“ยุคโลกร้อนได้สิ้นสุดลงแล้ว และเรากำลังเข้าสู่ยุคโลกเดือด” António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวเตือนเมื่อกลางปีที่แล้วถึงสถานการณ์ที่โลกกำลังเผขิญ พร้อมย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมาถึงแล้ว เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่ง และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น (อ้างอิง: United Nations)
ภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ไม่ได้เป็นวิกฤตการณ์ของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง แต่จะเกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย อย่างในช่วงหน้าร้อนปีนี้ คนไทยต้องเจอกับอากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 44.5 องศาเซลเซียล สร้างผลกระทบทั้งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน และสัตว์, ภาคการเกษตร เจอภัยแล้ง รวมไปถึงด้านสิ่งแวดล้อม
นี่จึงไม่ได้ใช่เรื่องไกลตัว แต่เข้าใกล้เราทุกคนในทุกขณะ หนึ่งในภาคส่วนที่มีบทบาทในการช่วยลดภาวะโลกเดือดไม่ให้วิกฤตไปมากกว่านี้คือ “ภาคธุรกิจ” ซึ่งถูกคาดหวังให้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหา ทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ภาคธุรกิจต้องเปลี่ยนผ่านการดำเนินธุรกิจบนแนวทาง “ESG” (Environment – Social – Governance)
สำหรับประเทศไทย “ธุรกิจ SME” ถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย รวมทั้งเชื่อมโยงกับธุรกิจขนาดใหญ่ และภาคการบริโภคของประชาชน แม้การเปลี่ยนผ่านสู่ ESG ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ต้องเร่งดำเนินการปรับตัวเข้าสู่ยุค Green Economy หรือระบบเศรษฐกิจสีเขียว เพราะ ESG ไม่ใช่แค่เป็นทางเลือก แต่เป็น “ทางรอด” สำหรับผู้ประกอบการ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกันทั้งธุรกิจ – สิ่งแวดล้อม – สังคม/ชุมชน
ด้วยเหตุนี้เอง “กลุ่มลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)” ตระหนักถึงความเร่งด่วนและความจำเป็นในการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจ SME ให้สามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงสู่เส้นทางของความยั่งยืน สอดรับกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของ “กรุงศรี” มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยตั้งเป้าลดคาร์บอนจากกระบวนการทางธุรกิจ ภายในปี 2030 และลดคาร์บอนจากการบริการทางการเงิน ภายในปี 2050
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จึงได้ริเริ่มโครงการ “Krungsri ESG Awards” ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่สอง และปีนี้เป็นปีแรกที่เปิตดัวโครงการ “Krungsri ESG Academy” หลักสูตรอบรม ESG เข้มข้นที่เปิดให้ผู้ประกอบการ SME ได้เข้ามาเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ
“ในฐานะที่เราเป็นสถาบันการเงิน มีบทบาทช่วยขับเคลื่อนและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจสามารถเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะฉะนั้นการผลักดันให้ผู้ประกอบการ SME นำแนวทาง ESG มาปรับใช้ เราจะใช้ความพร้อมที่เรามี ทั้งองค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์ บุคลากร และพันธมิตรที่แข็งแกร่งมาช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจก้าวข้ามความท้าทายครั้งนี้ไปให้ได้ เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาวให้กับธุรกิจ และสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับประเทศ และโลก” คุณดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ถึงวิสัยทัศน์ และนโยบายการสนับสนุนผู้ประกอบการก้าวเข้าสู่ ESG
อุปสรรคใหญ่ที่ผู้ประกอบการ SME ต้องเผชิญ
