ถ้าจะพูดถึงช้อปปิ้งออนไลน์ มาร์เก็ตเพลสอันดับต้น ๆ ในใจผู้บริโภคชาวไทยก็คือ Lazada โดยเฉพาะแคมเปญเลขคู่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น 9.9 10.10 หรือ 11.11 ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นเมกะแคมเปญใหญ่สะเทือนโลกที่สุด ก็ถือมีต้นกำเนิดมาจาก Lazada เช่นกัน แต่หลายแคมเปญจาก Lazada Thailand ที่ปัง ๆ ก็ไม่ได้มีแค่แคมเปญเลขคู่ แต่มีหลายแคมเปญที่ว้าวและประสบความสำเร็จอย่างมาก อาทิ แคมเปญที่ ELLE Fashion Week X Lazada , การเปิดชาแนล LazLive ที่ให้ seller มา Live Streaming ขายสินค้าตามเทรนด์ที่นิยมในปัจจุบัน ล่าสุด กับการฟีเจอร์ริ่งกันครั้งแรกระหว่าง “ลีมินโฮ” Regional Brand Ambassador กับ “เบลล่า ราณี แคมเปน” Thailand Brand Ambassador ก็สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับวงการไม้น้อย
ทั้งหมดนี้เกิดจากไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ของคนทีมงาน เพียง 70 คน โดยมีผู้นำทีมเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่มีความสามารถรอบด้าน เริ่มต้นอาชีพด้วยตำแหน่งจูเนียร์เช่นเดียวกับคนทั่วไป แต่ด้วยความสามารถและเป็นคนที่มุ่งมั่น ใฝ่เรียนรู้ และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค เธอค่อยๆ ก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ step by step จนปัจจุบันนี้เธอก้าวสู่ตำแหน่ง C Level เป็นผู้บริหารระดับสูงของแพล็ตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ แถมปัจจุบันยังเป็นคุณแม่ลูก 2 ที่ทั้งสตรองและเป็นแบบอย่างของ working women ในปัจจุบันอีกด้วย MarketingOops! The Hidden Gem เราจึงคว้าตัวเธอมาพูดคุยและล้วงความลับ อะไรคือ Key Success ที่ทำให้เธอประสบความสำเร็จได้ดีทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว เธอผู้นี้ก็คือ ภารดี-ภารดี สินธวณรงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด หรือ CMO Lazada Thailand
สาวบัญชีกับภาษา IT เรียนเพราะอยากจะคุยให้รู้เรื่อง!
เรามาเริ่มกันที่จุดเริ่มต้นแรกของเธอกันตั้งแต่สมัยเรียนกันเลย ภารดี เป็นศิษย์เก่า BBA หรือ ปริญญาตรีบัญชีและบริหารธุรกิจหลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Major Accounting และ Minor Marketing ก่อนที่จะไปศึกษาต่อที่สหรัฐฯ ด้าน IT อยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจอลิส หรือ UCLA ซึ่งเป็นการพลิกแนวทางในการศึกษาชนิดที่เรียกว่าแทบจะคนละทางกันเลย แต่เธอให้เหตุผลที่เลือกเรียนไปด้าน IT ได้น่าสนใจว่า
