Xiaomi ทะยาน ปรับกลยุทธ์การตลาด ทำกำไรเพิ่ม 70%

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ในปัจจุบันนี้ Xiaomi จัดว่าเป็นบริษัทรายใหญ่ของจีนในฐานะผู้ผลิตสมาร์ทโฟน ที่สามารถผงาดขึ้นมาครองส่วนแบ่งการตลาดในระดับโลก จนถึงขั้นติดใน Top อันดับ 3 ของโลกได้ และตามหลังเพียงแค่ Apple และ Samsung ซึ่งต้องยอมรับว่าความสำเร็จนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ต้องผ่านอุปสรรคมามากในช่วงเวลาที่แบรนด์สินค้าจากจีนถูกตั้งคำถามตัวโต ๆ ในแง่ของคุณภาพและความน่าเชื่อถือ ยิ่งเป็นสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีด้วยแล้ว เพราะก่อนหน้านี้สินค้าจีนมักถูกมองว่าเป็นของก็อป พังง่าย แม้จะราคาถูกก็ตาม

แล้ว Xiaomi สามารถเปลี่ยนแปลงได้ยังไง ?? มาดูกลยุทธ์ของพวกเขากันหน่อย

 

ช่องทางออนไลน์

ในบรรดาบริษัทและแบรนด์ด้านสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสมาร์ทโฟนของจีน พบว่า Xiaomi คือแบรนด์ดังที่ให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ในการซื้อขายสินค้าด้วยช่องทางออนไลน์และแพลตฟอร์มสำหรับเป็นช่องทางหลักมากที่สุดของจีน

สำหรับข้อดีของการใช้กลยุทธ์บนออนไลน์ของ Xiaomi คือแบรนด์ของพวกเขาสามารถตัดร้านค้าคนกลางออก แล้วสามารถขายสินค้าของพวกเขาได้ในราคาที่ถูกกว่ามาก แล้วในแง่ของความ เคยชิน ความสะดวก ของผู้ใช้งาน เมื่อพวกเขาสามารถคลิกสั่งมือถือของ Xiaomi ผ่านระบบออนไลน์ พวกเขาสามารถได้มือถือเหล่านั้นมาอย่างง่าย ๆ หลังจากเลือกดูแล้วนั่นเอง

กลยุทธ์อีกอย่างคือ ทาง Xiaomi เลือกที่จะไม่วางขายโทรศัพท์บางรุ่นด้วยหน้าร้าน Store แบบปกติ แต่พวกเขาจะเน้นทำโปรโมชั่นบนออนไลน์เป็นหลัก เป็นการกระตุ้นให้คนเข้ามาในหน้าร้านออนไลน์มากขึ้น สำหรับบางรุ่น

 

เจาะตลาดต่างประเทศ

มีรายงานว่า ในปี 2021 พวกเขามีรายได้รวมต่อปีมากกว่า 3.28 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 33.5% หากเทียบจากปีก่อน ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก หากมองว่าแบรนด์สมาร์ทโฟนรายอื่นประสบปัญหา

หนึ่งในเรื่องที่ Xaiomi หลีกเลี่ยงมาก หากเทียบกับสมาร์ทโฟนรายอื่นของจีน โดยเฉพาะ Huawei คือการสร้างประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองหรือเชื้อชาติกับโลกตะวันตก แล้วหันไปมุ่งเน้นเรื่องธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งแนวทางนี้แบรนด์อื่น ๆ ของจีนเริ่มนำมาใช้กันแล้ว หลังจากหลายแบรนด์ไปหลงประเด็นดราม่าอยู่นาน

ทั้งนี้ยอดขายสมาร์ทโฟนของ Xiaomi’s Global พบว่าเติบโตถึง 30% หากเทียบจากปีก่อน ขายได้ 190.3 ล้านหน่วย ซึ่งถือว่าเป็นสถิติสูงสุดที่บริษัทเคยทำได้สำหรับตลาดในระดับโลก

อีกข้อหนึ่งที่ Xiaomi เหนือกว่า Hauwei ก็คือการสร้างภาพลักษณ์ความน่าเชื่อของสินค้า ว่ามีคุณภาพ และ ปลอดภัย

 

ออฟไลน์ผสมออนไลน์

ที่จริงแล้วไม่ได้มีการเปิดเผยชัดเจนถึงกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดตัวเลขด้านยอดขายดังกล่าว แต่มีการวิเคราะห์ว่า Xiaomi ประสบความสำเร็จในการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดและการขายด้วยช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กันแบบจริงจัง โดยแบ่งเป็น

การใช้ช่องทางออนไลน์ ทั้งหน้าร้าน หน้าเพจ แพลตฟอร์ม เพื่อเก็บข้อมูลของผู้บริโภค แล้วนำมาวางกลยุทธ์สำหรับผู้บริโภคที่จะเลือกซื้อสินค้า โดยไม่เกี่ยงว่าต้องเป็นช่องทางไหน ไม่ว่าออนไลน์ ออฟไลน์

ซึ่งนี่คือข้อเด่นของการที่ Xiaomi เป็นสมาร์ทโฟนจีนเจ้าแรก ๆ ที่เน้นการตลาดบนออนไลน์ ทำให้พวกเขาสามารถเก็บข้อมูลแบบ Big Data แล้วนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล ออกมาให้ได้กับความต้องการของลูกค้า ช่วยให้พวกเขาสามารถตีโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้า ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ อายุ เพศ รสนิยม ความชอบ และอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้นไปอีก จากนั้นก็พัฒนาเป็นการตลาดเชิงรุกในการส่งคอนเทนต์ โปรโมชั่น เข้าไปถึงลูกค้าโดยตรงผ่านทาง WeChat และช่องทางอื่น ๆ นั่นเอง

 

ยังคงเน้นหน้าร้าน

ถึงแม้ว่า Xiaomi จะให้ความสำคัญกับการขายด้วยออนไลน์ พวกเขาก็ไม่ทอดทิ้งการขายสินค้าของตนเองบนหน้าร้านแบบเดิม ๆ ในห้างสรรพสินค้า เพราะถือว่ายังมีลูกค้าอีกมากที่นิยมและเคยชินกับการไปเลือกสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์จากหน้าร้านโดยตรง ไปจนถึงโอกาสที่จะได้ทดลองใช้ไปด้วย

ตัวอย่างหนึ่งที่ชี้วัดได้ดีคือ Smart TV ของ Xiaomi ที่มียอดขายในระดับโลกมากถึง 12.3 ล้านหยวน แม้ว่าในภาพรวมจะลดลงจากปีก่อน แต่สำหรับตลาด Smart TV พวกเขาคืออันดับหนึ่งของจีนไปแล้ว และติดอันดับ 5 ของโลกด้วย

ในปัจจุบัน Xiaomi กลายเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ IoT (Consumer IoT) รายใหญ่ที่สุดในโลก และคาดว่าจะมีอะไรให้น่าสนใจมากกว่านี้อีกในอนาคต


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
Ittichai
ผู้ก่อตั้ง บริษัท เลเวลอัพ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านการตลาดจีน เจ้าของเพจ Level Up Thailand, Level Up China และ เว็บไซต์ Level Up Thailand (https://www.levelupthailand.com) มีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ในจีน เป็นนักพูดสร้างสรรค์ และผู้เขียนหนังสือ “บุกตลาดจีนด้วยโซเชียลมีเดีย”