แน่นอนว่า ESG เป็นทิศทางที่ทุกธุรกิจจะต้องลงมือทำอย่างจริงจัง ที่ผ่านมามักเห็นองค์กรขนาดใหญ่ เร่งปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อเข้าสู่การดำเนินธุรกิจบนแนวทางความยั่งยืน
ขณะที่การขยับตัวของภาคธุรกิจ SME สู่แนวทาง ESG ในปัจจุบันยังเป็นไปได้ช้า เนื่องจากธุรกิจ SME ยังไม่เห็นความจำเป็น โดยมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือเรื่องของอนาคต อีกทั้งยังมี Pain Point ด้านเงินทุน ความพร้อมด้านองค์ความรู้ และบุคลากร
คุณดวงกมล กล่าวเพิ่มเติมว่า การขับเคลื่อนนโยบาย ESG ขยายวงครอบคลุมทุกภาคส่วนใหญ่ในห่วงโซ่ธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่กำลังจะออกมา ทำให้การจัดการด้าน ESG เป็นเรื่องที่ธุรกิจทุกขนาด รวมทั้งผู้ประกอบการ SME ต้องเร่งปรับตัว เพื่อความอยู่รอด และเพื่อการเติบโตที่มั่นคงในอนาคต
“ในขณะที่องค์กรขนาดใหญ่มีการรับรู้และนำแนวทางด้าน ESG มาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจ SME ส่วนใหญ่ยังคงมองไม่เห็นความสำคัญ ความจำเป็น เห็นเป็นเรื่องไกลตัว เรื่องของอนาคต ตอนนี้ยังไม่พร้อม พร้อมแล้วค่อยทำ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงที่ SME จะต้องเผชิญความเสี่ยงในหลายด้านที่เกี่ยวข้อง และอาจเสียโอกาสทางธุรกิจด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ และความเสี่ยงด้านการเงิน”
นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนธุรกิจตามแนวทาง ESG ผู้ประกอบการ SME ต้องเจอความท้าทายใน 3 เรื่องหลัก คือ
- ความรู้-ความเข้าใจในเรื่องของความยั่งยืน พบว่ามี SME บางรายยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้น สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือสังคม/ชุมชนอย่างไร
- SME ยังมองว่า Sustainability มีต้นทุนสูง ยังไม่มีความพร้อมด้านเงินทุน
- ไม่ได้จัดสรรทรัพยากรในการทำเรื่องความยั่งยืน มีแต่ทรัพยากรสำหรับทำธุรกิจหลัก
“พอเงินทุนเป็นข้อจำกัด ผู้ประกอบการจะมองว่า ESG เป็นเรื่องของการลงทุน เหมือนเป็นภาระ เป็นต้นทุน มากกว่ามองว่าเป็นโอกาสใหม่ให้กับธุรกิจ นอกจากนี้อุปสรรคอีกประการ คือ การจัดสรรทรัพยากรการทำงานด้าน ESG ต้องมีทีมงาน มีการกำหนดเป้าหมาย และติดตามการดำเนินงาน รวมทั้งด้านองค์ความรู้ ทุกคนทราบว่า ESG เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล แต่การนำมาปรับใช้กับธุรกิจอย่างเกิดผลได้จริง ต้องมีองค์ความรู้ และมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ” คุณดวงกมล ขยายความเพิ่มเติมถึงอุปสรรคใหญ่ที่ SME ต้องเจอ
เมื่อเป็นเช่นนี้ กรุงศรี จึงได้แบ่งแนวทางการผลักดันผู้ประกอบการ SME เข้าสู่ ESG ใน 2 มิติคือ มิติแรก สนับสนุนด้านการเงิน ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และมิติที่สอง สนับสนุนผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างการริเริ่มโครงการ Krungsri ESG Awards และ Krungsri ESG Academy โดยกรุงศรีเชื่อมั่นว่าจะช่วยส่งเสริมให้ SME สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
เจาะลึกโครงการ “Krungsri ESG Awards” แพลตฟอร์มเชิดชูเกียรติ SME ที่โดดเด่นด้าน ESG
จากความท้าทายในการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG ที่ธุรกิจ SME ต้องประสบ และยังมีผู้ประกอบการอีกมากยังไม่เห็นความจำเป็นของการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ ESG “กรุงศรี” ได้เล็งเห็นความจำเป็นในการสร้างการรับรู้ เพื่อเร่งให้ธุรกิจ SME ตระหนักถึงความสำคัญของการนำแนวทาง ESG มาปรับใช้ จึงริเริ่มจัดโครงการ “Krungsri ESG Awards 2023” เป็นปีแรก
