ถอดความคิด นพ. ศุภชัย ทำไมผู้นำองค์กรไม่ควรพลาดงาน Corporate Innovation Summit 2019

  • 345
  •  
  •  
  •  
  •  

RISE ชวนผู้นำด้านนวัตกรรมระดับโลกมามอบ Know-how แก่คนไทยในงาน Corporate Innovation Summit 2019 งานใหญ่ระดับนี้ ทำไมผู้นำองค์กรถึงไม่ควรพลาด บุคคลที่ตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด คือ นพ. ศุภชัย ปาจริยานนท์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร RISE – Regional Corporate Innovation Accelerator สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมระดับภูมิภาค ผู้จัดงาน Corporate Innovation Summit 2019 ในครั้งนี้

นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ เล่าให้ Marketing Oops! ฟังว่า

ทุกครั้งที่งานสัมมนาในเมืองไทยส่วนใหญ่จบลง และแน่นอนทุกคนได้องค์ความรู้ (Knowledge) แต่จะดีแค่ไหน ถ้าจะมีงานสัมมนาซักงานที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมงานได้รู้วิธีทำ (Know-how) เอาติดตัวกลับไปใช้และต่อยอดได้จริง และงาน Corporate Innovation Summit 2019 ของ RISE เป็นอีกหนึ่งงานสัมมนาที่มุ่งมั่นให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับทั้งความรู้และวิธีปฏิบัติที่เอาไปต่อยอดได้จริงหลังจบงาน

งาน Corporate Innovation Summit 2019 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 28-29 มีนาคมนี้ ได้ชวนผู้นำด้านนวัตกรรมระดับโลกมาให้ความรู้และฝึกผู้บริหารไทยให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และกระตุ้นให้ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจในองค์กรได้ฝึกและลงมือทำจริง และสามารถนำไปถ่ายทอดทั้งทฤษฎีและวิธีปฏิบัติจริงให้กับคนในองค์กร จนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ความเป็นเลิศในการสร้างนวัตกรรมได้ในที่สุด

ความจำเป็นและความท้าทายในการทำ Business Transformation ในหมู่องค์กรไทย

วัฒนธรรมแบบ “ล้มไม่ได้” ขององค์กรไทยยังเป็นอุปสรรคของคนในองค์กรที่ทำให้เกิดความกลัวและไม่กล้านำเสนอไอเดียใหม่ ๆ ที่นำมาซึ่งการสร้างนวัตกรรม

นายแพทย์ศุภชัย ชี้ว่า องค์กรไทยไม่ยอมให้โอกาสคนได้ลองทำผิดพลาด วัฒนธรรมขององค์กรไม่ยอมให้คนในองค์กร Fail Fast ยิ่งในองค์กรขนาดใหญ่บางองค์กร การทำผิดพลาดเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ ดูอย่างวัฒนธรรมองค์กรของ Facebook ข้อหนึ่งคือ “Move Fast and Break Things” ซึ่งหมายถึง เวลาที่เราเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว อาจมีของที่แตกหักระหว่างทาง ซึ่งอันนี้เป็นธรรมชาติ เช่น เวลาที่เราวิ่งเร็ว เราก็อาจจะไปสะดุดก้อนหินกลางทางก็ได้ แต่นั่นไม่ได้แปลว่า การสะดุดตรงนั้นจะไม่ทำให้เราประสบความสำเร็จ การสะดุดตรงนั้นอาจจะเป็นการสะดุดเพื่อไปต่อก็ได้ ดังนั้น ความจำเป็นและความท้าทายในการทำ Business Transformation ในองค์กรไทยคือการกระตุ้นให้องค์กรนั้นยอมให้คนในองค์กร Fail Fast

“สำหรับผมแล้ว การเปิดโอกาสให้คนในองค์กรได้ลองผิดลองถูกจำเป็นมาก เพราะว่าต้นทุนการสร้างนวัตกรรมต่ำมาก หากลองย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีก่อน การจะเก็บข้อมูลซัก 5 เมกกะไบท์ต้องใช้เมนเฟรมเครื่องขนาดยักษ์หนึ่งเครื่อง หรือราว 4 ล้านบาทเพื่อเก็บข้อมูล 5 เมกกะไบท์ แต่วันนี้ ต้นทุนแทบจะไม่มีเลยเพราะมันฟรี มันสามารถเก็บข้อมูลบนคลาวด์ได้ และหากใครซักคนอยากจะลุกขึ้นมาเขียนบล็อกโดยข้อมูลที่เก็บบนคลาวด์ได้ฟรีนี้ก็สามารถเขียนได้เพราะต้นทุนมันต่ำกว่าเมื่อ 40 ที่แล้ว” นายแพทย์ศุภชัยกล่าว

