อยากได้ไอเดียใหม่ๆ ในการทำงาน ลองใช้วิธีคิดแบบ Steve Jobs

  • 152
  •  
  •  
  •  
  •  

 

เคยไหมที่ต้องนำเสนอแนวความคิดใหม่ๆ หรือหาไอเดียใหม่ๆ ในการทำงาน แต่กลับกลายเป็นว่าคิดยังไงก็คิดไม่ออก แถมต้องมากังวลว่า สิ่งที่คิดมานั้นดีพอหรือยัง และยังมีไอเดียที่ดีมากกว่านี้ไหม และเพื่อที่จะหาไอเดียที่ดีขึ้นในเวลาที่จำกัด ก็จะหาทางต่างๆ ในการคิดไอเดียออกมา ไม่ว่าจะ Brain Storm ออกไปเดิน วิ่ง หรืออาบน้ำ หรือแม้กระทั่งเข้าห้องน้ำเพื่อกลั่นความคิดออกมา บางครั้งก็โชคไม่ดีเพราะการหาไอเดียบางทีก็ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่ขึ้นมา ซึ่งปัญหานี้จะหมดไปถ้ารู้วิธีที่หาไอเดียใหม่ๆ แบบ Steve Jobs

Steve Jobs นั้นเป็นบุคคลที่ถูกยกย่องในหลายๆ เหตุผลเข้าด้วยกัน และหนึ่งในเหตุผลเหล่านั้นคือ Steve Jobs เป็นผู้ที่มีความคิดแบบ Original Idea เสมอมาไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบรนด์ของตัวเอง การพัฒนาสินค้าและการออกแบบสินค้าที่มีความเรียบง่ายออกมา สินค้าในช่วงที่ Steve Jobs อยู่นั้นจะเห็นได้ว่าเป็นการปฏิวัติวงการเทคโนโลยีจริงๆ ไม่ว่าจะเป็น iMac, Macbook, Macbook Air, iPod, iPad และ iPhone ซึ่ง Steve Jobs  นั้นทำอย่างไรเวลาที่ต้องการที่จะได้ไอเดียต่างๆ ออกมา หรือหาไอเดียใหม่ๆ ที่จะต้องลงมือทำ แก้ไขปัญหาต่างๆ เคล็ดลับของ Steve Jobs ที่ใช้ในการแก้ปัญหานี้คือสูตรความคิดที่เรียกว่า Reframing the problem

 

ที่มาภาพ : howtoreframe.com

 

Reframing the problem คือวิธีที่จะมองปัญหาในมุมมองที่ต่างออกไป หรือวิธีการตีโจทย์ปัญหาที่ต้องการไอเดียให้ถูกต้องเสียก่อน เพราะในกระบวนการที่เราต้องการไอเดียในการแก้ปัญหานั้น หลายๆ ครั้งเรามักจะคิดวิธีในการแก้ปัญหาที่คิดได้รวดเร็วที่สุดออกมา โดยเอาประสบการณ์ของตัวเองเป็นที่ต้อง โดยไม่ได้มองว่าการแก้ไขปัญหาหรือโจทย์ที่ได้รับมานั้นเข้าใจถูกต้องหรือไม่ ด้วยการที่ Reframing the problem จะทำให้มีมุมมองใหม่ๆ ต่อปัญหานั้นหรือเข้าใจรากของปัญหาต่างๆ ขึ้นมาทันทีแล้วทำให้ค้นพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากการที่มองโจทย์ปัญหานั้นด้วยมุมมองต่างๆ ออกไป และทำให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถแสดงประสิทธิภาพออกมาได้อย่างเต็มที่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การรออะไรบางอย่างที่นาน จริงๆ ปัญหาไม่ได้เป็นที่การรอ แต่เป็นที่การไม่มีอะไรทำระหว่างรอ ไม่ว่าจะเป็นการรอลิฟท์ หรือแม้กระทั่งรอกระเป๋าเดินทาง การแก้ไขปัญหาที่แทนที่จะเร่งเวลาให้เร็วขึ้น มองปัญหาใหม่ว่าคือการรอที่น่าเบื่อหรือหาให้ทำอะไรระหว่างรอ ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ เช่น การรอลิฟท์ก็มีกระจกให้มอง มีเครื่องทำความสะอาดมือ การรอกระเป๋าเดินทาง ก็ทำให้ระยะการเดินไกลขึ้นโดยให้ผ่านส่วน Shopping เพื่อที่ให้มาถึงสายผ่านกระเป๋าทันที หรือการรอรถ

