สกุลเงินหยวนดิจิทัล อาจจะถูกนำมาใช้ในอีกไม่ช้า ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่มาแรงในช่วงหลังมาก
แต่ก็มีหนึ่งในคำถามสำคัญที่หลายคนอาจมองข้ามคือ จีนพร้อมจะใช้งานจริงๆหรือ แล้วในช่วงเฉพาะหน้าจากนี้ มันอาจจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง
สกุลเงินหยวนดิจิทัลคืออะไร
หากอธิบายแบบภาพรวมให้เข้าใจง่ายที่สุดคือ มันคือรูปแบบของการนำเงินสดในกระเป๋า ย้ายมาที่โลกออนไลน์ ซึ่งมีจุดเด่นคือใช้จ่ายได้ในแบบออฟไลน์ด้วย โดยไม่ต้องเชื่อมอินเทอร์เน็ตเสมอไป
ส่วนแอพสำคัญที่ใช้งาน เช่น Alipay และ WeChatPay ซึ่งเป็นสองแอพหลักที่คนจีนใช้งานกันอยู่แล้วบนมือถือของแต่ละคน แล้วแอพก็ผูกกับบัญชีธนาคารของแต่ละคนด้วย
จะทำได้ยังไง
สำหรับที่มาของ สกุลเงินหยวนดิจิทัล ถูกพัฒนาโดยกลุ่มวิจัยด้านการเงิน Digital Currency Research Institute ซึ่งเป็นการร่วมกันก่อตั้งโดยรัฐบาลและเอกชนตั้งแต่ในปี 2017
โดยเงินหยวนดิจิทัลที่ออกแบบกันมานั้น มีลักษณะเป็น Central Bank Digital Currency (CBDC) ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ควบคุมโดยธนาคารกลางของจีนนั่นเอง
อัตราค่าเงิน
เงินนี้จะถูกออกแบบให้อยู่ในอัตราส่วน 1:1 นั่นหมายถึง ทุกการออกเงิน 100 หยวนดิจิทัล จะต้องมี 100 หยวนเก็บไว้ในบัญชีธนาคารกลางของจีนเสมอ
จุดแข็งคืออะไร
โดยหลักเลยคือ การที่ช่วยให้สามารถทำธุรกรรมการเงินได้ในแบบออฟไลน์ หมายความว่า ถึงแม้มือถือของเราจะไม่ได้ต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตก็ยังใช้งานได้อยู่ เพราะจะมีการใช้เทคโนโลยี Near Field Communication (NFC) เพื่อจับคู่อุปกรณ์และรับส่งข้อมูลธุรกรรมการเงิน
คนจีนพร้อมใช้งานหรือยัง ที่น่าสนใจคือ คนจีนก็พร้อมจะใช้ระบบนี้พอสมควร
มีข้อมูลจากการสำรวจในปี 2019 ที่พบว่า คนจีนในเมืองใหญ่สามารถพกเงินสดเพียงไม่ก่พันหยวน แล้วสามารถใช้ชีวิตได้ เพราะนอกจากนั้นขอเพียงมีมือถือก็สามารถทำธุรกรรมการเงินต่างๆในชีวิตประจำวันได้เลย
อย่างไรก็ตาม สกุลเงินหยวนดิจิทัล ยังอยู่ในระหว่างการทดสอบสำหรับเมืองสำคัญ เช่น ซูโจว เฉิงตู เซินเจิ้น สงอัน
โดยภาพรวม จีนไม่ได้พยายามสร้างสกุลเงินใหม่ขึ้นมา แต่เป็นการพัฒนาโครงสร้างระบบการชำระเงินใหม่ที่รัฐบาลตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ง่ายขึ้นในโลกดิจิทัล
ยิ่งตอนนี้หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ก็ยิ่งทำให้หลายธุรกิจให้ความสำคัญกับช่องทางดิจิทัลยิ่งกว่าเดิมไปอีก ดังนั้นเราอาจจะได้เห็นการปรับเปลี่ยนอีกรอบของคนจีนในเร็วๆนี้เพิ่มขึ้นก็เป็นได้ ว่าพวกเขาจะไม่ต้องพกเงินสดอีกต่อไปแล้ว
เขียนโดย อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร
Expertise: China Marketing
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่
Copyright © MarketingOops.com