นอกจากนี้ ความรู้สึกถึงความเร่งด่วน (Sense of Urgency) เป็นอีกหนึ่งไม้เบื่อไม้เมาขององค์กรแบบไทย ที่ต้องใช้เวลาในการปรับทัศนคติและกรอบวิธีคิด (Mindset) ของผู้บริหารให้เร่งรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ผู้บริหารประเภท HiPPO หรือผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจในองค์กรและค่าตัวสูง (High-paid person’s opinion) ในเมืองไทยหลายแห่งยังคงยึดติดกับพื้นที่ที่สุขสบายของการทำงานเดิม ๆ (Comfort Zone) จนสร้างวัฒนธรรมที่ไม่ได้เอื้อให้เกิดความรู้สึกถึงความเร่งด่วนในการสร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ

นายแพทย์ศุภชัย บอกว่า ผู้บริหารองค์กรมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดความรู้สึกถึงความเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมเป็นอย่างมาก และบทบาทของ Corporate Innovation Summit 2019 มุ่งมั่นเป็นเวทีที่จะมาช่วยกระตุ้นองค์กร ไม่ว่าจะภาครัฐและเอกชน แก้ไขปัญหาตรงนี้ ผ่านการแชร์ประสบการณ์จากผู้นำด้านนวัตกรรมระดับโลก จากเวิร์กชอปทั้ง 8 ได้แก่ Skillset and Mindset Transformation, Corporate Venture Capital, Corporate  Entrepreneurship, M&A and Beyond, Government and Policy, Deep Technology, Innovation and Creativity และ Corporate Accelerator แถมด้วยคลินิกให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมทางธุรกิจระดับโลก ตลอดจนให้บริการติดตามผลหลังจบงานอีกด้วย

Corporate Innovation Summit 2019
เจาะความคิด ดร. คิด ศุภชัย ปาจริยานนท์ กับงาน Corporate Innovation Summit 2019 กับการรวมสุดยอดผู้นำด้านนวัตกรรมระดับโลกมามอบ Know-how ให้กับผูู้นำองค์กรแก่คนไทย

Key Content และ Key Speakers

ในยุค Customer Centric แบบปัจจุบัน นักการตลาดและผู้ประกอบการจะต้องเข้าถึงโมเดลธุรกิจที่ทุกอย่างเน้นออกแบบเพื่อลูกค้ามาก่อนเสมอ และกระบวนการคิดเชิงออกแบบจะเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่จะทำให้นักการตลาดและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงลูกค้า และเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งแน่นอน นักการตลาดและผู้ประกอบการที่เก่งเรื่องการตลาดอยู่แล้วก็ไม่ควรพลาด

“เราโชคดีมากที่วันนี้เราได้ Tom Kelley หนึ่งในผู้ก่อตั้ง IDEO ซึ่งเป็นบริษัท Design Consultancy ที่คิดออกแบบเมาส์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และโปรดักส์ระดับโลก เช่น ปากกาฉีดอินซูลินให้ผู้ป่วยเบาหวาน มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ของตัวเองในงานนี้ และนอกจากนี้ Kelley ยังเป็นเจ้าของหนังสือขายดี เช่น Creative Confidence, The Art of Innovation และ The Ten Faces of Innovation ที่จะมาช่วยให้คำปรึกษาในการสร้างนวัตกรรมในองค์กรแก่ผู้เข้าร่วมงาน โดยเฉพาะเมื่อนักการตลาดและผู้นำในองค์กรมักพูดถึงการสร้างนวัตกรรมในองค์กรให้เกิดขึ้น แต่ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ทำยังไงให้องค์กรคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ทำยังไงให้องค์กรผลิตสินค้าได้ตอบโจทย์ผู้ซื้อมากขึ้น โดย Kelley จะมาช่วยให้คำแนะนำในเรื่องของการกระตุ้นให้คนในองค์กรได้มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นและต้องทำอย่างไร ซึ่ง Kelley จะมาช่วยทำเวิร์กชอปเรื่อง Creative Confidence และที่สำคัญ การทำเวิร์กชอป Creative Confidence โดย Tom Kelley จะเป็นงานแรกในประเทศไทยด้วย” นายแพทย์ศุภชัยกล่าว

