เมื่อคนจีนมีแนวโน้มท่องเที่ยวลดลง แต่ประเทศในเอเชียกลายเป็นเป้าหมายหลัก ซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่น่าแปลกใจเลยครับ เพราะการระบาดของโควิด-19 ทำให้คนจีนจำนวนมากไม่สามารถออกไปท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศได้ แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายล็อกดาวน์ในหลายเมืองแล้วก็ตาม
สำหรับภาพรวมของการท่องเที่ยวในปี 2020 พบว่ายอดจองบุ๊คกิ้งออนไลน์ มีจำนวนลดลงมาก และยังมีการจองที่ถูกแคนเซิลไปนับไม่ถ้วน จากภาพรวมของปี 2020 ที่ผ่านมา
โดยข้อมูลที่เปิดเผยออกมา แสดงให้เห็นว่า ยอดรวมของการท่องเที่ยวจีน จากทั้งครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลังของปี 2020 อยู่ที่ประมาณ
- 9 แสนล้านหยวน
- 3 แสนล้านหยวน
ทั้งนี้หากเทียบกับปี 2019 ถือว่าลดลงไปอย่างมาก ซึ่งก็ถือว่าไม่น่าแปลกใจครับ โดยหากเทียบกัน ครึ่งปีแรกของปี 2019 มียอดสูงถึง 8.7 แสนล้านหยวน เรียกว่าลดลงไปมากกว่าสามเท่าเลยทีเดียว
ที่จริงแล้ว ไม่ใช่แค่สถานการณ์ท่องเที่ยวในจีน แต่ทุกประเทศมีอัตราลดลง โดยหลายฝ่ายยังคงตั้งความหวังว่าหลังจากมีการใช้วัคซีน การท่องเที่ยวจะกลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ดูท่าทีหลายๆอย่างทั้งในแง่ความปลอดภัยของวัคซีน ความเชื่อมั่น และอื่นๆ กว่าที่ภาคการท่องเที่ยวและที่เกี่ยวข้องจะเริ่มฟื้นตัว คงต้องรอถึงปี 2022-2023
แล้วที่สำคัญกว่านั้นคือ กระแสการเหยียดและทำร้ายชาวเอเชียในสหรัฐอเมริกาที่กำลังเกิดขึ้น อาจจะส่งผลต่อความปลอดภัย ทำให้นักท่องเที่ยวเอเชียเดินทางไปลดลง และอาจจะทำให้ประเทศในเอเชียกลายเป็นเป้าหมายท่องเที่ยวหลักแทนก็ได้
ดังนั้นปัจจัยต่างๆในภาพรวมที่ถูกมองว่าช่วยให้การท่องเที่ยวในเอเชียมีแนวโน้มมากขึ้น ได้แก่
- ระยะทางที่ใกล้กว่ามาก
- วางแผนการท่องเที่ยวง่าย
- ค่าครองชีพถูกในหลายประเทศ
- อาการการกิน มีจุดขาย
- สถานที่พัก การบริการ
- มีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมาก
- มีแนวโน้มต้อนรับคนจีนด้วยดีมากกว่าในโลกตะวันตก
- ร้านค้าหลายแห่งเริ่มผูกการใช้กับ WeChat และ Alipay มากขึ้น
ข้อหลังเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญไม่น้อยเลยครับ เพราะทำให้คนจีนสะดวกใจที่จะช้อปปิ้งกับร้านค้าเหล่านั้น ด้วยการผูกบัตรหรือสแกนจ่ายอย่างสะดวกมากกว่าที่จะใช้เงินสด ซึ่งเวลาแลกเปลี่ยนเงินสดจากแต่ละสกุลจะมีความต่างของค่าเงินเข้ามาทำให้เสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ รวมถึงการพกพาที่อาจจะไม่สะดวกนัก ดังนั้นการใช้ระบบเงินออนไลน์เลยช่วยให้นักท่องเที่ยวจีนสะดวกมากกว่าในการใช้งาน
เขียนโดย อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร
Expertise: China Marketing
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่
Copyright © MarketingOops.com