การบุกตลาดจีน จำเป็นต้องมีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ซึ่งเวลานี้ถ้าจะบุกตลาดจีนแล้วไม่ใช้ช่องทางนี้ แทบจะไม่สามารถบุกตลาดจีนได้เลยครับ เพราะคนจีนเองใช้งานช่องทางนี้เป็นหลัก รวมถึงการใช้งานและทำธุรกรรมแบบข้ามชาติด้วย
กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) คืออะไร
กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) คือ บริการกระเป๋าเงินออนไลน์สำหรับบุคคล ที่ใช้ครอบคลุมธุรกรรมทางการเงินบนโลกอินเทอร์เน็ต เชื่อมต่อกับระบบธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งเวลานี้กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก เพราะสามารถใช้ทำธุรกรรม การจ่ายเงิน โดยไม่ต้องใช้เงินสด ขอเพียงมีแพตฟอร์มที่จำเป็นก็ใช้งานได้แล้ว
ในปัจจุบัน ผู้ใช้งาน E-Wallet ของจีน ยังมีจำนวนมากกว่าในสหรัฐอเมริกาด้วย จากรายงานของนิตยสารชั้นนำอย่าง Forbe ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่ใช้จ่ายเงินทางออนไลน์สูงสุดของโลก
โดยย้อนหลังไปในในปี 2015 ผู้ใช้ E-Wallet ของจีน มีมูลค่าการใช้งานอยู่ที่ 340,000 ล้านหยวน แต่เมื่อถึงปี 2017 ตัวเลขก็พุ่งไปแตะที่ 9,000,000 หยวน เลยทีเดียว
สำหรับแพลตฟอร์มที่คนจีนนิยมใช้งานมากที่สุดคือ Alipay และ WeChat โดยในปัจจุบัน WeChat มีจำนวนผู้ลงทะเบียนสูงสุดที่ราว 1,000 ล้านคน ในขณะที่ Alipay อยู่ที่ประมาณ 700 ล้านคน แล้วตามด้วยช่องทางอื่น ๆ
สำหรับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของจีน มีการพัฒนาในรูปแบบองค์รวมแบบ One Platform ที่ทำให้ใช้งานได้แบบครบวงจร โดยเฉพาะบริการของสองบริษัทยักษ์ใหญ่ในจีน คือ Alibaba และ Tencent ซึ่งก็ไม่ได้มุ่งพัฒนาเพื่อใช้งานในรูปแบบ E-Wallet เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังพัฒนาเพื่อให้ครอบคลุมสำหรับใช้งานในทุกมิติด้วย เรียกได้ว่าขอเพียงมีมือถือเครื่องเดียวและมีแอบพลิเคชั่นที่ดาวโหลดมาลงไว้ก็สามารถทำได้ทุกอย่างแล้ว
Cross-border E-Commerce โอกาสของผู้ประกอบการไทย
กระเป๋นเงินอิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่ได้เป็นมีเพียงแต่เรื่องการทำธุรกรรมภายในประเทศจีนเท่านั้น แต่สำหรับผู้ประกอบการไทยแล้ว ช่องทางแบบ Cross-border E-Commerce ถือว่าเป็นโอกาสที่สำคัญอย่างมากซึ่งมองข้ามไม่ได้เลยครับ
สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบข้ามพรมแดน หรือ Cross-border E-Commerce (CBEC) ในประเทศจีนกำลังมาแรงมาก มีรายงานจาก CIW ที่ระบุว่า ในปี 2017 มีมูลค่าของช่องทางนี้สูงถึง 9 หมื่นล้านหยวน ซึ่งถือว่าเติบโตกว่า 80.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นมูลค่านำเข้า 5.66 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 116.4% ส่วนมูลค่าส่งออกที่ 3.37 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 41.3%
สำหรับในปี 2017 มูลค่า CBEC ของจีนรวมทั้งหมดอยู่ที่ 7.6 ล้านล้านหยวน และคาดการณ์ว่าสิ้นปี 2018 จะขยายตัวไปถึง 9 ล้านล้านหยวนเลยทีเดียว
ส่วนกลุ่มสินค้าขายดีในแต่ละประเภท เราสามารถค้นหาคำที่เกี่ยวข้องได้ในแพลทฟอร์มดัง ๆ เช่นใน เสี่ยวหงชู ซึ่งคนจีนนิยมใช้สำหรับซื้อสินค้าของไทยครับ ตัวอย่างเช่นแบรนด์ Mistine, Beauty Buffet เป็นต้น
เชื่อมต่อกับการบริโภคออนไลน์ และ Live Streaming
เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ นิยมนำมาใช้กับการทำตลาดออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ไปจนถึง Live Streaming ซึ่งกำลังเป็นกระแสหลักในจีนเวลานี้ด้วย
ในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า การทำตลาดและโฆษณาของแบรนด์ต่าง ๆ มีความจำเป็นอย่างมากที่แทบทุกแบรนด์ ไม่ว่าจะน้อยใหญ่ หรือผู้ประกอบการรายย่อย SME จำเป็นต้องทำการตลาดแบบ Inbound Marketing หรือการตลาดแบบดึงดูด เช่น การทำ คลิปวีดีโอ ไปจนถึง Live Streaming เพื่อสร้าง Content ที่น่าสนใจ สร้างสรรค์ เนื่องจากในมุมของผู้บริโภคแล้ว มันคือการสื่อสารที่เข้าถึงง่าย ช่วยให้ย่อยง่ายขึ้น แล้วยังสามารถทำให้เรื่องยากดูน่าสนใจได้ และแพลทฟอร์มต่าง ๆ ที่ใช้งานกันนั้น ก็เป็นช่องทางดู Content กันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วด้วยนั่นเอง
สำหรับในมุมของเจ้าของธุรกิจ เจ้าของสินค้า และแบรนด์ต่าง ๆ มีข้อมูลน่าสนใจในปี 2018 ที่ผ่านมาว่า จำนวนของผู้ที่เข้ามาดู Live โดยเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องบันเทิงหรือ Entertainment มีสูงกว่า 89 ล้านคนต่อวัน แล้วโดยเฉลี่ย ต่อหนึ่งคนจะเข้ามาดูประมาณ 5 ครั้งต่อวัน ใช้เวลาประมาณเฉลี่ย 43.8 นาที สำหรับคนที่เข้ามาดูเป็นเพศชายมากที่สุด แล้วในแง่นี้ คนที่เข้ามาดูมากยังมาจากเมืองในระดับ Tier 1 หรือเมืองใหญ่ที่มีศักยภาพสูงสุดของจีน ได้แก่ กรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น ฯลฯ จัดว่าเป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูง นี่จึงเป็นช่องทางที่จำเป็นมากครับ
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงปัจจัยเบื้องต้นที่ทำให้การตลาดออนไลน์ของจีนประสบความสำเร็จและยิ่งเอื้อต่อพฤติกรรมของคนจีนในยุคใหม่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้ประกอบการของไทยต้องศึกษาอย่างยิ่งถ้าจะบุกตลาดจีนครับ
เขียนโดย อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร
Expertise: China Marketing
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่
Copyright © MarketingOops.com