Tom Kelley และพี่ชาย David Kelley เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Stanford D-School หรือ Design School ในมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ซึ่งเป็นหนึ่งในคอร์สที่คนอยากเรียนมากที่สุดในมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด

“คนที่สองที่นักการตลาดไม่ควรพลาดคือ Dan Roam เจ้าของหนังสือขายดีของสำนักพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ชื่อ The Back of the Napkin และเป็นปรมาจารย์ในเรื่องของ Visual Thinking ซึ่งเป็นศาสตร์ว่าด้วยการอธิบายเรื่องยาก ๆ ให้เข้าใจได้ง่ายผ่านภาพต่าง ๆ ซึ่งเหมาะมากสำหรับผู้บริหารและการถ่ายทอดไอเดีย ซึ่งบางคนในองค์กรไม่ถนัดเรื่องการถ่ายทอดผ่านการพูดหรือบรรยาย หรือพูดแล้วคนยังไม่เข้าใจ Visual Thinking ก็สามารถช่วยให้สื่อสารด้วยภาพได้และสำคัญมากในการสร้างนวัตกรรม ซึ่ง Roam ก็จะมาทำคอร์สที่ฮ็อตฮิตที่สุดของเขานี้ ที่นำเอา Visual Thinking มาช่วยให้เกิดการสร้าง Visual Innovation ในองค์กร” นายแพทย์ศุภชัยเสริม

Dan Roam เป็นผู้ก่อตั้ง DAN ROAM Inc. ที่มีสโลแกนที่เป็นแรงบันดาลใจว่า “Visual Clarity to Win” คือถ้าอยากจะชนะ การอธิบายให้ชัดเจนผ่านภาพก็จะช่วยให้การสร้างนวัตกรรมในองค์กรเกิดขึ้นได้ ผ่าน 3 กลยุทธ์ได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) การสร้างทักษะ (Skill Building) และการสร้างความสามารถ (Capability Creation) จนทำให้เกิดการเห็นภาพที่ชัดเจน ภาพที่สอดคล้องและเกิดการ Engage ในหมู่สมาชิกทีมที่ร่วมคิดค้นนวัตกรรม

“คนสุดท้ายก็พลาดไม่ได้เช่นกัน คือ Alex Osterwalder เจ้าของต้นแบบ Business Model Canvas ที่โด่งดัง และแน่นอน Osterwalder ไม่ได้มาแค่วันเวิร์กชอปเท่านั้น และจากการที่นักการตลาดมักบอกว่า จะไป Convince ลูกค้าโดยการนำเสนอไอเดียแปลกใหม่ ผู้บริหารองค์กรจะตั้งคำถามว่า ไอเดียที่ว่าจะสร้างผลกำไรหรือไม่ ซึ่งในความเป็นจริง วิธีการวัดผลสำเร็จกับนวัตกรรมด้วยวิธีนี้อาจจะไม่เหมาะ ถ้าเราต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาแล้วผู้บริหารถามแต่ว่า จะกำไรเมื่อไหร่ ผมคิดว่านวัตกรรมไม่เกิด ซึ่งหลายนวัตกรรมอาจจะไม่มีกำไรก็ได้ หรือว่าอาจสร้างกำไรแต่ใช้เวลานาน ซึ่ง Osterwalder จะเข้ามาช่วยทำเวิร์กชอปชื่อ Innovation Matrix ที่ช่วยให้นักการตลาดและผู้บริหารเข้าใจวิธีการวัดผลและการบริหารจัดการนวัตกรรมในองค์กร และแน่นอนก็เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเช่นกัน” นายแพทย์ศุภชัยกล่าว

Program Highlight และ Workshop บางส่วนของงาน

Corporate Innovation and Transformation ในอนาคตทั้งในองค์กรไทยและเทศ

แน่นอนว่า องค์กรทั้งในไทยและต่างประเทศ หากต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง (Transform) เพื่อเข้าสู่การเป็นองค์กรธุรกิจแห่งอนาคต องค์กรต้องหันมาให้ความสนใจในเรื่องของการสร้างนวัตกรรมเป็นอย่างแรก