“ตอนเด็กๆ เคยอ่านหนังสือของ Bill Gates เรื่อง The Speed of Thought ก็รู้เลยว่า Accounting คือภาษาของ Business ในขณะที่ ภาษา Codding จะต้องกลายเป็นอีกหนึ่งภาษาของการทำงาน และธุรกิจเกี่ยวกับ IT มันต้องมาแน่ๆ ต้องเป็นภาษาของการทำงานอีก 1 ภาษาแน่ๆ เราก็เลยคิดว่าเราจะต้องเรียน”
การเรียน IT ในตอนนั้น ภารดี เล่าว่า เรียนตั้งแต่เรื่อง Codding Data base Telecommunications Fiber-optic จนมาเป็น Wi-fi ทุกวันนี้มีกี่เลเยอร์บ้าง คือเรียนเพื่อที่จะคุยกับ Developer รู้เรื่อง
เส้นทางอาชีพ กว่าจะมาอยู่ Lazada ทุก career path คือ Challenge
ซึ่งนั่นทำให้เธอต่อยอดมาทำงานสาย IT ได้อีก และจับพลัดจับผลูได้มาทำงานบริษัทสตาร์ทอัปแห่งหนึ่งที่สหรัฐฯ ต่อหลังเรียนจบ ภารดีเล่าว่า ตอนที่ทำงานกับบริษัทสตาร์ทอัป เริ่มตั้งแต่งาน Customer Service เลยเป็นจุดสตาร์ท แต่ด้วยความที่เป็นคนช่างคิด ช่างสงสัยและมักแสดงความเห็นอยู่ตลอด ทำให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ในการทำงานที่ทางบริษัทไม่เคยทำมาก่อน เช่น ช่วยเซฟคอร์สค่าใช้จ่ายให้ลูกค้า ปรับปรุงพัฒนาแพล็ตฟอร์มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ลูกค้าดีขึ้น ซึ่งผลก็คือเพอร์เฟอร์แมนซ์การทำงานของเธอดีมากจนเป็นที่ถูกใจบริษัทและอยากให้เธออยู่ทำงานต่อจนเดินเรื่อง work permit ให้แต่เธอก็ปฏิเสธข้อเสนอไปเพราะต้องกลับเมืองไทยเนื่องจากอยู่มานานแล้ว แต่ก็รักที่จะเดินในสาย MarTech ต่อ
กลับมาเมืองไทย ซึ่งตอนนั้นเว็บเมืองไทยยังไม่ค่อยมี .Com เยอะเท่าไหร่ ภารดี มาเริ่มอาชีพแรกที่ JobDB.com ก่อน และด้วยความสามารถอีกเช่นกัน จากที่คุมทีมเดียว ก็ได้มาคุมถึง 2 ทีมด้วยกัน ไม่นานก็ถูก MSN บริษัทไอทีใหญ่ข้ามชาติจีบให้มาทำงานด้วย ก็ได้มาทำงานให้กับ MSN ในพาร์ทของ Microsoft โดยเข้ามาคุมทีม Sales and Marketing Subsidiary จากนั้นก็ได้ย้ายไปทำที่ Reuters ต่อ และได้คุม 2 ทีมเช่นกัน คือทีม Software Engineer และทีม Business ด้วย
ทำอยู่ Reuters 6 ปี ความสามารถก็โดดเด่นต่อเนื่องจน ถูกสตาร์ทอัพใหญ่อยาง Grab มาชักชวนอีกครั้ง ให้มานั่งในตำแหน่ง Country Marketing Head เลยทีเดียว แต่ ภารดี มองว่าความน่าสนใจจาก Grab ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งบริหาร แต่อยู่ที่ว่าได้มาทำงานกับองค์กรที่ท้าทาย เป็น Unicorn Start-up ที่มาแรง ดังนั้นเธอจึงไม่อาจปฏิเสธได้ แต่เมื่อทำได้สักพักใหญ่ ความเนื้อหอมก็ไปเข้าตา Lazada และถูกชักชวนให้มาทำงานที่ท้าทายมากกว่าเดิม
“ตอนแรกมาอยู่ Lazada ยังไม่ได้นั่ง CMO แต่มาดูแลในส่วนของเซลล์ แล้วก็ Seller ecosystem ของ FMCG ซึ่งแต่ละองค์กรที่เลือกมาทำงาน จะเลือกองค์กรที่เข้ากับตัวเรา เพราะส่วนตัวเป็นคนเป็นคนที่ very go oriented คือ result oriented (มุ่งเน้นผลลัพธ์) มากๆ ดังนั้น เราก็เลยมีชาเลนจ์ ทำชาเลนจ์ไปเรื่อยๆ อย่างบริษัทส่วนใหญ่ที่เรามีโอกาสเข้าไปร่วมทำงาน ก็จะเป็น บริษัทแถวหน้าของวงการ ซึ่งก็ตรงกับคาแรคเตอร์ของเราด้วย”
