วิวัฒนาการของ Blockchain ด้วยการ Fork

  • 256
  •  
  •  
  •  
  •  

Jobs#01_Photo.jpg

การ Fork เป็นส่วนที่สำคัญในการเกิดวิวัฒนาการของบล็อกเชน เหมือนอย่างที่การกลายพันธ์สำคัญต่อ DNA ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งก่อให้เกิดการวิวัฒนาการผ่านการคัดเลือกของธรรมชาติ การ Fork ทำให้เราสามารถทดลองบล็อกเชนหลายเวอร์ชั่นขนานกันได้ โดยจะมีเพียงเวอร์ชั่นที่แข็งแกร่งที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่รอด

การ Fork ของบล็อกเชน เกิดขึ้นได้เพราะโค้ดปัจจุบันและสถานะของบล็อกเชนสามารถถูกคัดลอกได้อย่างเปิดเผย เปรียบกับการที่โปรแกรมเมอร์อนุญาตให้สามารถคัดลอกโค้ดของ Facebook และเปิดอีกเวอร์ชั่นหนึ่งแข่งกันเมื่อไหร่ก็ได้ แต่การ Fork ที่ผ่านมามักพบปัญหาในเรื่องผลตอบแทน กลุ่มคนที่ทำการ Fork ใหม่จะมีแรงจูงใจด้านผลตอบแทนที่ค่อนข้างน้อยที่จะทำให้ Fork ของตัวเองประสบความสำเร็จ เป็นเพราะรูปแบบการ Fork ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเป็นเพียงการคัดลอกการเป็นเจ้าของจากกลุ่มคนที่ถือ Token เดิม แทนที่จะเป็นการปรับเพื่อให้ผลประโยชน์แก่กลุ่มแกนหลักของบล็อกเชนห่วงใหม่

A74EA

ผมขอยกตัวอย่าง ถ้าหากมีกลุ่มนักพัฒนาที่คิดว่าเขาสามารถสร้างเวอร์ชั่นที่ดีกว่าของเหรียญที่ชื่อว่า TokenA ได้ เดิมทีเขาอาจถือ TokenA อยู่จำนวนเล็กน้อย เช่นประมาณ 0.10% เมื่อทำการ Fork ตัว TokenA เขาก็จะยังถือเพียง 0.10% ของ TokenA ที่ถูก Fork แล้ว (หรือเราอาจจะเรียกมันว่า ForkedTokenA) เพราะเหตุนี้ แม้ ForkedTokenA จะประสบความสำเร็จ ผู้พัฒนาก็จะได้ผลตอบแทนจำนวนน้อยมาก เทียบเท่ากับการถือ TokenA เดิม

เมื่อมองในมุมของสตาร์ทอัพ คุณก็คงอยากให้ “founders” หรือผู้ก่อตั้ง ForkedTokenA ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่งดงาม แต่กลับกลายเป็นว่า ผู้ก่อตั้งน่าจะได้รับผลตอบแทนในการพัฒนา TokenA มากกว่า ForkedTokenA เพราะ TokenA น่าจะมีมูลค่าที่มากกว่าอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ถ้าหาก TokenA มีมูลค่า $10 และ ForkedTokenA มีมูลค่า $1 ภายหลังจากการ Fork การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ TokenA โตขึ้น 20% จะทำกำไรให้กับผู้พัฒนา $2 ต่อ coin ส่วนถ้าหาก ForkedTokenA โตขึ้น 20% ผู้พัฒนาจะทำกำไรได้เพียงแค่ $0.20 แม้จะมีจำนวน coin ที่เท่ากัน ผลประโยชน์ของเขากลับไม่สมเหตุสมผล นักพัฒนาควรได้รับเหรียญมากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องผลตอบแทนนี้

แล้วเรื่องราวก็ยิ่งดูตลกถ้ามองในฝั่งของผู้ถือบล็อกเชน (Blockchain) เดิม ถ้าหาก TokenA Foundation ถือ 20% ของ coin ใน TokenA ตอนนี้เขาจะมี 20% ของ coin ใน ForkedTokenA ด้วยเช่นกัน โดยที่ทีมพัฒนา ForkedTokenA จะไม่ได้เลยสักเหรียญ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ Ethereum Classic ทำการ Fork จาก Ethereum ทันใดนั้นเอง Ethereum Foundation ก็กลายเป็นผู้ถือ Ethereum Classic ด้วยเช่นกัน แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้มีความสนใจที่จะมีส่วนร่วมเลยก็ตาม

ท้ายที่สุดแล้ว หากมองเรื่องของการกำกับดูแล การ Fork มักเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันในทิศทางของโปรเจ็ค และ Token ก็ได้กลายเป็นกระบวนการในการโหวตเรื่องการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เนื่องจากจุดประสงค์ของการ Fork คือการทดลองแนวทางใหม่ การ Fork ที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็อาจไม่อยากมีผู้ถือเดิมที่ไม่ได้เห็นด้วยกับแนวทางการ Fork นี้ตั้งแต่ต้น ทำให้เริ่มที่จะเห็นได้ชัดว่าการแบ่ง Token กันใหม่นั้นกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์มากสำหรับการ Fork ใหม่ที่ต้องการจะอยู่รอด ถึงแม้การแบ่ง Token ใหม่อาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ค่อยบ่อย แต่ก็เริ่มมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นเรื่องปกติในอนาคต