“เรามุ่งหวังว่าโครงการ Krungsri ESG Awards 2023 จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการ SME หันมาสนใจ ESG เพราะเป็นโครงการที่เราให้รางวัลกับธุรกิจ SME ที่มีความเป็นเลิศทั้ง 3 มิติ คือ E = Environment, S = Social และ G = Government”
ผลปรากฏว่าการจัด Krungsri ESG Awards 2023 ประสบความสำเร็จด้วยดี มีผู้ประกอบการ SME จำนวนมากสมัครเข้าร่วมโครงการ และที่สำคัญช่วยทำให้ SME มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ESG มากขึ้น โดยพบว่ามีหลายธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ ได้นำแนวทางที่ได้รับคำแนะนำมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น การสร้างทีมเพื่อจัดการด้าน ESG ขององค์กรโดยเฉพาะ การทบทวนตัวเองในการดำเนินงานต่างๆ ว่าเป็นไปตามแนวทาง ESG มากน้อยเพียงใด ตลอดจนการตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ
กรุงศรีจึงได้ต่อยอดจัด Krungsri ESG Awards 2024 เป็นปีที่สอง โดยร่วมกับองค์กรพันธมิตรมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, หอการค้าไทยและสภาหอการค้าไทยแห่งประเทศไทย, สมาคมธุรกิจเพื่อสังคม, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาร่วมแนะนำแนวทางในการปรับตัวของธุรกิจ และร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาและตัดสินรางวัล ประกอบด้วย
– รางวัลที่มอบให้กับกิจการที่มีความเป็นเลิศ ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Excellence)
– รางวัลเพื่อเชิดชูเกียรติกิจการที่ริเริ่มและดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดีทั้งสามด้าน (Highly Commended)
“กรุงศรีเห็นว่า Krungsri ESG Awards สร้างคุณค่ากับธุรกิจในหลายมิติ และมีหลายธุรกิจให้ความสนใจเข้าร่วม เราจึงเดินหน้าจัดโครงการ “Krungsri ESG Awards 2024” ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง ตอกย้ำการรับรู้และกระตุ้นความสนใจในเรื่อง ESG ให้กับธุรกิจ SME อย่างต่อเนื่อง
โดยปีนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้นถึง 100% เราจึงมุ่งมั่นยกระดับโครงการนี้ให้เป็นแพลตฟอร์มเชิดชูเกียรติธุรกิจที่มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการต่างๆ ที่ลงมือทำ ESG อยู่แล้ว ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกันเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกธุรกิจเห็นว่า ESG สามารถทำได้จริง และจำเป็นต้องทำ ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจ SME หันมาสนใจ ESG เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ” คุณดวงกมล ขยายความเพิ่มเติมถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ Krungsri ESG Awards
สร้างองค์ความรู้ ESG ด้วยหลักสูตรอบรมสุดเข้มข้นกับ “Krungsri ESG Academy”
ไม่เพียงแต่พัฒนาแพลตฟอร์มเชิดชูเกียรติธุรกิจ SME ที่ดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG ได้อย่างโดดเด่นเท่านั้น กรุงศรี ยังเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างองค์ความรู้ ESG ให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจากกรุงศรีได้ทำผลสำรวจกลุ่มลูกค้าธุรกิจ SME ประมาณ 700 รายในเรื่อง ESG พบว่า
– มีธุรกิจเพียง 30% ที่ตระหนักถึงความสำคัญของ ESG
– มีเพียง 14% บอกว่าพร้อมนำ ESG มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ
จากผลสำรวจดังกล่าว จะเห็นว่ายังมีผู้ประกอบการ SME อีกจำนวนมากที่ยังไม่เห็นถึงความจำเป็นของ ESG ขณะเดียวกันยังมีธุรกิจอีกมากที่มีความสนใจ ESG แต่ขาดความรู้และแนวทางในการดำเนินงานที่เหมาะสม
นี่จึงเป็นที่มาของการออกแบบหลักสูตร “Krungsri ESG Academy” ซึ่งได้เริ่มต้นปี 2024 เป็นปีแรก เป็นหลักสูตรอบรม ESG เข้มข้น ระยะเวลา 4 เดือน โดยความร่วมมือกับ “ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