ตัวอย่างการ Reframing the problem ที่เกิดขึ้นในปัญหาที่ทุกคนต้องเจอในการทำธุรกิจและการตลาดคือ “เรากำลังสูญเสียลูกค้าคนรุ่นใหม่ออกไป” ถ้าเป็นกระบวนการแก้ปัญหาปกติตามสัญชาตญาณของนักการตลาดคือ “ก็ทำการตลาดในหมู่วัยรุ่นเพิ่ม โดยใช้เครื่องมือและช่องทางการตลาดที่วัยรุ่นชอบขึ้นมา” แต่วิธีการ Reframing the problem จะมองปัญหานั้นออกไปโดยแบ่งขั้นตอนออกเป็น

1. ลองถอยออกมาดูจากมุมมองภายนอกก่อน : จะพบว่าปัญหา “เรากำลังสูญเสียลูกค้าคนรุ่นใหม่ออกไป” นั้นแท้จริงแล้วคือ สินค้าและบริการถูกบริการรุ่นใหม่ที่ดีกว่าเข้ามาเป็นคู่แข่งแย่งลูกค้าไป

2. ลองเปลี่ยนมุมมองเป้าหมาย : จากเป้าหมายการแก้ปัญหา “ทำการตลาดในหมู่วัยรุ่นเพิ่ม โดยใช้เครื่องมือและช่องทางการตลาดที่วัยรุ่นชอบขึ้นมา” มาเป็นสร้างธุรกิจที่จะเติบโตในหมู่กลุ่มคนรุ่นใหม่และปฏิสัมพันธ์กับคนรุ่นใหม่ออกมา

3. มองดูในแง่บวก : จากที่จะต้องใช้เครื่องมือเดิมๆ ในการทำการตลาด อาจจะเปลี่ยนมาเป็น ใช้ความน่าเชื่อถือที่ตัวเองมีมีความน่าเชื่อถือจากคนที่รับรองได้จากการใช้แบรนด์สินค้าและบริการมานาน และมี KOL/Influencer หรือเว็บไซต์ที่เป็นพันธมิตรที่คอยช่วยเหลือ

4. ลองส่องกระจกตัวเองดู : เป็นการมองว่าตัวเองมีมุมมองอะไรที่แคบเกินไปที่ตัวเองอยากจะได้เท่านั้นไหม ในที่นี้คือ ยอดขายที่เพิ่มขึ้น

5. ลองเอามุมมองลูกค้ามาใส่ดู : เป็นการมองว่าแท้จริงแล้ว ลูกค้าอยากได้อะไรกันแน่ออกมา ซึ่งในที่นี้คือ อยากได้สินค้าและบริการที่จะมาช่วยแก้ปัญหาที่ตัวเองเจอในสมัยนี้ ยุคนี้ที่วัยรุ่นเผชิญอยู่

6. ขั้นตอนต่อไป : เป็นการบ่งชี้ว่าต้องทำอะไรต่อไป เพื่อให้แก้ปัญหาที่ถูกต้องโดยได้ไอเดียที่ถูกต้องออกมา ซึ่งในที่นี้ก็คือ สร้างสินค้าและบริการที่ช่วยแก้ปัญหาวัยรุ่นที่คอยเป็นที่ปรึกษามากกว่ามาสร้างผลกำไรให้บริษัท

นอกจากวิธีที่จาก Canvas ข้างต้นยังสามารถเพิ่มเข้าไปได้คือ การเอาคนนอกเข้ามาคิด หรือแม้กระทั้งการคิดตรงกันข้ามออกมา ทั้งหมดนี้จะช่วยทำให้เรามีไอเดียใหม่ ๆ ที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างง่ายดาย


  • 152
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