การแบ่ง Token ใหม่อีกครั้งเป็นวิธีการสร้างสมดุล โดยส่วนมากแล้ว Fork ที่เกิดขึ้นใหม่จะต้องการให้ผู้ถือ Token เดิมรู้สึกต้องการถือ Token ใหม่นี้ด้วย อย่างน้อยก็เพื่อให้ผู้ใช้เดิมรู้สึกว่าจะได้รับผลตอบแทนเทียบเท่ากับของเดิม แต่เป้าหมายหลักที่สำคัญคือการให้ผลตอบแทนแก่กลุ่มที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการ Fork ซึ่งส่วนมากควรจะให้ผลตอบแทนโดยการย้ายการถือครองของ Token (foundation-like) และลดสัดส่วนของผู้ถือ Token เดิม เพื่อนำไปให้แก่กลุ่มผู้พัฒนา กรณีนี้จะคล้ายคลึงกับการออกหุ้นใหม่ในบริษัทที่มีอายุเก่าแก่ เพื่อมอบให้พนักงานที่เข้ามาทีหลัง

เรื่องสำคัญอีกเรื่องก็คือ ต้องไม่ลืมว่าการ Fork ไม่ได้หมายความว่าจะสร้างการแข่งขันกันโดยตรงเสมอไป เหมือนกับการกลายพันธ์ของ DNA ที่สร้างสิ่งมีชีวิตมากมายที่เริ่มต้นจาก genetic tree เดียวกัน เราอาจเห็น โปรโตคอล (Protocol) หนึ่ง ขยายออกเป็น 3 โปรโตคอล เพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่ต่างกัน มีความเป็นไปได้สูงว่าจะนำโปรโตคอลไปแยกส่วนและนำกลับมาประกอบฟังค์ชั่นต่างๆ ใหม่ เพื่อให้ได้จุดสมดุลตามที่ต้องการ และเนื่องจากระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จุดสมดุลก็จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

การ Fork ก็มีจุดอ่อนในบางเรื่อง เช่นเดียวกันกับการกลายพันธ์ุของสิ่งมีชีวิต การ Fork ไม่ได้หมายความว่าจะสำเร็จเสมอไป เพราะมีโอกาสที่จะสูญเสีย Network Effect และอาจเกิดการแบ่งแย่งทรัพยากรในการพัฒนาตั้งแต่แรกเริ่ม แม้ทั้งสองโปรเจ็คจะสามารถดึงทรัพยากรใหม่เข้ามาได้ในอนาคต

ในภาพรวม เราควรเห็นความสำคัญที่ว่า การพัฒนาโดยไร้ซึ่งศูนย์กลางเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากกว่าการสร้างบางอย่างในสภาพแวดล้อมที่มีศูนย์กลาง แต่ผมคาดว่าต่อไปในอนาคตจะเกิดการพัฒนาโดยปราศจากศูนย์กลางมากขึ้น เมื่อมีเทคนิคการพัฒนาและโครงสร้างผลตอบแทนที่ผ่านการขัดเกลาแล้ว

ผมขอสรุปดังนี้ การ Fork เป็นกลไกที่ก่อให้เกิดวิวัฒนาการที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งการที่จะทำให้การ Fork มีประสิทธิผลนั้น การให้ผลตอบแทนแก่กลุ่มต่างๆ สำหรับการทดลองเส้นทางใหม่เป็นเรื่องที่จำเป็น นั่นหมายถึง การแบ่ง Token ใหม่ในการ Fork เพื่อมอบผลตอบแทนแก่ผู้สร้าง Fork หากปราศจากสิ่งนี้ ผมคิดว่าเราจะยิ่งเห็นปัญหาที่ทำให้นักพัฒนาต้องลำบากใจ อย่างที่เราเห็นกับบิทคอยน์ โปรเจ็คต่างๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงช้าลงเพราะเกรงว่าจะทำลายมูลค่าในปัจจุบัน

ด้วยการ Fork นวัตกรรมบล็อกเชนจะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว่าในปัจจุบันและมากกว่าที่เคยมีมา

เขียนโดย จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา
Expertise:
  Blockchain & FinTech
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่

Copyright © MarketingOops.com


  • 256
  •  
  •  
  •  
  •  
Jirayut Srupsrisopa
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำงานในแวดวงอุตสาหกรรม เทคโนโลยี Cryptocurrency และ Blockchain ก่อนหน้านี้เคยทำงานในฐานะนายธนาคารด้านการลงทุนที่ปรึกษาทางการเงินและนายธนาคารกลาง มีประสบการณ์การเป็นวิทยากรหนึ่งในทีมชั้นนำระดับประเทศ จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร ตอนนี้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ bitkub.com - การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย