ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลาด Influencer เติบโตขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่การเติบโตก็ควรควบคู่ไปกับคุณภาพด้วย ซึ่งประเด็นนี้ได้ถูกผลักดันมาตลอดจาก Tellscore หนึ่งในผู้นำด้าน Influencer Marketing ที่ให้ความสำคัญและซัพพอร์ตในเรื่องนี้มาตลอด หนึ่งในการขับเคลื่อนเรื่องนี้คือการจัดงานใหญ่ครั้งสำคัญอย่างต่อเนื่อง เป็นที่รู้จักในนาม Thailand Influencer Awards 2022 งานประกาศรางวัลสำหรับอินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์ชั้นนำทั่วประเทศ อีเวนท์สำคัญของวงการ Influencer ซึ่งปีนี้มาในคอนเซ็ปต์ “F O R W A R D” Looking Forward >> Thinking Forward >> Moving Forward โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฟ้นหาคนคุณภาพที่สามารถทำหน้าที่ส่งแรงกระเพื่อมทางความคิดที่ดี มีพลัง วัดผลได้ เป็นที่ยอมรับในสังคม พร้อมส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการสร้างคอนเทนต์ที่ดี รวมถึงการสร้างสังคม Influencer ให้เป็นเครือข่ายสังคมที่รวมคนคุณภาพ และเป็นศูนย์กลางการแชร์ประสบการณ์การด้านการสื่อสารในมุมมองต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งปีนี้ทำการจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว และเพิ่มความพิเศษมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีการเพิ่มทั้งพาแนลเซกชั่นและเพิ่มอีก 4 รางวัลใหม่ตามเทรนด์ที่เกิดขึ้น แต่รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น คุณสุวิตา จรัญวงศ์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เทลสกอร์ จำกัด และผู้จัดงาน Thailand Influencer Awards จะเป็นผู้เล่ารายละเอียดและความพิเศษต่างๆ ในปีนี้ให้เราฟัง
ครั้งแรกกับการเปิดเวทีของ 5 Influencer Platform ชั้นนำระดับ APAC
คุณสุวิตา บอกว่า สำหรับปีนี้เราได้เพิ่มเรื่องของ Panel discussion เข้ามาด้วย โดยมี 2 เซกชั่นด้วยกัน เซกชั่นแรกหัวข้อ ‘How is NFT shaping the content creator economy’ และอีกเซสชั่นเป็นภาษาอังกฤษในหัวข้อ ‘The shaping of Asia Pacific influencer economy’
สำหรับเหตุผลที่เพิ่ม 2 เซกชั่นนี้เข้ามาเพราะว่า เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า NFT มีบทบาทเพิ่มขึ้นในหลายๆ แง่มุม ซึ่งรวมไปถึงการทำคอนเทนต์ของครีเอเตอร์ในบ้านเราด้วย เราเห็นชัดเจนว่าครีเอเตอร์หลายคนขยับตัวเข้าสู่ NFT มีการทำทั้งรูปแบบคลิปทำรูปแบบเสียงแล้วก็เทิร์นเป็น NFT ดังนั้น เรื่องนี้เราเห็นแล้วว่าเทรนด์มันเกิดขึ้นเยอะดังนั้น ไม่หยิบมาพูดกันคงไม่ได้ รวมไปถึงจะมีแง่มุมการให้ความรู้แก่ครีเอเตอร์ที่จะโดดเข้าสู่วงการ NFT ด้วยว่า จะเล่นอย่างไร เพราะมันมีความเสี่ยงเหมือนกัน มันอาจจะไม่ใช่คริปโตฯ ที่เล่นเพื่อเก็งกำไร แต่มันคือสินทรัพย์ใช้เก็บสะสมได้ มีมูลค่าทางจิตใจ แต่ที่มากไปกว่านั้นคือเราจะร้อยเรื่องของการที่แบรนด์เองก็อยากจะเข้ามาแกร็บออเดียนซ์ไปจากผู้ติดตามของ Creator เหล่านั้นด้วยเช่นกัน แล้วจะมีวิธีการทำงานร่วมกันอย่างไร
ในขณะที่เซกชั่นที่ 2 ก็ต้องบอกว่าพิเศษมากจริงๆ เรียกได้เลยว่า เวทีแรกในภูมิภาคของการรวมตัวครั้งใหญ่และครั้งสำคัญ ของ Influencer platform รายใหญ่ในระดับ APAC เพราะว่าเราได้เชิญทั้งเบอร์ต้นๆ 1 และเบอร์ 2 ของแพล็ตฟอร์มด้าน Influencerจาก 5 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย มาร่วมพูดคุยกันแลกเปลี่ยนไอเดียและประสบการณ์กันบนเวที เพื่อมาแชร์กันว่าในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกของเรามีศาสตร์และศิลป์ของการทำงาน Influencer อย่างไรบ้าง มี ecosystem แตกต่างจากบ้านเราอย่างไรบ้าง และที่สำคัญน่าจับตามากๆ คือเทรนด์ของการที่จะเกิดขึ้นของ Cross border กับการร่วมงาน Influencer ข้ามประเทศซึ่งปีหน้านี้จะเห็นกันเยอะขึ้นอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นที่ต่างประเทศจ้าง Influencer ไทย หรือการที่แบรนด์ไทยจ้าง Influencer เมืองนอกทำคอนเทนต์ ตรงนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งสิ่งนี้มีหลายข้อมูล Insight ที่น่าสนใจมากมาย ที่เราเองยังไม่เคยรู้ ซึ่งนักการตลาดและแบรนด์ควรได้ศึกษาและทำความเข้าใจ เช่น บางประเทศการรีวิวเครื่องสำอางว่าสร้างผิวออร่ากระจ่างขาวมากก็ไม่ได้ หรือการเรียนรู้การทำคอนเทนต์ในประเทศมุสลิมที่ค่อนข้างอ่อนไหว เป็นบริบททางวัฒนธรรมที่เราต้องเรียนรู้อย่างละเอียดมากทีเดียว ที่สำคัญยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคของเราให้โตเพิ่มขึ้นด้วย
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ในต่างประเทศนั้นให้ความสำคัญกับ Influencer Marketing อย่างมากเพราะสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับแบรนด์ ดังนั้น ในแผนการทำการตลาดจะมีการแยกบัดเจ็ทเป็นงบฯ สำหรับ Influencer Marketing โดยเฉพาะ ไม่ได้รวมเป็นมาร์เก็ตติ้งแพลนแบบที่เราทำ ซึ่งน่าสนใจมาก หรือการเติบโตของ Education Content ในฟิลิปปินส์ ซึ่งเขามีวิธีในการนำเสนอที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการ ติวเลข การสอนฟิสิกส์ มีการสร้าง Entertainment value ประกอบกการสอนด้วยเสมอ หรือคอนเทนต์ที่ให้ความรู้ด้านยาต่างๆ ก็มีคนเอ็นเกจกันเยอะมาก เป็นเรื่องราวที่แบรนด์ไทยควรที่จะรู้และเป็นเวทีแรกที่รวมมาให้แล้ว
นอกจากนี้ ในอนาคตตลาดนี้จะไปในทิศทางไหน Next Step ของ Influencer Marketing ในแต่ละประเทศจะเป็นอย่างไร TikTok มาแรง แต่ไม่ใช่ทุกประเทศจะมีพฤติกรรมเดียวกัน และสุดท้ายคือเรื่องของ Conversions แต่ละประเทศก้าวหน้ากันไปถึงไหนแล้ว เพราะปัจจุบันคนใช้ Influencer Marketing ไม่ได้มอง แค่เรื่องสร้าง Awareness แล้ว แต่เขามองหายอดขาย ยอดดาวน์โหลด ฯลฯ และเรื่องของ Affiliated Marketing มาแรงจริงหรือไม่ แต่บางประเทศก็ยังไม่ได้ยอมรับเท่าไหร่นัก ทั้งหมดนี้เราจะได้รับเต็มๆ บนเวทีอย่างแน่นอน
เพิ่ม 4 รางวัลพิเศษใหม่ตามเทรนด์ร้อนแรง
นอกเหนือจากการเพิ่มเซกชั่น Panel discussion ขึ้นมาแล้ว ปีนี้ก็ยังมีการเพิ่มอีก 4 รางวัลใหม่ขึ้นมาด้วย ได้แก่
- Best Virtual Influencer
- Best NFT Artist
- Best Kids Influencer
- Best Regional Influencer – by Regional Judging Panel
สำหรับรางวัล “Best Virtual Influencer” ปีนี้บอกเลยว่า Virtual Influencer มาแรงมากดังนั้นไม่จัดไม่ได้ ซึ่งล่าสุดทราบหรือไม่ว่าตอนนี้ที่ไทยมีถึง 13 ตัวตนแล้ว บ้านเราคนไทยที่มีประชากร 60-70 ล้านคน มีบุคคลที่เป็น Virtual ถึง 13 คนแล้วยังมีการครีเอทกันขึ้นมาอีกเรื่อยๆ ดังนั้น ถือว่าเป็นเทรนด์ที่พลาดไม่ได้จริงๆ ส่วนรางวัล “Best NFT Artist” ตรงนี้อย่างที่กล่าวไปตอนต้นถึงความร้อนแรงของกระแส NFT แล้วยังเป็นการให้เกียรติกับครีเอเตอร์ที่ทุ่มเทให้กับเรื่องนี้
ส่วนรางวัล “Best Kids Influencer” แม้ว่า Influencer เด็กจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในระยะหลังเราเห็นการเติบโตที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงหลังโควิด ที่พ่อแม่ให้เวลากับลูกเยอะมากขึ้น มีการซัพพอร์ตในการทำคอนเทนต์จนทำให้ช่องต่างๆ เหล่านี้มีการเติบโต 3-4 เท่าของบล็อกเกอร์ไซส์ปกติ บางช่องมียอดฟอลโลวเวอร์ 7-8 ล้านใน Youtube เลยทีเดียว และสุดท้าย “Best Regional Influencer” ในด้านของเทรนด์อย่างที่กล่าวไปตอนต้น แต่มากไปกว่านั้น เมื่อเหล่ากรรมการได้มา collaboration กัน ดังนั้นเราก็มองว่าไม่ควรทำแค่การมาทอล์กกันบนเวที แต่ควรมอบรางวัลแด่ความทุ่มเทให้กับเหล่าครีเอเตอร์ที่ทำงานตรงนี้ด้วย ซึ่งเหล่าคณะกรรมการก็ได้ทำงานร่วมกันในการคัดสรรกว่า 6 เดือนเลยทีเดียว โดยให้แต่ละประเทศไปเฟ้นหาสุดยอดของแต่ละประเทศกันออกมา โดยคุณสมบัติหลักก็คือ สามารถทำคอนเทนต์ที่ดีลีฟเวอร์ไปต่างประเทศได้ ภาษาอังกฤษดีหรืออย่างน้อยก็ทำซับไตเติ้ลต่างประเทศด้วย เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพแบรนด์ให้ก้าวออกไปมากกว่าอยู่แค่ในประเทศ ทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ซี่งเป็นคุณสมบัติพิเศษไม่ใช่ครีเอทในประเทศอย่างเดียว
ยกระดับมาตรฐาน Influencer สู่ระดับสากล
สิ่งสำคัญที่ทางคุณสุวิตาคาดหวังจะสร้างให้เกิดขึ้นในการจัดงานครั้งนี้ เจ้าตัวบอกอย่างถ่อมตัวว่า แน่นอนว่าเราอยากจะกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาค หลังจากที่ทั่วโลกโดนผลกระทบกับโควิด แต่เราก็มิบังอาจที่จะกล้าคาดหวังขนาดนั้นได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เรามุ่งมั่นแน่นอนก็คือการที่อยากจะยกระดับตลาด Influencer ในบ้านเราให้ดียิ่งขึ้นและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อยากให้แบรนด์เชื่อมั่นในตลาด Influencer และที่สำคัญพร้อมสู่เวทีโลกในระดับสากลต่อไป ซึ่งจะเห็นได้ว่า รางวัลต่างๆ ที่เรามอบให้ไม่ได้เฉพาะแต่คนที่อยู่กับเทลสกอร์เท่านั้น แต่เราเปิดกว้างมากได้ทุกสำนักทุกเอเจนซี่เลย
