‘SMPC สหมิตรถังแก๊ส’ กับการพัฒนาศักยภาพผ่านนวัตกรรม AI สร้างการเติบโตทั้งในและต่างประเทศอย่างยั่งยืน

  • 192
  •  
  •  
  •  
  •  

ถ้าพูดถึงธุรกิจส่งออกของไทยหลายคนอาจจะไม่ทราบว่า ไทยคือผู้ส่งออกถังแก๊สรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก โดยผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 1 ของไทยซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ บริษัท สหมิตรถังแก๊ส จำกัด (มหาชน) หรือ SMPC เจ้าตลาดผลิตภัณฑ์ถังแก๊สปิโตรเลียมเหลวชั้นนำของโลกด้วยกำลังการผลิตที่8.2 ล้านใบต่อปี และมีการส่งออกไปมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยสัดส่วนรายได้มาจากในประเทศ 5% และตลาดส่งออกถึง 95% โดยมีลูกค้าเป็นบริษัทชั้นนำด้านพลังงานระดับโลกมากมาย

 

 

ความสำเร็จของการทำธุรกิจถังแก๊สของ SMPC เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ทว่า หลังจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดครั้งใหญ่ที่เกิดจากผลกระทบของโควิดก็ดี รวมไปถึงค่าเงินที่ผันผวนบ่อย SMPC จึงมองหานวัตกรรมก้าวล้ำเข้ามาช่วยสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในหลายๆ มิติ ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาทำให้การทำงานต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ผู้ที่จะมาบอกเหล่าถึงความสำเร็จในครั้งนี้ ได้แก่ คุณปัทมา เล้าวงษ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สหมิตรถังแก๊ส จำกัด (มหาชน) ซึ่งถ่อมตัวว่าเป็นน้องใหม่ในสายเทคโนโลยี และการนำนวัตกรรมมาใช้อยู่ในจุดที่ค่อยๆ พัฒนาก้าวไปทีละขั้น แต่ถึงกระนั้น ความสำเร็จของ SMPC ก็ทำให้เรายกมาเป็นหนึ่งในเคสที่สามารถเรียนรู้เรื่องการก้าวไปสู่ระบบดิจิทัลได้เป็นอย่างดี

 

 

คุณปัทมา เล่าถึงทิศทางการทำงานของธุรกิจ SMPC ในปัจจุบันว่า ด้วยการที่ธุรกิจของ SMPC คือการผลิตถังแก๊ส ดังนั้น สินค้าที่ทำจึงต้องเน้นในเรื่องของความปลอดภัยและคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทาง SMPC ให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นการทำธุรกิจจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงเรื่องของการให้บริการด้วยที่ต้องให้ความใส่ใจ ดังนั้น 3 สิ่งหลักที่เป็นหัวใจสำคัญของ SMPC ก็คือ ‘ความปลอดภัย’ , ‘คุณภาพ’ และ ‘การบริการ’

ในช่วงที่ผ่านมาผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ตลาดพบกับความผันผวนค่อนข้างมาก ทั้งค่าเงินบาท ทั้งสภาวะรวมของเศรษฐกิจ ทำให้บริษัทฯ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานและการบริหารงาน จากเดิมที่เป็นรูปแบบของโรงงานทำงานกับในลักษณะ Manual ต้องปรับตัวเข้าสู่ Digital Transformation มากขึ้น ทั้งในเรื่องของการบริหารการทำงานและเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต

 

 

ยกตัวอย่าง การนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในเรื่องกระบวนการผลิตถังแก๊ส ซึ่งมีการนำแขนกลโรบ็อทมาใช้ในส่วนของการเชื่อม โดยนอกจากจะมาเพื่อทดแทนปัญหาแรงงานคนที่ค่อนข้างขาดแคลนในปัจจุบันแล้ว ก็มาเพิ่มศักยภาพในเรื่องของคุณภาพการผลิตเพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอและเสถียรภาพของการทำงานด้วย

ทั้งนี้ SMPC ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงานหลายปีแล้ว แต่อาจจะเป็นลักษณะของการเป็นชิ้นๆ แต่ละส่วนใช้เทคโนโลยีหนึ่ง อีกส่วนใช้เทคโนโลยีอีกอย่างหนึ่ง แต่ไม่มีการนำมาผูกโยงร้อยให้เชื่อมต่อกัน แต่ตอนนี้ทาง SMPC มองว่าอยากที่จะนำแต่ละส่วนเหล่านั้นมาผูกให้มันเป็นระบบเดียวกัน ร้อยให้เป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อให้มันเกิดประสิทธิภาพในการทำงานให้มีมากขึ้น

