ความเรียบง่าย กลยุทธ์ที่ทำให้แบรนด์นั้นกลายเป็นที่รักของลูกค้า

  • 132
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ความเรียบง่ายนั้นเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างมาก ในบรรดาแบรนด์ดัง ๆ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Apple, Dyson, Amazon หรือ Google เองก็ตาม เพราะสามารถสร้าง จุดยืนในเรื่องราคาที่สูงกว่าสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้กลยุทธ์นี้ และยังสามารถทำ customer loyalty ได้ดีกว่าอีกด้วย ซึ่งใครที่ทำการธุรกิจและการตลาดก็สามารถทำตามได้ เพื่อสร้างการขายที่ดีขึ้นมา

ในบรรดาแบรนด์ที่กล่าวไปนั้น ไม่ว่าจะสินค้าหรือการทำแบรนด์ หรือการตลาดเองก็จะมีความเรียบง่ายแฝงอยู่ในตัวเองทุก ๆ อย่างจะทำไปเพื่อนำเสนอความเรียบง่ายของแบรนด์ออกมา เพราะเมื่อทำออกมา การที่ขายสินค้าและแบรนด์โดยไม่ได้มีความซับซ้อน ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องคิดเยอะ ไม่ต้องใช้พลังในการตัดสินใจ พลังประมวลผลของสมอง ทำให้ประหยัดพลังงานตามสัญชาตญาณได้ ทำให้ผู้บริโภคชอบความเรียบง่ายนี้ และโหยหาความเรียบง่ายในแบรนด์และการขายขึ้นมา

นิยามของ ความเรียบง่ายนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยว่า สิ่งที่กำลังนำเสนอนั้น มีความง่ายต่อความเข้าใจ ความง่ายต่อการใช้ ความชัดเจนในการใช้งานนั้นง่ายแค่ไหน มีความเฉพาะเจาะจงที่ง่ายแค่ไหน และมีผลที่ได้จากการกระทำนั้นง่ายแค่ไหน ซึ่งสามารถมองได้อีกมุมคือใช้เวลาเรียนรู้ที่ต่ำในการใช้งานหรือเข้าใจ แต่ใช้สัญชาติญาณในการใช้งานได้ทันทีได้สูงนั้นเอง ในทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการหลาย ๆ อันมีความซับซ้อนอย่างมากในการใช้งาน มีหลายขั้นตอนหรือมีการเรียนรู้ที่สูงมากในเพื่อที่จะใข้งาน ซึ่งนั้นเป็นผลพวงมาจากการดีไซน์ที่แย่เกินไป ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือสินค้าที่มีความซับซ้อน มี UX ที่มีความสับสนในการใช้งาน รถยนต์ที่เมื่อก่อนมีการใช้งานที่ไม่ต้องมองก็ได้แค่ใช้สัญชาตญาณในการจัดลูกบิด หรือก้านโยก ปุ่มต่าง ๆ ที่กดสัมผัสถึงแรงปฏิกิริยาได้ แต่ในทุกวันนี้เปลี่ยนเป็นจอสัมผัสแบบเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ที่ต้องละสายตาในการขับรถ ไปมองเพื่อให้กดปุ่มที่ถูกต้อง หรือเพื่อให้ใช้ฟีเจอร์ที่จริง ๆ แล้วการใช้สัญชาตญาณจับก็เพียงพอ หรือสินค้าและบริการที่เอาแต่ความสะดวกของผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการก่อนความสะดวกของลูกค้า

Leonardo Da Vinci เคยกล่าวไว้ว่า ความเรียบง่ายนั้นคือขั้นสุดยอดของความซับซ้อน ลองนึกภาพของปิกัสโซ่ ที่มีความเรียบง่าย แต่จริง ๆ แล้วมีความซับซ้อนอย่างมาก และต้องใช้กระบวนการคิดมากมายเพื่อที่จะตัดทอนสิ่งต่าง ๆ ที่ซับซ้อนออกไปจนเหลือความเรียบง่ายเท่านั้น ดังนั้นการดีไซน์ความเรียบง่ายที่ดีคือ กระบวนการคิดที่ผ่านการตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปอย่างมากจนได้อะไรที่ใช้งานได้ง่ายจริง ๆ ขึ้นมา

Jony Ive ที่เคยเป็นผู้บริหารด้านดีไซน์ของ Apple ได้เคยให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ New York Times ว่าในตอนที่ดีไซน์ iPod นั้นอยากให้ iPod นั้นไม่มีความซับซ้อนหรือยากในการใช้งาน ทาง Apple ก็เลยออกแบบให้ UX นั้นตัด Features ที่มีความซับซ้อนออกไปก่อน เพื่อให้ผู้ใช้ที่ใช้ ได้ใช้งานง่าย ๆ ก่อน และเมื่อผู้ใช้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้การใช้งานเพิ่มเติม จึงทำการเพิ่ม Features ที่ต้องการเข้าไปทีละนิด ซึ่งนี้เป็นกลยุทธ์ที่สร้างให้ผู้บริโภคมีความคุ้นชินและความสบายใจในประสบการณ์การใช้งานในแต่ละขั้นขึ้นมา จนช่ำชองในการใช้สินค้าขึ้นทันที

Jeff Bezos ก็เช่นกัน ในการออกแบบ Amazon ที่ทำให้ประสบความสำเร็จทุกวันนี้คือ ปุ่ม One Click Purchase ซึ่งลดความซับซ้อนในการซื้อสินค้าและทำให้กระบวนการที่ลูกค้าจะคิดประมวลผลหรือตัดสินใจในการซื้อสินค้าที่มีมากขึ้นนั้นหายไปทันที

จากการสำรวจเรื่อง Simplicity Index พบว่า ความเรียบง่ายนั้นมีผลทำให้ 64% ของผู้บริโภคจะแนะนำบอกต่อสินค้าเพราะประสบการณ์ความเรียบง่ายที่ได้รับ นอกจากนี้ยังสามารถสร้าง customer loyalty ได้ถึง 78% และกว่า 55% ยอมที่จะจ่ายมากขึ้นเพื่อแลกกับการที่มีความง่ายในการใช้งาน และนอกจากนี้มีการสำรวจเพิ่มโดย Siegel+Gale จากปี 2009 เป็นต้นมาหุ้นแบรนด์ที่มีความเรียบง่ายนั้น สร้างผลตอบแทนมากกว่าหุ้นแบรนด์ตลาดโดยทั่วไปถึง 686%

วิธีที่จะสร้างความเรียบง่ายที่ดีที่สุดคือการดูแบรนด์ที่มีความเรียบง่ายเป็นตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การลดขั้นตอนในการซื้อเหมือน Amazon การลดขั้นตอนในการผูกบริการ เหมือน Stripe การลดขั้นตอนการใช้งานเหมือน Apple การปราศจากคำประดิษฐ์สวยหรูต่าง ๆ แบบ Nike หรือการแก้ปัญหาแบบเรียบง่ายเหมือนพวกบริการเรียกรถ ด้วยการที่ลดความซับซ้อนต่าง ๆ ที่จะช่วยลดการเข้าใจหรือความคิดของผู้บริโภคลงได้ ทำให้กลยุทธ์นี้สามารถเชื่อมไปสู่ผู้บริโภคได้ดี ทำให้คุณค่าและสิ่งที่แบรนด์อย่างสื่อสารสามารถเข้าใจได้ทันที และได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ได้ทันทีขึ้นมา


  • 132
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