เครื่องสำอางสำหรับผู้ชาย บุกตลาดจีน นี่ยังเป็นโอกาสที่เปิดกว้าง และเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในเวลานี้ แล้วยังมีรายงานล่าสุดเกี่ยวกับประเภทของสินค้ายอดนิยมบนช่องทางเว็บไซต์ E-Commerce ในจีนหลายแห่ง เช่น Taobao Tmall และอื่น ๆ มีการบ่งชี้ว่า สินค้าในกลุ่มเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ สกินแคร์ เป็นกลุ่มที่มาแรงและได้รับความนิยมสูงมาก
สำหรับสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรทราบ มีอะไรบ้าง ลองมาดูกันครับ
เครื่องสำอางยังคงได้รับความนิยมสูงสุด
เวลานี้กำลังกลายเป็นเทรนด์ สำหรับดูแลสุขภาพลาภพลักษณ์ของตนเองให้ดูดี ปกติแล้วเป็นเรื่องธรรมชาติที่สาวชาวจีนทั้งน้อยใหญ่ชื่นชอบกันมาก แต่ในวลานี้ไม่เพียงแต่ผู้หญิงเท่านั้น เพราะมันกำลังกลายเป็นเทรนด์ของชายชาวจีนในหลายช่วงอายุที่กำลังมีความสนใจด้านนี้มากขึ้นด้วย
ปัจจัยที่ส่งผล เนื่องจาก กระแสการติดตามไอดอลที่ชื่นชอบทางโซเชียลมีเดีย และ โอกาสในเรื่องของอาชีพ รายได้ ภาพลักษณ์ ที่จะมีเข้ามา หากมีการดูแลในส่วนนี้ได้ดี และการที่ผู้ชายจะใช้เครื่องสำอาง ก็เริ่มไม่ได้ถูกมองว่าเป็นการกระทำที่เบี่ยงเบนทางเพศหรือทำให้ความเป็นชายลดลงแต่อย่างใดสำหรับในค่านิยมของคนยุคนี้ ที่เปิดกว้างเรื่องนี้มากขึ้น
ซึ่งก็มีการเปิดเผยสถิติการส่งออกเครื่องสำอางไทยจากรายงานของกรมศุลกากรเมื่อสิ้นปี 2017 พบว่ามีมูลค่าสูงกว่า 8.2 หมื่นล้านบาท และธุรกิจเครื่องสำอางในจีนมีอัตราการเติบโตสูงกว่า 40% ถือได้ว่ามีการเติบโตสูงสุดจากในกลุ่มธุรกิจนำเข้าทั้งหมด
หากพูดถึงในภาพรวม สินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง ถือว่ามีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอดทุกปี ที่น่าสนใจคือได้รับผลกระทบจากภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนไม่มากนัก
ช่องทางการจำหน่าย ออฟไลน์และออนไลน์
ในเวลานี้ ช่องทางออนไลน์กำลังได้รับความนิยมสูงมากขึ้น โดยผ่านแพลทฟอร์มยอดนิยมของจีน ไม่ว่าจะเป็น WeChat Pay Taobao Tmall Weibo
นอกจากนี้ช่องทางของแอบพลิเคชั่นใหม่ ๆ ในรอบ 3-4 ปีนี้ ยังเป็นช่องทางที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น Tiktok Meipai Xaohongshu เป็นต้น เพราะช่องทางโซเชียลเหล่านี้สามารถจับกลุ่มลูกค้าในช่วงวัยรุ่นไดดีกว่าช่องทางอีคอมเมิร์ซเสียอีก
สำหรับในส่วนของการขายทางหน้าร้านทางออฟไลน์ พบว่านักท่องเที่ยวจีนค่อนข้างนิยมเข้ามาซื้อจากเมืองไทยกลับไปเป็นของฝากจำนวนมาก เช่น หน้าร้านของ Beauty Buffet หรือ Duty Free ที่ King Power เป็นต้น ซึ่งก็ต้องใช้การชำระเงินผ่านรูปแบบสแกนด้วย WeChatPay และ Alipay ดังนั้นถ้าร้านค้ารายย่อยไม่ได้ใช้ช่องทางนี้ให้เป็นประโยชน์ ก็ถือว่าเสียโอกาสมาก
การส่งออก ต้องทำเรื่องขออนุญาตอะไรบ้าง
ในกรณีของผู้ที่มองโอกาสส่งออก จะต้องทำเรื่องขออนุญาต ซึ่งมี 3 ประเภท ได้แก่
- Safety and Health Quality Tests
- Certificate for Imported Cosmetics
- Certificate for Labeling of Import and Export
อัพเดทกระแสที่กำลังเป็นเทรนด์ในจีน
เนื่องจากมีกรณีศึกน่าสนใจ ตัวอย่างเช่น เมื่อกลางปี 2018 ที่ผ่านมา สกินแคร์ยี่ห้อ Biotherm Homme ใช้วิธีจ้างศิลปินชื่อดังอย่าง Lay Zhang เข้ามาเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาของแบรนด์ โดยเลือกจากการที่ตัวเขามีภาพลักษณ์เป็นคนที่มีรูปร่างดูดี ออกกำลังกาย ถือว่าเป็นไอดอลชายที่กำลังมาแรงในจีน และยังมีภาพลักษณ์ว่าเป็นคนที่มีความ Active ซึ่งทางแบรนด์ก็ไออกคลิปโฆษณา ในชื่อคอนเซปต์คือ Work work and work more แล้วลงใน Weibo ซึ่งแคมเปญดังกล่าว มีคนติดตามมากกว่า 1 ล้านคน ภายในเวลาไม่นานนัก
หรือในกรณีของ สกินแคร์ ยี่ห้อ Estee Lauder ที่เลือกจับกลุ่มวัยรุ่นจีนในช่วงอายุ Gen Z โดยใช้นักกีฬา E-Sport ในจีน ซึ่งถือว่าเป็นกีฬาที่กำลังมาแรงในกลุ่มวัยรุ่น และได้รับความสนใจมากในวงกว้าง เข้ามาเล่นกับกระแสนี้ พร้อมทั้งชูสโลแกนว่า “การมีพลังดึงดูด ช่วยทำคะแนน (ในเกม) ให้มากขึ้น” เพื่อโยงมากับสินค้าของแบรนด์ เรียกว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ในแง่บวก เป็นต้น
แต่ทั้งหมดนี้ เป็นการทำแคมเปญลงในโซเชียลทั้งสิ้น ช่องทางออนไลน์จึงมีความจำเป็นสำหรับการทำตลาดดังกล่าว
ในปัจจุบัน พื้นที่ของสินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง สกินแคร์ ถือว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่ในระดับ Mass ที่มาแรง ไม่ว่าจะทั้งกลุ่มตลาดล่าง กลาง และระดับสูง รวมถึงในหลายช่วงอายุ เช่น ในกรณีที่มีการจับตลาดกลุ่มวัยรุ่น Gen Z ด้วยการใช้ เนตไอดอลชายที่เข้ากับกระแสนั้น ๆ นี่จึงยังเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่รอผู้เล่นจากแบรนด์ต่าง ๆ ให้เข้าไปอยู่อีกมาก แม้ว่าการแข่งขันจะรุนแรงเช่นกันก็ตาม ซึ่งทั้งผู้ผลิตและ SME รายย่อย มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาการทำตลาดจีนออนไลน์ ในกลุ่มเครื่องสำอาง เพื่อไม่ให้ตกขบวนของการแข่งขันนี้ไปครับ
เขียนโดย อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร
Expertise: China Marketing
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่
Copyright © MarketingOops.com