กลยุทธ์ปั้นแบรนด์ของ Xiaomi ในยุคหลังโควิด

  • 4
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ไม่ใช่เรื่องธรรมดาสำหรับการเติบโตของบริษัท Xiaomi ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ของจีน ซึ่งในเวลานี้ครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในจีน แล้วในปัจจุบัน บริษัท Xiaomi ได้ยกระดับขึ้นมาจนกลายเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ IoT (Consumer IoT) รายใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้วด้วย

ส่วนในระดับโลก พวกเขาก็เรียกตามหลังเพียงแค่ Apple และ Samsung แค่สองรายเท่านั้น ส่วนในโลกยุคหลังโควิด Xiaomi เลือกปรับใช้กลยุทธ์ที่น่าสนใจในการปั้นแบรนด์ที่ทำมากกว่าแค่การกระตุ้นยอดขายทั่วไป แต่เพราะมองขาดว่า ถ้าสามารถปั้นแบรนด์และสร้างตำแหน่งของบริษัทได้ดี ก็จะทำให้ภาพรวมของแบรนด์ผงาดขึ้นมาครองตลาดเหนือคู่แข่งได้

มาดูกันว่าพวกเขากำลังใช้กลยุทธ์อะไรบ้าง

 

ปล่อยผลิตภัณฑ์ที่จับตลาด High End

เป็นกลยุทธ์สำคัญอย่างหนึ่งที่ Xiaomi เอามาใช้ เพื่อจับตลาดผู้มีกำลังซื้อระดับสูง แล้วยังเป็นการวางแบรนด์ของพวกเขาให้ยกระดับขึ้นมาอีกขั้น โดยกลยุทธ์นี้ถูกนำมาใช้นอกประเทศจีนในบางประเทศ เช่นที่อินโดนีเชีย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัว Xiaomi Mi11 Ultra รวมถึงผลิตภัณฑ์แล็ปท็อปรุ่น RedmiBook 15 ตามด้วย Xiaomi Pad 5 ที่เป็นจุดขายล่าสุด

เรื่องนี้นับว่าเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจเอามากๆที่แบรนด์อื่น ๆ น่าจะศึกษาเช่นกัน เพราะแทนที่จะพยายามผลักดันให้แบรนด์ของพวกเขายกระดับขึ้นไปเป็นแบรนด์ระดับเกรดพรีเมียมกับหลายประเทศ พวกเขาเลือกพัฒนาแบรนด์ให้สูงขึ้นมาในบางประเทศหรือในบางตลาดก่อน ทำให้การยกระดับแบรนด์ขึ้นไปเป็น High End ทั้งในแง่ของสินค้าและตำแหน่งแบรนด์ไม่ยากเกินไปนั่นเอง

ปัจจุบัน Xiaomi ครองส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนในอินโดนีเซียราว 26% และเป็นเบอร์หนึ่งในเวลานี้ ซึ่งคาดว่าส่วนแบ่งการตลาดของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตด้วย

 

การวางตำแหน่งของบริษัทที่ชัดเจน

ในบรรดาบริษัทของจีนไม่ใช่แค่ด้านสมาร์ทโฟน แต่ยังรวมถึงด้านอื่น ต้องยอมรับว่า Xiaomi เป็นบริษัทที่มีการวางตำแหน่งของธุรกิจที่ค่อนข้างชัดเจนมาก

พวกเขาเป็นบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของจีนที่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจประเภทนี้ที่แทบจะแย่งชิงกันทุกตารางนิ้วเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าจะมีผู้เล่นเข้ามาสู่ในตลาดนี้อยู่แค่ไม่กี่ราย แต่เนื่องจากธรรมชาติของสมาร์ทโฟนซึ่งไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำมาประเมินกันแค่เรื่องของคุณภาพสินค้าเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของความประทับใจในแบรนด์ ยี่ห้อ ชื่อเสียง การใช้งาน ไปจนถึงด้านอีกด้วย

 

เน้นการซื้อขายผ่านออนไลน์

เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะทาง Xiaomi วางกลยุทธ์ในการซื้อขายสินค้าด้วยการใช้ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางหลักมากกว่าจะเน้นที่ไปการซื้อผลิตภัณฑ์ของพวกเขาผ่านทางหน้าร้านแบบยี่ห้ออื่น ๆ

ซึ่งข้อดีมากๆของการทำตลาดรูปแบบนี้ก็คือ การที่พวกเขาสามารถตัดร้านค้าคนกลางออก แล้วสามารถขายสินค้าของพวกเขาได้ในราคาที่ถูกกว่ามาก

อีกทั้งในแง่ของความ เคยชิน ความสะดวก ของผู้ใช้งาน เมื่อพวกเขาสามารถคลิกสั่งมือถือของ Xiaomi ผ่านระบบออนไลน์ พวกเขาสามารถได้มือถือเหล่านั้นมาอย่างง่าย ๆ หลังจากเลือกดูแล้วนั่นเอง

อีกทั้ง Xiaomi ก็เลือกที่จะไม่วางขายโทรศัพท์บางรุ่นผ่านทางหน้าร้านสาขาทั่วไป แต่เลือกใช้กลยุทธ์ด้วยการทำโปรโมชั่นบนออนไลน์เป็นหลัก แล้วยังช่วยกระตุ้นให้คนเข้ามาในหน้าร้านออนไลน์มากด้วย

 

การใช้หน้าร้านออนไลน์เพื่อช่วยเก็บข้อมูล

เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ Xiaomi นำมาใช้ได้มีประสิทธิภาพมากเป็นอันดับต้น ๆ ในจีน เช่นเดียวกับทาง Alibaba Tencent Baidu

เป้าหมายหลักของการเก็บข้อมูลผ่าน Store ทางออนไลน์ก็คือการค้นหาความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อตีโจทย์ให้แตกในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น อายุ เพศ รสนิยม ความชอบ และอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้นไปอีก

 

ให้ความสำคัญกับออนไลน์สู่ออฟไลน์

Xiaomi ให้ความสำคัญกับเรื่องของช่องทางจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพราะถือว่าหน้าร้านขายสินค้า จะช่วยมอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้าที่เข้ามาเดินในช็อป ได้มีโอกาสหยิบจับ ทดลองสินค้า ซึ่งคาดว่าต่อไปจะมีการนำเทคโนโลยี VR เข้ามาช่วยในด้านนี้เพื่อทำเป็น Virtual Mall สำหรับร้านของ Xiaomi เช่นกัน

ในปัจจุบัน บริษัทได้วางแผนที่จะขยายร้าน Store ออกไปมากกว่า 30,000 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะขยายสำเร็จภายใน 2-3 ปีหลังจากนี้ เรียกว่าเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้ Xiaomi ขึ้นมาครองตำแหน่งเบอร์หนึ่งของจีนแบบถาวร และเป็นการเข้าสู้ในเวทีระดับโลกด้วย

 

เขียนโดย อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร
Expertise: China Marketing
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่

Copyright © MarketingOops.com

 

 


  • 4
  •  
  •  
  •  
  •  
Ittichai
ผู้ก่อตั้ง บริษัท เลเวลอัพ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านการตลาดจีน เจ้าของเพจ Level Up Thailand, Level Up China และ เว็บไซต์ Level Up Thailand (https://www.levelupthailand.com) มีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ในจีน เป็นนักพูดสร้างสรรค์ และผู้เขียนหนังสือ “บุกตลาดจีนด้วยโซเชียลมีเดีย”