มากไปกว่านั้น อยากให้น้องๆ Influencer ได้ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง ว่าเราเป็นบุคคลสาธารณะแล้ว ดังนั้น ทุกสิ่งที่ทำจึงมีความหมายมากๆ ดังนั้น การเรียนรู้ทำในสิ่งที่ถูกต้องต่อสังคมก็เป็นเรื่องสำคัญมาก ส่วนประเด็นอื่นๆ เช่น การจะสร้างเน็ตเวิร์กกิ้ง หรือการจะแมทช์ชิ้งกันระหว่าง Influencer และแบรนด์ก็ถือเป็นเรื่องดีที่เราได้พบปะกัน
5 เทรนด์สำคัญ Influencer Marketing ที่น่าจับตา
อย่างที่ทราบดีกว่า Influencer Marketing มาแรงอย่างต่อเนื่องซึ่งคุณสุวิตาแนะนำว่าจากนี้ไปให้จับตา 5 เทรนด์สำคัญ ดังนี้
1. Cross Border
อย่างที่ได้เกริ่นไว้ว่าการซื้อขายร่วมงานของ Influencer ข้ามชาติปีหน้ามาแน่ๆ ดังนั้น Influencer ทุกคนต้อเตรียมพร้อมให้ดี ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา หรือการทำซับไตเติ้ล หรือเรียนรู้เรื่องการคิดราคาข้ามประเทศต้องศึกษา การดูแลลิขสิทธิ์ต้องชัดเจน การเติบโตของแอปพลิเคชั่นต่างๆ ก็มีมาก ไม่ว่าจะเป็น แอปฯ สอนโฮมสคูล แอปฯ การเงิน ซึ่งโตมากที่ต่างประเทศ แม้แต่ของเราเองลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นแอปฯ สักครึ่งหนึ่งแล้ว ดังนั้น Influencer ไทยก็ควรที่จะเตรียมตัวให้ดี
2. Content Repurposing
เป็นการ Recycle content ก็ว่าได้ โดยที่แบรนด์หรือเอเจนซี่ จะเฟ้นหา Evergreen หรือ Killer คอนเทนต์ เช่น YouTube คลิป ที่มีวิวสูงๆ แสดงว่าคนดูชอบ ก็นำคอนเทนต์ชิ้นนั้นมาตัดต่อใหม่ลงเป็น TikTok short clip และยังไปต่อได้เป็น Instagram reel ซึ่งแน่นอนว่า คนดูส่วนใหญ่ก็น่าจะชอบ เพราะมาจากเนื้อหาที่พิสูจน์แล้วว่าคนชอบ หรือการที่แบรนด์จะต่อยอดคลิปอินฟลูเอนเซอร์ โดยเจรจาตกลงว่าขอนำไป Display ในสาขา (Store) ด้วย จะคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเล็กน้อยอย่างไรบ้าง แบรนด์ก็ประหยัดไปเยอะไม่ต้องทำคอนเทนต์ชิ้นใหม่ และ อินฟลูเอนเซอร์ก็น่าจะยินดี ที่ชอบและต่อยอดคอนเทนต์ที่ร่วมงานกัน
3. Quick Commerce
การทำ Social Commerce พูดกันมาสักพักแล้ว แต่เร็วๆ น่าจับตาสำหรับ Quick Commerce โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมาของTikTok Shop ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปเลย ดังนั้น แบรนด์ต้องเตรียมพร้อม ใครที่ยังไลฟ์ขายของไม่เป็นก็ต้องพิจารณาใหม่ ดังนั้น จากนี้ Quick Commerce จะถูกกระตุ้นด้วยการมาของ TikTok Shop แน่นอน ซึ่งตรงนี้เราก็จะมีการอัปเดทให้ Influencer ได้เรียนรู้และเตรียมตัวให้พร้อม
4. Data และการหายไปของ Third Party Data