3 รากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของ Lazada
อย่างที่เกริ่นว่า แคมเปญการตลาดของ Lazada มีความน่าสนใจหลายแคมเปญมาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากทีมงานราว 70 คน โดยในฝ่าย Marketing ก็จะแยกเป็น unit ในการทำงานกันไปคนละส่วน แต่หากเป็นเมกะแคมเปญใหญ่แล้วก็จะความร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่จะทำให้ make it happen ขึ้นมาได้ โดยที่ทุกคนมีเป้าหมายหรือมี Goal เดียวกัน นั่นคือ Top of mind Brand พร้อมผลักดันธุรกิจ E-Commerce ให้กับ SME ทุกคนเติบโตไปด้วยกัน
“สำหรับ Lazada แล้ว เราก็มีวิชั่นของการที่เราต้องจะขับเคลื่อนธุรกิจ SME ไปข้างหน้าผ่านอีคอมเมิร์ซ เทคโนโลยีต่างๆ โดยรากฐาน 3 อย่างที่เราสร้างไว้ ก็คือ ในส่วนของ Technology ที่เราได้มาจากบริษัทแม่คือ Alibaba แล้วก็ Logistic ซึ่งเรามีฮับที่ใหญ่ที่สุดในเซาท์อีสต์เอเชีย แล้วก็ในส่วนของ Payment เรียกได้ว่าเราต้องเอา infrastructure strategy ต่างๆ มาใช้ให้มีประโยชน์สูงสุด เพื่อมาตอบโจทย์ทั้ง Buyer แล้วก็ Seller”
เบื้องหลังไอเดีย “ลีมินโฮ – เบลล่า”
เมื่อถามถึงเบื้องหลังไอเดีย “ลีมินโฮ – เบลล่า” มาได้อย่างไร ภารดี เล่าว่า มีการใช้ Data Insight จนรู้ว่าคนไทยชื่นชอบในซีรีส์เกาหลี โดยเฉพาะ “ลีมินโฮ” เป็นขวัญใจของคนไทยและประเทศในแถบเซาท์อีสต์เอเชีย ซึ่งพระเอกเกาหลีคนนี้ไม่ได้แค่ดังอย่างเดียว แต่ยังมีไลฟ์สไตล์ของการที่ทำงานเพื่อสังคมอีกด้วย ซึ่งตรงกับการขับเคลื่อนของ Lazada ทำให้เราไม่ลังเลที่จะที่เลือกให้เขามาเป็น Regional Brand Ambassador คนแรกเลย
“โดยปกติที่ผ่านมาเราจะไม่มี Regional Brand Ambassador แต่เนื่องจากว่า “ลีมินโฮ” เรียกได้ว่าดังมากจริงๆ และไม่ใช่แค่ไทย แต่ทั้งชาวฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ก็ชื่นชอบเชามาก ดังนั้น ใน strategy เราก็ให้เขามาคอลแลบฯ กัน แล้วเรายังเห็นว่าวัยรุ่นสมัยนี้ชอบความ collaboration กันมาก เลยเป็นที่มาของการนำทั้งสองคนมาเจอกันกับขวัญใจของ Local Brand Ambassador ของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศไทยก็คือ คุณเบลล่า และก็เป็น Brand Ambassador ประเทศไทยมากว่า 3 ปีแล้ว”
การเซ็ทมาตรฐานของวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อพรุ่งนี้ที่ดียิ่งกว่า
เท่าที่ฟังเรื่อยมาเราพบว่า ภารดี ชอบงานที่ท้าทายมาตลอด กับการทำงานกับยักษ์ใหญ่วงการ Tech E-Commerce ดูเหมือนว่าน่าจะต้องแข่งขันกับคู่แข่งสูงมาก แต่กลายเป็นสิ่งที่เธอลีดทีมก็คือ การแข่งกับตัวเอง แข่งกับความสำเร็จของตัวเองในทุกเกม
“สิ่งที่ท้าทายสำหรับการทำงานของทีมคือ เรามีสิ่งที่เรียกว่า Today’s best performance is tomorrow’s baseline ซึ่งถือว่าเป็น Internal Value ของเราเอง เพราะไม่เช่นนั้นเราจะอยู่กับที่ แต่เราต้องวิ่งไปข้างหน้าอยู่ตลอด สมมุติว่าแคมเปญ 99.99 ดีแล้ว แต่ 10.10 จะต้องดีขึ้นไปอีก แคมเปญต่อไปต้องดีมากขึ้นไปอีก มากขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เพราะเราจะต้อง set the bar ความยาก ให้มากขึ้นไป”
Insight Consumer ช่วงโควิด-19
คำถามเรื่องวิกฤตโควิด-19 คงไม่ถามไม่ได้ ซึ่งในช่วงที่ขอความร่วมมือให้กักตัวอยู่บ้าน ต้องถือว่าอี-คอมเมิร์ซเป็นดาวเด่งในช่วงนั้น ซึ่ง Lazada เองก็เป็นหนึ่งในแพล็ตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงมาก ภารดี เลยเล่าถึง insight สนุกในช่วงนั้นให้ฟัง
ในช่วงที่กต้องกักตัวอยู่บ้าน ก็พบว่ามีคนเข้ามาใช้บริการเรามากขึ้น จำนวนทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเพิ่มมากขึ้น โตมากกว่า 2 เท่าเลย ซึ่งเราก็ได้ออกโปรแกรมพิเศษมาช่วยสนับสนุน SME Online ในช่วงนั้นด้วย หรือการผลักดันเรื่องฟรีค่าธรรมเนียมในการชำระเงินก็มี เพื่อช่วยพยุงให้เศรษฐกิจและทุกคนไปต่อไปได้ เพราะเราเข้าใจดีว่าทุกคนได้รับผลกระทบ นี่คือการช่วยในฝั่ง Sellerส่วน insight ฝั่ง buyer ก็พบว่ามีการใช้เวลาบนแพล็ตฟอร์มมากขึ้นถึง 30% ซึ่งนอกจากจะเข้ามาซื้อเยอะขึ้นแล้ว ยังใช้เวลานานขึ้นด้วย และก็เป็ช่วงที่มีการผลักดันเทคโนโลยี Lazlive ของเรา ซึ่งเป็น Shoptertainment ก็มีคนเข้ามารับชมมากขึ้นเช่นกัน
สำหรับสินค้าในช่วงนั้นที่ขายดี ก็สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงนั้น โดย TOP 3 ได้แก่ 1) พวกชุดอยู่บ้าน ชุดนอน 2) ของเด็กเล่น อย่างของเด็กเล่นกลางแจ้ง เพราะว่าเด็กๆ ไม่ได้ไปโรงเรียน พ่อแม่ก็ต้องหาวิธีเอ็นเตอร์เทนเด็กที่บ้าน 3)เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือของใช้ในครัว เพราะคนไมได้ออกไปทานข้าวข้างนอกก็อาจจะหันมาทำกับข้าวเอง เช่น เครื่องปิ้งขนมปัง เตาอบ และดังมากก็ต้องเป็นหม้อทอดไร้ดน้ำมัน
Data Culture วัฒนธรรมองค์กรของ Lazada
สืบเนื่องจากการทำงานที่ต้อง set bar มาตรฐานให้ดียิ่งขึ้นๆ ภารดีจึงเล่าต่อว่า สาเหตุที่ทำให้ Lazada ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Technology Data ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่อย่าง Alibaba ที่มี Data เป็นหัวใจหลักของการทำงาน
ภารดีเล่าว่า เรามี dashboard ที่ใช้ในการทำงานหลายตัว มากๆ เลย พอเข้ามาทำงานปุ๊ป ทุกคนจะดู dashboard อันดับแรกเลย ว่า KPI ของเราแต่ละอันอย่างเป็นอย่างไรบ้าง สีแดง สีเขียวยังไง ทุกคนที่นี่ ไม่ว่าในส่วนงานไหนก็แล้วแต่ แม้แต่ PR Branding ซึ่งอาจจะมองว่าเป็น Art side เราก็ยังมี dashboard เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลและเห็น data มี Transparency เหมือนกันหมด
