรบ้าง?” แล้วตั้งใจฟังถึงปัญหาของพนักงานที่ทำงานที่บ้านอาจจะเล่าให้ฟัง เพื่อนร่วมงานต้องคอยตั้งใจฟังและรับรู้ถึงปัญหาของพนักงาน
ภาวะผู้นำในช่วงวิกฤติสำหรับพนักงานแล้ว ผู้นำไม่ใช่แค่คอยสื่อสารและรับทราบถึงความเครียด ความกดดันของพนักงานที่ทำงานที่บ้าน แต่การบอกพนักงานว่า “เราเข้าใจ เราจะผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน เรามาหาทางออกด้วยกันนะ?” ทำให้พนักงานอุ่นใจและทำงานกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้การทำงานในที่ทำงานครับ
แหล่งอ้างอิง: A Guide to Managing Your (Newly) Remote Workers โดย Barbara Z.Larson, Susan R. Vroman และ Erin Makarius จาก Harvard Business Review มีนาคม 2020