ในการทำธุรกิจนั้นหลายๆ บริษัท จะต้องเจอปัญหาหลายๆ อย่างที่เข้ามา และหลายๆ ปัญหานั้นก็มีความซับซ้อนในการทำความเข้าใจและในรายละเอียด ซึ่งทำให้การแก้ปัญหานั้นมีความยากลำบาก หรือถ้ามองปัญหานั้นไม่ออกก็ยากที่จะหาวิธีแก้ไขได้
ซึ่งในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ บริษัทที่ปรึกษาชื่อดังหลายๆ ที่ นั้นได้มีระบบที่จะมาช่วยวิเคราะห์ปัญหาออกมาและทำให้สามารถมองเห็นปัญหาต่างๆ ได้เป็นระบบ ระเบียบ และทำให้แก้ไขปัญหานั้นง่ายอย่างมาก ซึ่งวิธีการนี้สามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาหลาย ๆ แบบได้อย่างมาก ซึ่งวิธีวิเคราะห์ปัญหานั้นเริ่มด้วยการ
1. เข้าใจโครงสร้างของปัญหา : การแก้ปัญหานั้น เริ่มต้น ด้วยการเข้าใจปัญหานั้นอย่างถ่องแท้เสียก่อนว่า รากของปัญหานั้นอยู่ที่ไหน ซึ่งทำให้การสร้างโครงสร้างของปัญหานั้นขึ้นมามีความจำเป็น โดยสามารถใช้วิธีการ MECE Framework หรือ Mutually Exclusive Collectively Exhaustive ในการทำโครงสร้างปัญหานี้มา
ด้วยการใช้ MECE Framework จะสามารถวางคำตอบที่เป็นสมมุติฐานในการเกิดปัญหานั้นหรือสมมุติฐานที่เราสงสัยว่าน่าจะเป็นทางแก้ไขออกมา เมื่อได้สมมุติฐานแล้ว ก็แบ่งสมมุติฐานนี้ออกเป็นสมมุติฐานย่อยๆ ที่จะสมมุติฐานย่อยๆ ในแต่ละข้อนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าสมมุติฐานหลักนั้นเป็นจริง หากสมมุติฐานย่อยหรือข้อสนับสนุนย่อยนั้นเป็นจริงออกมา
แบ่งสมมุติฐานย่อยเหล่านั้นทีละข้อ : เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าสมมุติฐานหลักเป็นจริง การแบ่งสมมุติฐานย่อยออกมา โดยหาเหตุผลในการตอบสมมุติฐานย่อยเหล่านั้นว่า ข้อใดเป็นจริง ด้วยวิธีการนี้จะสามารถทำให้ไปรากของเหตุผลของปัญหาได้ทีละข้อรวมถึงแบ่งปัญหาใหญ่ๆ เป็นปัญหาย่อยๆ ได้
2. สร้างแผนวิเคราะห์ออกมา : เพื่อพิสูจน์ว่าสมมุติฐานเป็นจริง และไม่พลาดในรายละเอียดไป ทำให้การสร้างแผนวิเคราะห์ออกมานั้นมึความจำเป็น และแผนที่สร้างออกมานี้จะทำให้สามารถทำงานต่อได้ง่ายมากขึ้น โดยการสร้างแผนวิเคราะห์ออกมานี้ จะมี 3 คำถาม ที่ต้องตั้งเอาไว้คือ
2.1 ต้องมีการวิเคราะห์อะไรบ้างเพื่อทดสอบสมมุติฐาน
2.2 จะได้ข้อมูลในการวิเคราะห์และหาคำตอบมาได้อย่างไร
2.3 จะใช้เวลาแค่ไหนในการวิเคราะห์
ด้วยการใช้ 3 คำถามนี้ จะสามารถใช้มาวิเคราะห์สมมุติฐานย่อยๆ เพื่อพิสูจน์จนได้คำตอบออกมา ซึ่งในแต่ละข้อย่อยนั้นไม่จำเป็นต้องมีคำตอบอันเดียว สามารถมีหลายกหลายคำตอบเพื่อให้สามารถได้ข้อมูลหลากหลายรูปแบบมาเพื่อหาคำตอบได้ และคำถามแต่ละอันก็ต้องการวิธีการที่หลากหลายในการที่จะได้มาซึ่งการแก้ปัญหาด้วย
3. ทำแผนให้ได้ผล : จากการทำแผนวิเคราะห์ออกมานั้น จะทำให้ได้คำตอบของปัญหานั้นคืออะไร และอย่างไรออกมาแต่ไม่ได้บอกว่าจะต้องเริ่มเมื่อไหร่ และที่ไหน การมาลงมือทำแผนนั้นออกมาให้ได้ผลออกมา โดยสามารถเริ่มจากการเอาแผนงานทั้งหมด มาใส่ใน Timeline เพื่อที่จะเห็นว่า จะเห็นผลของการทำงานเมื่อไหร่ เพื่อนร่วมงานหรือคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้เห็นว่าจะมีการทำงานอย่างไร ใครทำงานอย่างไร และสามารถใช้ในการติดตามแก้ไขปัญหา นอกจากนี่ยังช่วยทำให้รู้ว่าจะเริ่มทำอะไรเมื่อไหร่ และอะไรที่ควรทำ ไม่ควรทำเพื่อไม่ให้เสียแรงโดยเปล่าประโยชน์
เมื่อเริ่มแผนการทำงานที่จะวิเคราะห์ออกมา การมีข้อมูลที่ดีนั้นเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ได้คำตอบของการวิเคราะห์ออกมาได้ โดยควรมีข้อระวังดังนี้คือ
1. ระวังตัวเลขที่เลือกมา ว่าตัวเลือกเชื่อถือได้หรือไม่
2. เลือกเวลาที่เหมาะสมว่าเวลาที่เอามาวิเคราะห์นั้นตรงกับเวลาที่เกิดปัญหาหรือไม่
3. เลือกข้อมูลคุณภาพที่เหมาะสม ว่าข้อมูลแบบไหนใช้ได้ ใช้ไม่ได้
4. ระวังเรื่องอคติส่วนตัวที่ใส่เข้าไป
ด้วยการแบ่งปัญหา และแบ่งการพิสูจน์ปัญหา จนทำให้ได้วิธีแก้ไขปัญหาย่อย ๆ ออกมา จะทำให้ปัญหาใหญ่ ๆ นั้นสามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดาย โดยสรุปคือ ทำความเข้าใจและโครงสร้างปัญหานั้น ๆ วางแผนการวิคราะห์และงานที่ต้องทำในการวิเคราะห์ออกมา เริ่มพิสูจน์ว่าสมมุติฐานไหนเป็นจริง และระวังการเลือกใช้ข้อมูลต่าง ๆ ออกมา