“เพราะว่าเวลาทำงาน data never lie และเพื่อความเสมอภาคกันด้วย เราจะได้รู้ว่าอ้อ คนนี้นะเขา performed ดี เขาเป็นแบบนี้จะได้ไม่มีการเคลือบแคลงกัน แล้วมันก็ดีกับ business ด้วย แต่ก็จะมีบางอันที่เป็น Qualitative โดยเฉพาะสำหรับ Marketing เอง เราก็ต้องดูทั้งในส่วนของ data ที่เป็น Qualitative หรือ factor ไหน ที่จะเป็นตัวดึงดูดหัวใจของผู้บริโภค ให้เข้ามานั่งอยู่ในใจ ให้ Lazada ได้อยู่ไปตลอด มันก็จะมีทั้ง Data ที่เป็นตัวเลขและ Qualitative ด้วย”
นอกจากจะใช้ Data ในการทำงานของทีมแล้ว ก็ยังนำใช้เพื่อการสนับสนุนทั้งผู้ขายและผู้ซื้อด้วย ภารดี เล่าว่า เพื่อที่จะนำข้อมูลมาประมวลผลนำไปสู่การพัฒนาบริการที่ดีที่สุด เช่น ผู้ขาย เราจะมี data ให้กับ business adviser หลังบ้านเพื่อคอยดูว่า มีคนเข้าร้านวันนี้เท่าไหร่ ช่วงเวลาพีคสุดที่คนเข้าชมร้านคือเมื่อไหร่ สินค้าตัวไหนได้รับการรับชมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ขายได้มีการวางแผนเรื่องของสต๊อกให้ทันท่วงที หรือสินค้าตัวไหนยังไม่ค่อยได้รับชมมาก หรือเขาจะต้องเปลี่ยนรูปไหมหรือว่าหาสินค้าใหม่เพิ่มเติม ก็เรียกว่าเป็น data ที่เราส่งเสริมให้กับผู้ขายทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น และสำหรับผู้ซื้อเอง เราก็มีการทำโฆษณาแบบ Personalized อย่างเช่นการขึ้นแนะนำสินค้าว่า โดยแสดงผลสินค้าผ่านการซื้อในอดีต (Past Purchase) หรือดูจากพฤติกรรมของผู้ซื้อ หรือดูจากประวัติการซื้อ เป็นต้น เพื่อ enhance user experience ให้ดีที่สุด เพราะแน่นอนเรารู้ว่า ทุกวันนี้ทุกคนถูก bombard ด้วยคอนเทนต์มากมาย ดังนั้นเวลาสินค้า relevant จึงมีความสำคัญ เพื่อที่จะให้ประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ดีที่สุด
“ที่มันยากเป็นเพราะว่าเราเก่ง เพราะว่าเราเก่งเขาถึงได้เอาของยากๆ มาให้เราทำ เพราะฉะนั้นเราจึงควรมองให้เป็น positivity ว่าลองคิดดูสิ มันยากอ่ะ แต่เรา achieve มันได้ แล้วเราจะมองย้อนกลับไป แล้วก็ภูมิใจ ยิ่งยากมากเท่าไหร่เราก็จะภูมิใจมากมากขึ้น”
บทเรียนที่ดีกับการทำงานบนวัฒนธรรมที่แตกต่าง
การผสมผสานวัฒนธรรมในองค์กร ทั้งไทย จีน ฝรั่ง และ Data Culture ทั้งหมดนี้มีความแตกต่างกันค่อนข้าง แต่ให้บทเรียนสำคัญแก่ ภารดี เธอเล่าว่า แต่ละคัลเจอร์ก็จะมีดิวตี้ของแต่ละการทำงาน แต่เราจะ embrace วัฒนธรรมตรงนั้น อย่างวัฒนธรรมการทำงานของคนจีน ก็จะเน้น very result focus แล้วก็ขยัน ซึ่งก็เรียกว่าเป็นตัวผลักดันที่ดี ทำให้เราขยันมากขึ้น และก็ไม่ใช่ตัวเองที่ผลักดันตรงนี้ คือทั้งทีมงานด้วย เพราะแน่นอนว่าความสำเร็จของแต่ละแคมเปญ คือความสำเร็จของ Lazada ทุกวันนี้ คือฝีมือของ Lazadiens ทั้งหมด
