ตอนนี้นักการตลาดหลาย ๆ คน กำลังสนใจ Martech และ Data Driven Marketing อย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว Martech และ Data Driven Marketing นั้นเป็นเครื่องมือในการช่วยทำการตลาดด้วยข้อมูลที่ทำให้การตลาดนั้นแม่นยำขึ้น และใช้ในการเตรียมตัวในอนาคตได้เพิ่มมากขึ้น แต่ Martech และ Data Driven Marketing นั้นยังไม่สามารถตอบโจทย์ในการเข้าใจความคิดความต้องการ และเหตุผลต่าง ๆ ของความต้องการของกลุ่มเป้าหมายออกมาได้ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ จะไม่ได้ผลเลย ถ้ายังไม่เข้าใจรากของความคิดของกลุ่มเป้าหมาย
สิ่งหนึ่งที่การตลาดทำมาโดยตลอด และการเปลี่ยนแปลงเลยคือการที่ การตลาดนั้นสนใจในความคิดของกลุ่มเป้าหมายและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายจากการที่ไม่รู้จัก หรือไม่สนใจ ให้กลายมาเป็นลูกค้าของธุรกิจให้ได้ หรือสร้างการชักจูงให้เกิดการตัดสินใจให้ได้มากที่สุดขึ้นมา ซึ่งการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านี้ได้ไม่ได้เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี แต่เป็นการเกิดขึ้นทางจิตวิทยาของกลุ่มเป้าหมายกับเทคโนโลยีที่เข้าไปนำเสนอนั้นเอง และจริง ๆ แล้วการใช้จิตวิทยานั้นก็มีอยู่รอบ ๆ ตัวในการตลาดทุก ๆ วันนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการ จิตวิทยาการตั้งราคา หรือการทำแบรนด์ต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งในบทความนี้จะพาคุณเข้าใจไปในเหตุผลว่าทำไมจิตวิทยากำลังจะกลายเป็นเรื่องสำคัญในการตลาดขึ้นมาต่อจากนี้
ข้อมูลที่มากเกินไป ในทุกวันนี้ข้อมูลนั้นมีมากมายและหลั่งไหลมาจากทั่วทุกที่ ทำให้กลุ่มเป้าหมายและคนทั่วไปนั้นรู้ว่าข้อมูลนั้นเข้าถึงได้ง่ายอย่างมาก โดยแค่ทำการค้นหาผ่านระบบการค้นหาต่างๆ หรือถูกนำเสนอผ่านตาจาก Social Media Platform ต่าง ๆ ขึ้นมาได้ มองในแง่หนึ่งคือมีความสะดวกอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการบริโภคเนื้อหา แต่มองในอีกทางคือเรากำลังจะเจอภาวะ Information Overload และข้อเสียอย่างมากจากภาวะนี้คือ ด้วยข้อมูลที่มากเกินไป จะทำให้ผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายนั้นตัดสินใจอะไรไม่ได้เลย ซึ่งด้วยข้อมูลที่มากเกินไปนี้ทำให้กลุ่มเป้าหมายเลิกปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ไปเลยได้ วิธีการที่จิตวิทยาจะมาช่วยในการแก้ไขปัญหาคือนี้คือการเข้าใจกลไกการบริโภคเนื้อหาของกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการ เนื้อหาแบบไหนข้อมูลแบบไหน และการนำเสนอแบบไหนที่จะมาช่วยในการตัดสินใจได้ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น การนำเสนอด้วยข้อมูลที่เรียบง่ายและมีการแนะนำตรงๆ เข้าไป ก็ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ด้วยการที่โลกเรานั้นมี Platform ที่นำเสนอเนื้อหาแบบ On the Go Content มากเกินไป และทุก ๆ Platform เองก็ดันด้วยเนื้อหานี้ ทำให้เกิดผลเสียอย่างมากกับกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคในปัจจุบันอย่างมากนั้นคือการที่ผู้บริโภคในปัจจุบันนั้นมีความสนใจที่สั้นลงอย่างมาก จนเหลือแค่ 8 วินาที ซึ่งถ้าใครไม่สามารถดึงความสนใจไว้ใน 8 วินาทีนี้ได้ คุณก็จะเสียความสนใจนั้นไปเลย และตัวเลข 8 วินาทีนี้ลดลงจากปี 2010 มา 4 วินาทีอีกด้วย ยิ่งในตอนนี้ Platform อย่าง Tiktok ออกมา และมีการวัดแล้วว่า ถ้าแบรนด์หรือเนื้อหาไม่สามารถจับความสนใจคนในช่วง 3 วินาทีแรก คนก็จะทิ้งไปหาเนื้อหาอื่นอย่างทันที ทำให้การเข้าใจจิตวิทยากลุ่มเป้าหมายนั้นมีความสำคัญขึ้นมาว่า จะทำให้คนสนใจได้อย่างไร และดึงความสนใจให้คนอยู่กับเนื้อหาของเราได้นานสุดได้อย่างไรขึ้นมา ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายทาง ตั้งแต่การทำเนื้อหาให้ง่ายและจับกระแสที่คนกำลังสนใจขึ้นมา หรือการใช้เพลงที่เป็นกระแสที่ทำให้คนสนใจขึ้นมา หรือใช้เพลงเป็นตัวสร้างโมเมนตัมของกลุ่มเป้าหมายในระหว่างการรอดูคลิปก็ได้หรือสุดท้าย ด้วยจิตวิทยาของคนที่จะสนใจใบหน้าคนก่อนเหนือสิ่งอื่นใด การใช้หน้าคนมาอยู่ใน Content ต่าง ๆ ก็สามารถช่วยให้เกิดความสนใจได้ด้วย
ผู้บริโภคมีอำนาจมากขึ้น จากการเก็บข้อมูลของ Accenture นั้นพบว่า กลุ่มผู้บริโภคนั้นมีความผิดหวังอย่างมากต่อแบรนด์ในการจัดการหรือมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งแบรนด์ในยุคนี้ต้องตามผู้บริโภคให้ทันที่ ผู้บริโภคในยุคนี้มีพลัง ต้องการการแสดงออก และการที่ปัญหาต้องถูกพูดถึงอย่างทันที นอกจากนี้ผู้บริโภคยังเลือกแบรนด์ที่เข้าใจและทุ่มเทพลังไปในการสนับสนุนพลังในการแสดงออกของผู้บริโภคอีกด้วย สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือแบรนด์และธุรกิจต้องเข้าใจในความเป็นมนุษย์มากขึ้น ต้องเข้าใจจิตวิทยาที่เคลื่อนไหวและผลักดันสังคมขึ้นมา
สุดท้ายแล้วทั้งจิตวิทยาและเทคโนโลยีในยุคนี้ จะช่วยส่งเสริมกันและกันในการตลาด และช่วยทำให้การตลาดนั้นมีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น โดยทั้งคู่ต้องพึ่งพากันและกัน ถึงจะได้ผลอย่างมากที่สุดขึ้นมา