แน่นอนว่าการมาของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA ส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องการยิงโฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายได้น้อยลง เพราะแอดไม่มีข้อมูล Third Party แล้ว อันนี้เป็นปรากฎการแบบเดียวกันทั่วโลก ซึ่งทำให้การทำงานยากขึ้น ดังนั้น การเปิดแอคเคาท์ยิงแอดส์หลายๆ แอคเคาท์อย่างเดียวคงแก้ปัญหานี้ไม่ได้อีกแล้ว แบรนด์และเอเจนซี่ต่างๆ กำลังหันมาพึ่ง Third Party Data จาก Influencer มากขึ้นนั่นเอง คือการยิงแอดบนคอนเทนต์ของอินฟลูเอนเซอร์ซึ่งจะทำให้แอดนั้นๆ ได้ 3rd Party Data เช่น interest เพศ อายุ วัย ของคนที่สนใจข้อความที่อินฟลูเอนเซอร์รีวิว แต่ละแพล็ตฟอร์มตอนนี้ค่อนข้างทำงานยากในเรื่องของ Data มากขึ้น คือไม่สามารถแชร์ดาต้าข้ามกันได้อีกต่อไป เช่น TikTok แชร์Data ข้ามไป Youtube ไม่ได้เป็นต้นสิ่งเหล่านี้สะท้อนว่าแบรนด์ต้องเริ่มเก็บ First Party Data ด้วยตัวเองแล้ว นอกจากการทำ Online Form ให้ลูกค้ากรอกโดยตรง ก็ยังมี Influencer Marketing ช่วยได้นั่นเอง
5. (Companies need) everyone to be an influencer
แม้ตรงนี้เราจะเห็นกันมาพักใหญ่แล้วว่าใครโดดมาเป็น Influencer ก็ได้ แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ จะเป็นรูปแบบที่หน่วยงานต่างๆ จะดึงศักยภาพของทุกฝ่ายในองค์กรมาทำคอนเทนต์ให้แบรนด์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการให้ พนักงานเปิดช่อง TikTokไปจนถึงให้ระดับ CEO ทำคอนเทนต์สัมภาษณ์มากขึ้นทุกคนจะต้องเข้ามาช่วยกัน เนื่องจากคนภายในมี DNA ของบริษัท และเข้าใจในสินค้าบริการของตนเองมากที่สุด คุณค่าในส่วนนี้จะถูกนำมาพัฒนาและสร้างมูลค่ามากขึ้นมากในปี 2023 เป็นต้นไป
ท้ายสุดทิศทางในอนาคตของตลาด Influencer จะก้าวต่อไป คุณสุวิตาระบุว่า แบรนด์จะพูดถึงเรื่อง ROI (Return on Investment) เยอะมากขึ้น ดังนั้น Influencer Commerce จะเป็นบทสนทนาแห่งปีเลย นอกจากนี้ ในเรื่องของการทำคอนเทนต์ แน่นอนว่าความเชื่อมโยงสู่ Metaverse ต้องมาแน่ และอะไรที่เกี่ยวข้องกับ Social Currency ต่อไป Like Comment Share จะต้องเป็นเงินตราประเภทหนึ่ง คอนเทนต์ก็จะถูกกระบวนการ Digitalization มากขึ้น ซึ่งจะเริ่มเห็น Virtual Influencer, NFT Projects มากขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะแต่จะถูกปั้นขึ้นมาใหม่เท่านั้น แต่จะยังเป็นการที่เราทำตัวตนแบบอวตาร version ด้วย ซึ่งจะทำให้วงการคอนเทนต์น่าสนุกยิ่งขึ้นแน่นอน
และทั้งหมดที่กล่าวมาจะเกิดขึ้นแน่นอนในงาน Thailand Influencer Awards 2022 by Tellscore ดังนั้น ขอเชิญชวนอินฟลูเอนเซอร์รวมไปถึงผู้ติดตามทุกคน และนักการตลาดทั่วประเทศ มาร่วมลุ้นผลรางวัลไปพร้อมกันในวันที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ TRUE ICON HALL ชั้น 7 ICONSIAM และสามารถรับชม LIVE Broadcast ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/Tellscore หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thailandinfluencerawards.com หรือ www.tellscore.com