ต่อข้อความว่า แบบนี้ทำให้ทุกแคมเปญท้าทายเราอย่างมากเลยใช่ไหม เพราะว่าเน้นการเห็นผลงาน ภารดี หัวเราะก่อนตอบว่า “ท้าทายทุกวันค่ะ” แต่เราก็ต้องมีเปลี่ยนแปลงความท้าทาย ให้เป็นพลังให้เราขับเคลื่อนไปข้างหน้า เพราะว่าถ้าเราไม่มีความท้าทายเราก็จะไม่เก่งขึ้น ก็เป็นเมสเสจเดียวกับที่บอกทีมงานตลอดเวลาว่า ที่มันยากเป็นเพราะว่าเราเก่ง เพราะว่าเราเก่งเขาถึงได้เอาของยากๆ มาให้เราทำ เพราะฉะนั้นเราจึงควรมองให้เป็น positivity ว่าลองคิดดูสิ มันยากอ่ะ แต่เรา achieve มันได้ แล้วเราจะมองย้อนกลับไป แล้วก็ภูมิใจ ยิ่งยากมากเท่าไหร่เราก็จะภูมิใจมากมากขึ้น แล้วเราก็จะฝึกปรือความเก่งขึ้นไปเรื่อยๆ
เคล็ดลับการทำงานกับกลุ่ม Millennials
แน่นอนว่าทำงานกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ พนักงานส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่ม Millennials อายุ 20 ปีต้นๆ ซึ่งอาจจะมีวิธีคิดวิธีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ต้องมีเทคนิคพิเศษที่สามารถดึงศักยภาพออกมาได้ ภารดี เล่าว่า เด็กสมัยใหม่ อายุ 20 ปีต้นๆ ก็จะมีคาแรคเตอร์ที่ไม่เหมือนเราตอน 20 ต้นๆ เพราะเขาก็จะเติบโตมากับอินเตอร์เน็ต เด็กสมัยใหม่นี้จึงมีความต้องการแสดงความเป็นตัวของตัวเองมาก อาจจะด้วยโซเชียลมีเดียที่เขาเติบโตมา ดังนั้น เราต้องรู้จักที่จะให้เวทีเขา ให้เขาแสดงความสามารถที่ดีที่สุด แล้วเราก็ไกด์ให้อยู่ในกรอบ
“ก็ต้องฟังเขาเยอะๆ เพราะเขาต้องการแสดงตัวตน ฟังแล้วก็ acknowledge อ๋อใช่นะคะ แล้วเราก็ถามเขากลับไปด้วยว่า แล้วถ้าเป็นแบบนี้แล้วจะเป็นอย่างไร เหมือนกับว่าเราฟีดความคิดของเรานี่แหละไปอยู่ที่เขา แล้วให้เขา acknowledge กลับมา แล้วเขาก็จะรู้สึกว่าเขามีอินโวลว์ด้วย เพราะว่าถึงแม้เขาเป็นเด็กก็จริง แต่เด็กรุ่นใหม่มีความสามารถมาก มีครีเอททิวิตี้ ดังนั้น เราต้องให้โอกาสเขา”
แนวทางการใช้ชีวิต Work-life Balance
ทำงานในองค์กรใหญ่ที่ต้องแอคทีฟตลอดเวลา แล้วเอาเวลาที่ไหนได้ใช้ชีวิตในแบบผู้หญิงๆ หรือแบ่งเวลาอย่างไรในการดูแลครอบครัว เพราะทราบว่าเป็นคุณแม่ลูกสองที่สุดสตรองมากๆ ภารดี เผยเคล็ดลับการบริหารชีวิตของเธอว่า คือ การแบ่งเวลาให้เป็น อย่างทุกๆ เช้าจะใกล้ชิดลูกด้วยการไปส่งลูกที่โรงเรียนทุกเช้า ในขณะที่เวลาทำงาน 8-10 ชั่วโมงก็จะอัดเต็มที่ให้กับการทำงาน และอีกอย่างที่สำคัญคือ การ Prioritize ว่าอะไรสำคัญ พร้อมๆ กับที่ Delegate (มอบหมาย) ให้ลูกน้องทำด้วย เพื่อให้เขาได้มีโอกาสแสดงความสามารถ แล้วเราก็คอยดูอยู่ห่างๆ