“เราออกแบบหลักสูตร Krungsri ESG Academy เป็นหลักสูตรเข้มข้น 4 เดือน ให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ทุกมิติในเรื่อง ESG จากผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ และได้ลงสนามพื้นที่การทำงานจริงขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการทำ ESG มาใช้
นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือ และโซลูชันที่ช่วยส่งเสริมการทำงาน ESG ในกระบวนการต่างๆ อย่างรอบด้าน เช่น เครื่องมือคำนวณ Carbon Footprint ที่กำหนดเป้าหมาย และวัดผลได้ ซึ่งผู้เข้าอบรมจะได้ใช้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ด้วย”
10 สิ่งที่ SME ได้จาก “Krungsri ESG Awards – Krungsri ESG Academy” และผลลัพธ์เชิงบวกจากการปรับใช้ ESG
การเกิดขึ้นของโครงการ Krungsri ESG Awards และ Krungsri ESG Academy มุ่งหวังให้ผู้ประกอบการ SME ที่เข้าร่วม ได้รับกลับไปใน 4 แกนหลักคือ
- การเรียนรู้ทุกกระบวนการเปลี่ยนธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ: ครอบคลุมตั้งแต่วิธีการบริหารการจัดการห่วงโซ่อุปทาน การจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ การบริหารความเสี่ยง และภาวะวิกฤต
- เข้าถึงเครือข่าย ESG ที่น่าเชื่อถือจากเครือข่ายพันธมิตของธนาคารกรุงศรี: เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างธุรกิจทั้งในประเทศ และนอกประเทศ ซึ่งมีพันธมิตรทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, หอการค้าไทยและสภาหอการค้าไทยแห่งประเทศไทย, สมาคมธุรกิจเพื่อสังคม, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรจากบริษัทชั้นนำที่พร้อมแนะนำเครื่องมือและโซลูขันที่ช่วยส่งเสริมการทำงาน ESG ในกระบวนการต่างๆ
- พัฒนาแผนธุรกิจที่ทำได้จริง: หนึ่งในเป้าหมายหลักของโครงการ Krungsri ESG Academy คือ การช่วยผู้ประกอบการให้สามารถสร้างแผนเปลี่ยนผ่านธุรกิจที่นำไปใช้ได้จริงเมื่อจบหลักสูตร เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานที่วัดผลได้ และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจในระยะยาว
- ต่อยอดการรับรู้ให้กับธุรกิจ: ผ่านการประชาสัมพันธ์โครงการที่จะช่วยเสริมสร้างและตอกย้ำภาพการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG ให้กับบริษัท เช่น ผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล ESG Excellence ในปี 2023 กรุงศรีช่วยผลักดันสร้างการรับรู้ธุรกิจ ผ่านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และเข้าร่วมให้ความรู้ในกิจกรรมต่างๆ นำไปสู่การขยายโอกาสธุรกิจและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในอนาคต
ผนวกกับการนำ ESG ปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจ ยังสร้างผลลัพธ์เชิงบวกให้กับผู้ประกอบการในระยะยาวในอีก 6 มิติหลัก คือ
- ตอบรับความคาดหวังของสังคมในการเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม: เนื่องจากภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่ หรือ SME ถือเป็นหน่วยใหญ่ที่มีการใช้ทรัพยากร เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้นภาคประชาชนและสังคมจึงคาดหวังว่าภาคธุรกิจจะมีส่วนร่วมทั้ง 3 มิติของ ESG
- การบริหารจัดการ ESG ที่ดี ช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของธุรกิจ: ทั้งในสายตาของสถาบันการเงิน คู่ค้า รวมถึงผู้ร่วมทุน นักลงทุน ทำให้ธุรกิจมีโอกาสเข้าถึงเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำกว่า และมีเงื่อนไขที่ดีกว่า ซึ่งธนาคารกรุงศรีพร้อมสนับสนุนเงินทุนในรูปแบบต่างๆ ให้แก่ธุรกิจ SME ที่มีการจัดการด้าน ESG และการรายงานผลกระทบทาง ESG ที่ชัดเจน