 

 

และเมื่อเร็วๆ นี้ทางบริษัท SMPC ได้มีการนำนวัตกรรม AI เข้ามาใช้งาน ซึ่งทำให้เล็งเห็นว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานต่างๆ ให้เกิดความแม่นยำขึ้น รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะหลายปัจจัยมีการผันผวนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าเงิน สถานการณ์โลกที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจหลายด้าน AI ก็จะมาช่วยวิเคราะห์ทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพและแม่นยำ รวมไปถึงการนำมาใช้ในเรื่องเอกสารต่างๆ ซึ่งเดิมเป็นเรื่องของ E-Workflow มาสู่ Digital Workflow โดย IBM Business Automation Workflow จะช่วยให้เกิดการลดต้นทุนในเรื่องของเอกสาร ลดเวลาทำงานเอกสาร ทำให้สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้ สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

โดยคุณปัทมายังเล่าว่า โครงการดังกล่าว ทาง SMPC ได้มีการทำงานร่วมกับทีม IBM Client Engineering ที่มาให้คำปรึกษา ไม่ว่าจะมีคำถามอะไร สงสัยตรงจุดไหน หรืออยากจะทำอะไรบ้าง ทางทีมของ IBM ก็คอยให้การสนับสนุนตลอดเวลา ร่วมกันประสานงานกับทีมของ SMPC เป็นหนึ่งเดียวกัน และผลจากการทำงาน ทำให้น้องๆ พนักงานแฮปปี้มากที่งานเสร็จรวดเร็วและได้ประสิทธิภาพด้วย

ถ้าจะถามว่าทำไม SMPC ถึงได้ตัดสินใจนำเรื่อง AI เหล่านี้ เข้ามาใช้ในเรื่องของธุรกิจ คุณปัทมากล่าวว่า “เพราะเรามองว่า มีประโยชน์ในเรื่องของการช่วยลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การลดเวลาในการทำงาน การลดการใช้เอกสาร เพราะว่าเราพยายามจะเปลี่ยนเรื่องของ Document ให้มันอยู่ในรูปของ E-document หรือแม้แต่เรื่องของการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจต่างๆ เรามองว่ามันเป็นเรื่องของการลดต้นทุนทั้งหมด ทำให้เราตัดสินใจนำอะไรก็ตามที่มันเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ มาใช้ และทาง IBM ก็เป็นจุดที่ตอบโจทย์ของ SMPC ได้”

 

 

สำหรับก้าวต่อไปของ SMPC คุณปัทมาระบุว่า ถึงแม้ว่าบริษัทเราจะมีการนำเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้งานในบริษัทแล้ว แต่ยังมองว่า น่าจะยังมีจุดอื่นๆ ที่เราสามารถนำเข้ามาใช้งานได้ อย่างเช่นเรื่องของการขึ้นไปในระบบ Cloud เรื่องของการต้องขยายงานไปต่างประเทศ และสิ่งต่างๆ อีกมากมายที่จะทำให้บริษัทเติบโต ดังนั้น ถ้ามีระบบที่ดี ระบบที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ไม่ว่าจะมีฐานในประเทศหรือต่างประเทศ ก็น่าจะช่วยทำให้การทำงานง่ายขึ้น ราบรื่นขึ้น แล้วก็มีประสิทธิภาพ

“ต้องบอกว่าเราอยากจะเป็นบริษัทที่มีความยั่งยืน เพราะว่าเราก็เป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามที่เราสามารถลดความผันผวน เหมือนลดเรื่องของความเสี่ยง SMPC ก็จะพยายามไปทางนั้น ในเรื่องของการผลิตเรื่องของลูกค้า เรามั่นใจอยู่แล้วว่าเราสามารถส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพให้ถึงมือลูกค้าได้ แต่ในเรื่องของการทำธุรกิจต่างๆ เรื่องของเทคโนโลยี เราอาจจะเป็นน้องใหม่ในตลาดนี้ ก็ต้องพัฒนากันไป ยืนยันว่า SMPC เราจะไม่หยุดนิ่งอย่างแน่นอน”

 

 


  • 192
  •  
  •  
  •  
  •