ส่วนไลฟ์สไตล์ส่วนตัว ภารดีบอกว่า ก็ดูหนัง ดีซีรีส์ ดู Netflix บ้าง เหมือนกัน อย่างซีรีส์เกาหลี แรกๆ เธอก็ไม่ดู แต่ก็กลัวว่าจะตามเทรนด์ที่เขาพูดไม่ทัน ก็ทำให้ต้องดูบ้าง เพื่อให้รู้ว่าตอนนี้กระแสอะไรมาแรง “เพราะทำมาร์เก็ตติ้ง เราต้องรู้เทรนด์ตลอดเวลา ก็ต้องดูเพื่อรู้ว่าเอ้อ เขาพูดเรื่องอะไรนะ”
พลังวิเศษของ “มนุษย์แม่” ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
อีกเคล็ดลับหนึ่งที่ ภารดีแอบบอกกับเราว่าทำให้เธอทำงานดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นก็คือการเป็นแม่คน “ความเป็นแม่นี่แหละค่ะ ทำให้เราทำงานดีขึ้น”
เพราะว่าทำให้เราอดทนขึ้น เป็นเรื่องจริงเลย เพราะว่าจะทำให้เราปล่อยวางมากขึ้น อย่างเวลาให้เด็กกินข้าว ถ้าเขาไม่อยากกินข้าว แล้วเราทำทุกอย่างแล้วเขาก็ยังไม่กิน เราก็ต้องปล่อยไป ก็เหมือนกันในการทำงานเวลาเรามีปัญหา มันมีปัญหามากมายเลย แต่มันมีบางปัญหาที่เราไม่สามารถมันเปลี่ยนแปลงไปได้ เราก็ต้องปล่อยวาง หรือเราต้องใช้ความอดทนมากขึ้น และมีความเข้าใจมากขึ้น บางสิ่งที่เรามองตอนเด็กๆ ว่ามันต้องเป็นแบบนี้นะ เป๊ะ ๆ พอโตขึ้นเราก็จะรู้ว่าอืมมันไม่สามารถทำได้ทุกอย่างเป๊ะ ๆ เราก็ต้องโฟกัสในสิ่งที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงมันได้จริงๆ
“ต้อง embrace change บางท่านอาจจะคิด ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องยุ่งยากหรือยาก แต่ว่าจริงๆ แล้วมันเป็น the must”
Embrace Change: Key Success ของการทำงานในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
ท้ายที่สุดเราฝากให้ เธอให้คำแนะนำถึงแก่ผู้หญิงทำงานในยุคนี้ ที่อยากจะประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานบ้าง ภารดี ย้ำว่า สิ่งสำคัญอันดับแรกเลยก็คือ “embrace change” บางท่านอาจจะคิด ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องยุ่งยากหรือยาก แต่ว่าจริงๆ แล้วมันเป็น the must เพราะว่าการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน หรือการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่โซเชียลมีเดียหรือเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งเราต้องติดตามเทรนด์ทั้งหมดนี้ให้ทัน ดังนั้น ถ้าเรา embrace change ได้เราก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทัน แล้วเราก็จะเห็นเทรนด์ที่มันเกิดขึ้น แล้วเราก็จะแคชอัปได้ทัน
เรื่องราวความสำเร็จของผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่เป็นทั้งผู้บริหารและแม่ ซึ่งก้าวสู่ตำแหน่งระดับสูงขององค์กรใหญ่ระดับโลกด้วยความสามารถและความมุ่งมั่น ซึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่ที่เรื่องยากหากคุณมีความมุ่งมั่นดังเช่นเธอผู้นี้ “ภารดี สินธวณรงค์ CMO Lazada Thailand”