นายแพทย์ศุภชัย แนะว่า “ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นตลอดเวลา (Constant Change) ซึ่งความเห็นนี้มาจาก Joi Ito ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ MIT Media Lab ที่เป็นสถาบันวิจัยที่มุ่งมั่นจะไม่วิจัยอะไรเลยที่มีคนเคยวิจัยมาแล้วในโลก ซึ่ง Ito บอกว่า ต่อจากนี้ไป  การที่เรารู้สึกกันว่า ต่อไปในอนาคตจะมีแอพพลิเคชันใหม่ ๆ เกิดขึ้นนั้น จะกลายเป็นเรื่องปกติ และการเกิดขึ้นของสิ่งใหม่ ๆ ทุกวันจะเป็นเรื่องปกติ เวลาที่เราถามองค์กรต่าง ๆ ว่ามีอะไรที่รู้สึกว่าท้าทายบ้าง องค์กรเหล่านี้จะรู้สึกว่า สตาร์ทอัพที่เข้ามา ต้นทุนก็ต่ำกว่า แล้วองค์กรเราจะสู้กับสตาร์ทอัพเหล่านี้ได้ยังไง หรือจะเดินหน้าอย่างไร ซึ่งในความเป็นจริง องค์กรเหล่านี้ถือว่าไม่ได้โชคดีนัก เพราะต่อไปทุกอย่างจะไม่เหมือนเดิม และการเปลี่ยนแปลงจะมาเรื่อย ๆ และคำถามที่สำคัญคือ เราจะรับมือกับ “การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง” นี้อย่างไร ซึ่งหัวใจสำคัญในการแข่งกับสตาร์ทอัพคือ “นวัตกรรม” ถ้าองค์กรไม่ยอมสร้างนวัตกรรมจะกลายเป็นว่าองค์กรเองต้องสู่กับคู่แข่งในเรื่องของราคา หรือแข่งขันกันในเรื่องของ Economy of Scale ในกรณีที่องค์กรไม่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เร็วพอ”

Corporate Innovation and Transformation
ตัวอย่าง Attendees ที่มาร่วมงาน CIS 2019

ส่งมอบทั้ง Knowledge และ Know-how ที่ทำได้จริงและยั่งยืน

งาน Corporate Innovation Summit 2019 ที่จะจัดขึ้นที่ เซ็นทาราแกรนด์แอนด์บางกอกคอนเวนชันเซนเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ในเดือนมีนาคมนี้ เน้นการปฏิบัติจริง สามารถนำไปต่อยอดได้ และส่งต่อความรู้และวิธีปฏิบัติให้กับบุคลากรอื่น ๆ ในองค์กรได้และยั่งยืน โดยผู้จัด Corporate Innovation Summit 2019 สามารถให้คำปรึกษาเพิ่มเติมในการติดตามผลหลังจากจบงานได้อีกด้วย

หากองค์กรที่ต้องการเติบโตแบบก้าวกระโดดก่อนใคร หรือเป็นปลาเร็วที่จะเอาชนะปลาใหญ่ได้ ก็ต้องไม่พลาดงานนี้ และยิ่งองค์กรไหนที่สามารถส่งตัวแทนระดับผู้บริหารหลาย ๆ ท่านเข้ามาร่วมทำเวิร์กชอปกับเจ้าของแนวคิดและโมเดลด้านนวัตกรรมระดับโลกได้พร้อมกันก็จะยิ่งคุ้ม เพราะสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้จากเจ้าของต้นฉบับจริง ๆ เพราะองค์กรไม่ต้องเสียเงินมากมายส่งผู้บริหารไปอบรมกันถึงต่างประเทศที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งเรียกได้ว่างาน Corporate Innovation Summit 2019 จะได้นำเอาความรู้ต้นฉบับและเจ้าของความคิดมาเสิร์ฟกันร้อน ๆ ถึงเวทีกันในใจกลางกรุงเทพฯ

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและซื้อบัตรเข้าร่วมงานได้ที่ https://cis.riseaccel.com หรือติดต่อ cis@riseaccel.com สำหรับ Corporate Bulk Rate  สำหรับแฟน Marketing Oops! ที่สนใจ สามารถใช้ PROMO CODE นี้ ‘OOPSCIS’ เพื่อรับส่วนลดได้ถึง US$200 จากราคาเต็ม หมดเขตส่วนลดวันที่ 20 มีนาคม 2562


  • 345
  •  
  •  
  •  
  •