- ESG สร้างการเติบโตทางธุรกิจ: เปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถสร้างนวัตกรรมและพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านความยั่งยืนของลูกค้า
- เพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน: ESG จะกลายเป็นจุดขายที่สำคัญ ช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน และช่วยให้ธุรกิจมีความโดดเด่นจากคู่แข่ง
ผลวิจัย Krungsri Research สำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคจำนวน 2,846 คน พบว่า 90% ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการที่ใส่ใจ ESG
– กรณีสินค้ามีราคา 100 บาท: ผู้บริโภคยินดีจ่ายเพิ่ม 12.40 บาท
– กรณีสินค้ามีราคา 500 – 1,000 บาท: ผู้บริโภคยินดีจ่ายเพิ่ม 45 – 90 บาท
ขณะเดียวกัน ESG มีผลต่อการเพิ่ม Brand Loyalty ของลูกค้า ผลวิจัยพบว่าผู้บริโภคยังคงซื้อแบรนด์เดิม ถ้าแบรนด์นั้นมีแนวคิด ESG
– 72% บอกว่าซื้อแบรนด์เดิม แม้ราคาสูงกว่าราคาตลาด
– 52% บอกว่าไม่เปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่น แม้ข้อเสนอดีกว่ามาก
– 69% บอกว่าเข้าร่วมกิจกรรมของแบรนด์ที่มี ESG สม่ำเสมอ
ไม่เพียงเท่านี้ธุรกิจที่อยู่ในระบบ Supply Chain มักจะมีความคาดหวังจากคู่ค้าที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือบริษัทต่างประเทศในกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญในเรื่อง ESG เป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจ SME ที่ทำธุรกิจส่งออกโดยตรง จะต้องมีแนวทางการทำงาน ESG เพื่อตอบโจทย์ตลาดต่างประเทศที่มีความเข้มงวดในทั้ง 3 มิติของ ESG เช่น การผลิตที่ลดการปล่อยก๊าซเรือน การลดเลิกการใช้พลังงานจากฟอสซิล แล้วเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน หรือพลังงานสะอาดมากขึ้น
- การบริหารจัดการ ESG ช่วยลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจในหลายด้าน: ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านกฎหมาย, ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ, ความเสี่ยงทางสังคม ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ธุรกิจ ซึ่งการเตรียมความพร้อมและป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้ สามารถช่วยปกป้องและเพิ่มความมั่นคงให้กับธุรกิจ
- ช่วยปรับปรุงความสามารถในการดึงดูดและรักษาพนักงาน: ธุรกิจดำเนินการยึดหลัก ESG จะเป็นองค์กรที่น่าทำงานสำหรับพนักงาน นอกจากนี้การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ยึดถือคุณค่าทางสังคมและความยุติธรรมในที่ทำงาน จะช่วยสร้างความผูกพันและความภักดีของพนักงาน รวมทั้งการมีภาพลักษณ์ที่ดีในด้านความยั่งยืน ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถและมีความสนใจในการทำงานกับองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
“การปรับโมเดลธุรกิจสู่ ESG เป็นสิ่งที่ต้องทำ ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นหนึ่งในทางรอดของธุรกิจ ซึ่งการปรับใช้ ESG ในการดำเนินธุรกิจ เป็นการเดินทางที่ Long Journey เพราะนั้นต้องมีการกำหนดเป็นนโยบาย แผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ กำหนด KPI ภายในองค์กร ปรับใช้องค์ความรู้ ESG พร้อมทั้งแชร์องค์ความรู้ดังกล่าวให้กับพนักงาน
เช่นเดียวกับธนาคารกรุงศรี ที่มีวิสัยทัศน์ นโยบาย และเป้าหมาย ESG ซึ่ง Journey นี้ ธนาคารกรุงศรีเดินไปโดยลำพังไม่ได้ เราต้องมีลูกค้า SME ที่มีวิสัยทัศน์ร่วมเดินทางบนเส้นทางนี้ไปด้วยกัน โดยเราเชื่อว่าแม้ว่าหนทางนี้จะยาวไกล แต่ด้วยการสนับสนุนของธนาคารกรุงศรี ทั้งทางด้าน Financial ผ่านผลิตภัณฑ์ต่างๆ และ Non-financial ผ่านกิจกรรมต่างๆ จะทำให้ธนาคารฯ และลูกค้า SME จะสามารถก้าวข้ามและเข้าสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนได้” คุณดวงกมล สรุปทิ้งท้าย